ขับเคลื่อนโดย Blogger.
เทศการงานเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช

ย้ายจากนครปฐมผมก็นึกถึงนครศรีธรