Blog Archive

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ถ้าหากย้อนอดีตกาลนานโพ้น ชาวไทยไม่ได้มีปากกาดินสอใว้ขีดเขียนกันอย่างคล่องแบบทุกวันนี้ แต่ใช้ดินสอที่ทำจากดินปั้นเป็นแท่ง ไม่มีไม้หุม้หรือไม่ก็ทำจากหิน อย่างดินสอหินที่ให้เขียนกับกระดานชนวน จนกระทั้งเริ่มมีดินสอไม้ที่มีไส้อยู่ตรงกลางแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยในตอนต้นสมัยรัชกาลที่5 ตามที่พบหลักฐานเรื่องดินสอฝรั้งที่เก่าแก่ที่สุดที่พบปรากฏในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเลย์ ที่พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2416 ซึ่งมีข้อความกล่าวถึงดินสอฝรั่งดังนี้ คือดินสอไม้มีไส้อยู่กลางเหมือนเหล็กจาร
เครดิต a day เล่ม77

ก่อนจะเป็นของคู่งานวัดให้เด็กๆรบพ่อรบแม่นั้น ลูกโป่งลอยตามลมมายังสยามประเทศ ในสมัยรัชกาลที่5 พ.ศ. 2423 ผ่านห้างฝรั่งแรมเรช (ห้งแนวหน้าดังพารากอนในสมัยนั้น) โดยตอนนั้น ยังถูกเรียกกันว่า ลูกโป่ง จนในสมัยรัชกาลที่7 มีโฆษณาในหนังสือเกษมรัฐขาย ลูกสวรรค์ ใจความประมาณว่า ลูกสวรรค์เหนี่ยวหนึบนุ่มหนับเพราะสั่งทำพิเศษ จะต้องมาจากร้านมาลี ศรีประเสริฐที่เป็นเอเยนต์ลูกสวรรค์จากอเมริกันเจ้าเดียวในกรุงสยามเท่านั้น
เครดิต a day เล่ม77

เชื่อกันว่าการรับจำนำของไทยมีกันตั้งแต่ครั้งโบราณแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีใครคิดตั้ง โรง รับจำนำของโดยตรงมีแต่รับจำนำกันเงียบๆ (คงกลัวคนอื่นรู้) จนเมื่อปีพ.ส.2409 (ปลายสมัยรัชกาลที่4) เจ็กเฮง (จีนฮง แซ่เบ้) เป็นคนแรกที่ได้ตั้งโรงรับจำำนำขึ้นบริเว่นย่านประตูผี ถนนบำรุงเมือง ข้างวัดเทพธิดาราม เดิมนั้นเป็นร้านขายของเก่าด้านหลังเปิดรับจำนำของ แต่คนนิยมเข้าหลังร้านมากกว่า จึงเปลี่ยนมาเป็นโรงรับจำนำอย่างเต็มตัว โดยมีชื่อร้านว่า โรงรับจำนำย่องเซี้ยง โดยได้ดำเนินกิจการสืบรุ่นลูกรุ่นหลานมาเรื่อยๆ ทว่าปัจจุบันเจ้าของเดิมได้ขายกิจการไปแล้ว และได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น โรงรับจำนำสำราญราษฎร์ ในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตาม กลิ่นอายทางวัฒนธรรมของโรงรับจำนำที่เก่าที่สุดนั้นยังไม่หายไปจากเดิม....
เครดิต a day เล่ม77

น้ำแข็งในเมืองไทยยุคแรกๆนั้นเป็นของหายากไม่แพ้กัน น้ำแข็งเริ่มเข้ามาในเมืองไทยครั้งแรกสมัยรัชกาลที่ 4 ประมาณพ.ศ.2409โดยน้ำแข็งจะถูกขนใส่หีบกลบขี้เลื้อยใส่เรือกลไฟชื่อ เจ้าพระยา ที่ทำการรับส่งสินค้าและผู้คนละหว่างกรุงเทพฯ-สิงคโปร์ ซึ่งจะต้องใช้เวลาเดินทางจนหายยาก15วันเลยที่เดียว เห้อแค่เดินทางก็เหนื่อยแทนน้ำแข็งแล้วครับ
เครดิต a day เล่ม77

สำหรับคนที่เคยวาดรูปโดยใช่สีน้ำ เวลาไปซื้อพู่กัน จะมีพู่กันอยู่ยี่ห้อหนึ่งติดชื่อว่า ภู่กันของ สง่า มะยุระ ซึ่งเชื่อว่าหลายคนก็คงดก็บความสงสัยกันว่า สง่า มะยุระ คือใคร มาจากใหน....
สง่า มะยุระ เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2452 มีความสามารถด้สนการวาดเขียนตั้งกะเด็กๆผลงานที่สร้างชื่อเสียงที่สุดคือ ภาพรามเกียรติ์พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนเมื่อปี พ.ศ. 2479 ได้เริ่มการทำพู่กันขายโดยมีการแก้ไขดัดแปลงพู่กันจนได้มาตารฐาน กิจการของสง่าดำเนินมาด้วยดี จึงนับได้ว่าเป็นโรงงานทำพู่กันแห่งแรกในเมืองไทยตำนาน ภู่กัน สง่า มะยุระ
เครดิต a day เล่ม77

ทุกคืนวันพุทธ เราจะได้พบกับเกมโชว์เงินล้านสุดคลาสสิคอย่าง ชิงร้อยชิงล้าน ซึ่งช่วงหนึ่งของรายการที่มีคนตั้งตารอดู คงหนีไม่พ้นการแสดงตลกของคณะสามช่า ที่ประกอบด้วย หม่ำ จ๊กมก,เท่ง เิถเทิง และโหน่ง ชะชะช่า
การแสดงตลกผสมผสานกับการเล่นละคร บทที่สนุกสนาน สีสันของนักแสดง ตลอกจนความอลังการของฉากเป็นเสน์ที่ดึงดูดให้คนดูทางบ้านติดกันงอมแงม
แต่หากนับวันแรกที่สามช่าที่มีส่วนผสมของ หม่ำ เท่ง โหน่งเป็นครั้งแรกคือวันที่8 กันยายน 2542 อันเป็นวันที่ ชูศักดิ์ เอี่ยมสุข หรือที่รู้จักกันในชื่อ โหน่ง ชะชะช่าเข้ามาเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์
เครดิต a day เล่ม77

กี่ครั้งที่เราเห็นชื่อหมอบรัดเลย์อยู่ในหนังสือสังคมสมัยเด็ก ถึงเขาจะเป็นหมอ แต่ก็เป็นหมอที่มีความสามารถหลากหลาย ที่พลอกหน้าประวัติศาสตร์การพิมพ์ของไทยคือ การตังโรงพิมพ์ และการออกแบบแบบตัวพิมพ์ ให้เมืองไทยมีฟอนต์ใช้เป็นครั้งแรก จากที่ต้องเขียนด้วยรายมือในยุคก่อน เราก็สามารถผลิตหนังสือที่มีคุณภาพได้จำนวนเยอะในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งฟอนต์แรกมีชื่อตามเจ้าตัวว่า บรัดเลย์เหลี่ยม ถูกนำไปใช้ครั้งแรกในบางกอกรีคอร์เดอร์ หนังสือจดหมายเหตุในปีพ.ศ 2538
เครดิต a day เล่ม77
เอาภาพหาดูยากมาให้ดูครับผม


หลายคนคงรู้ว่าสิงโตเป็นสััตว์นำเข้า ไม่ได้มีอยู่ในเมืองไทยมาตั้งแต่เดิม แต่มันนำเข้ามาจากใหนเล่า คงมีหลายคนหลายคนยกมือว่าต้องมาจากเมืองจีนแน่นอน เพราะมีการเชิดสิงโตให้เห็นกันอยู่ประจำ(ซะงั้น)
แต่ความจริงแล้วหลักฐานที่พบว่าสิงโตนำเข้ามาในเมืองไทยนั้น พบตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยสิงโตตัวแรกนั้นนำเข้ามาจากเมืองสุรัตของอินเดียโดยมีหลักฐานมาจากหนังสือชื่อ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่27 เรื่องไทยกันฝรั่งเศษ พบว่ามีการส่งเจ้าสิงโตไปถวายสมเด็จพระนารายณ์ที่เมืองลพบุรี คาดการณ์ว่าจะมีในช่วงปี พ.ศ.2225 ถึง พ.ศ.2231 ยังไม่แน่ชัดว่า สิงโตนั้นจะมีลูกหลานสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันหรือไม่
แต่ก็มั้นใจได้ว่าเจ้าสิงโตตัวนั้นคงไม่มีเชื่อจีนอย่างแน่นอน
เครดิต a day เล่ม77

ภูเขาทอง หรือ บรมบรรพต แห่งวัดสระเกศวรมหาวิหารนั้น เราคงจำกันได้ในฐานะเจดีย์สูงคู่กรุง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่มีบันไดเวียนสองด้านให้ขึ้นสู่ยอดเขา ด้วยความสูง 1 เส้น 11 วา 3ศอก 5 นิ้วไทย (76เมตรสากล) แต่ที่นี่ยังเป็นเจดีย์แห่งเดียวในสยามประเทศที่เคยใช้เป็นสถานที่บอกเหตุไฟใหม้ในสมัยรัชกาลที่5 และยังเป็นเจดีย์แรกและเจดีย์เดียวที่ตั้งหวูตไซเรนเตือนภัยตอนสงครามโลกครั้งที่2ด้วย
เครดิต a day เล่ม77

หากถามแฟนบอลรุ่นใหม่ว่าใครคือคนที่ไปค้าแข้งในฟุตบอลอาชีพที่ยุโรปเป็นคนแรกหลายคนคงต้องตอบว่า ซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสานาเมือง อย่างไม่ต้องสงสัย(อาจมีบางคนตอบ ลีซอก็ได้ใหม่จัด) แต่นั้นเป็นคำตอบที่ผิด!!
วิทยา เลาหุกล ต่างหากคือคำตอบที่ถูกต้อง
วิทยา อดีตกองกลางทีมชาติไทยและอดีตโค็ชทีมชาติไทย เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2497 ที่จังหวัดลำพูน ในละดับชาติ วิทยาเริ่มต้นติดตั้งแต่ทีมชาติไทยชุดเยาวชนเรื่อยมาจนถึงทีมชาติชุดใหญ่กว่า 100 นัด ส่วนในระดับโสมร วิทยาเริ่มเล่นฟุตบอลอาชีพกับสโมสรฮากกา ก่อนจะย้ายมาอยู่สโมสรราชประชา จากนั้นจึงย้ายไปร่วมบุกเบิกฟุตบอลกึ่งอาชีพที่ญี่ปุ่นกัยสโมสรยันมาร์ดีเซล
ไฮไลท์มาอยู่ที่เมื่อเขาถูกซื้อตัวไปร่วมทีมแฮร์ธ่า เบอร์ลิน ทีมในบุนเดสลีกาเยอรมัน ทำให้เขากลายเป็นนักฟุตบอลคนไทยคนแรกที่ได้ไปเล่นฟุตบอลอาชีพที่ยุโรบเขาลงเล่นให้กับแฮร์ธ่า เบอร์ลินไปทั้งสิน 30นัดได้รับฉายาจากแฟนฟุตบอลเยอร์มันว่า ไทบูม จากนั้นย้ายไปอยู่กัยสโมสรซาร์บรุ็คเค่นอีก 1 ฤดูกาล แล้วจึงย้ายกลับมาค้าแข้งในประเทศไทยต่ออีกครั้ง ก่อนที่จะเลิกเล่นฟุตบอลและเริ่มต้นการเป็นโค็ชในเวลาต่อมา
เครดิต a day เล่ม77

ช่วงเทศกาลปีใหม่เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่หลายๆคนอยากจะได้ของขวัญหรือ อย่างน้อยก็หวังจะได้ ส.ค.ส.
ส.ค.ส. จึงเป้นการ ส่งความสุขให้แก่กัน ส.ค.ส. ที่เก่าแก่ที่สุดที่สามารถหาดูได้ในปัจจุบัน เป็น ส.ค.ส. สมัยรัชกาลที่5เป็น ส.ค.ส. ส่งท้ายปี 2428 ขึ้นปี พ.ศ2429 นับอายุแล้วก็123ปีเห็นจะได้ มีหลายขนาดตั่งแต่เท่านานบัตร จนเกือบเท่านิตยสาร ซึ่ง ส.ค.ส. ชุดนี้ได้ถูกเก็บใว้ที่หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี แต่ก็มีการพบหลักฐานกันอีกว่า ส.ค.ส. น่าจะมีตั้งกะรัชกาลที่4แล้ว ซึ่งพบหลักฐานปรากฏในหนังสือ The Bangkok Recorder ซึงเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษของหมอบรัดเลย์ ฉบับวันเสาร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ.2409 โดยคุณหมอได้คัดสำเนาพระราชทานพร (ส.ค.ส.) ขึ้นปีใหม่ พ.ศ.2409 จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานถึงชาวต่างประเทศในสมัยนั้น เข้าใจว่าพระองค์คงจะใช้ธรรมเนียมฝรั่งเพื่อผูกใจชาวต่างชาติ อันเป็นกุศโลบายทางการทูตอย่างหนึ่ง เรียกได้ว่า ส.ค.ส. ในสมัยนี้ นอกจากจะเป็นตัวแทนของการส่งความสุขแล้วยังเป็นตัวแทนของการเจริญสัมพันธำมตรีระหว่างประเทศอีกด้วย เห็นแล้วใช้ใหมว่า ส.ค.ส. มีความสำคัญอย่างไร
เครดิต a day เล่ม77

มีคำกล่าวที่ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพระมหากษัติย์ที่ทรงงานหนักมากที่สุดในโลก คงไม่ใช่เรื่องที่เกินจริงเลย พระนับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชวันที่ 9มิถุนายน 2489 เป็นต้นมา พระองค์ก็ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎรอย่างหนักสม่ำเสมอ ซึ่งทำให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นจริงและปัญหาของพสกนิกรอย่างถ่องแท้ จนเป็นที่มาของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า3000โครงการ
และ โครงการฝนหลวง ที่เปลี่ยนชื่อมาจาก โครงการฝนทียม ตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2517 ก็เป็นหนึ่งในพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าวที่เกิดขึ้นเมื่อพระองค์ทรงเล็งเห็นว่าปัญหาการขาดแคลนทรัพยาการน้ำเป็นเรื่องที่สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรโดยตรงในวงกว้าง ซึ่งหากเกิดปัญหาขึ้นย่อมต้องส่งผลกระทบต่อเศรษกิฐสังคม และสิ่งแวดล้อมของธรรมชาติโดยรวมจึงทรงดำเนินการคิดค้นหามาตาการหรือวิธีการที่จะคลายทุกข์ร้อนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภัยแล้งรุนแรงจนถึงขั้นวิกฤติจนอยากที่จะแก้ไขในอนาคต จนเป็นที่มาของการที่พระองค์ทรงประดิษฐ์คินค้นเทคโนโลยีฝนหลวง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการดัดแปลงสภาพอากาศให้เกิดฝนจากเมฆด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีการวางแผนปฏิบัติการหวังผลที่แน่นอน โดยการใช้สารเคมี ทำให้เกิดกระบวนการเกิดฝนเร็วขึ้นและมีปริมาณมากกว่าฝนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นการยึดอายุฝนให้นานขึ้น มีฝนตกถี่ขึ้นเพิ่มปริมาณฝนให้ตกกระจายอย่างทั่วถึงสม่ำเสมอ และทำให้ฝนตกลงสู่พ้นที่เป้าหมายที่กำหนดได้อย่างแม่นยำแผ่เป็นบริเวณกว้าง จนทำให้พระองค์ทรงได้รับการยอมรับจากองค์การอุตุนิยมวิทยา และองค์กรระดับนานาชาติ ในฐานะที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นผลงานอันทรงคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศ
นับแต่การเริ่มต้นการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครังแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2512 ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นต้นมา พระองค์ยังมิได้ทรงหยุดพัฒนาเทคนิคในการทำฝนหลวงให้สัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น จนเป็นที่มาของการตั้งสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีศูนย์ในการปฏิบัติงานบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องภัยแล้งอยู่ทั่วประเทศ
และเพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีการกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน "ของทุกปีเป็น วันพระบิดาฝนหลวง อย่างเป็นทางการของประเทศไทยอีกด้วย
เครดิต a day เล่ม77
จุดเริ่มต้นของการเขียนบล็อคนี้เพื่อที่จะให้คนไทยได้รู้จักเมืองไทยมากขึ้นหลายๆสิ่งที่เราอาจไม่เคยรู้เลยหรืออาจไม่ให้ความสำคัญกับมันจริงๆมันอาจมีความสำคัญก็ได้นะครับเพี่ยงแค่เรายังไม่รู้เท่านั้น เพื่อนอาจจะไม่ชอบอ่านอะไรที่มันยาวๆแต่เราอยากให้เพื่อนๆทุกคนได้ลองอ่านบทความพวกนี้ดูครับ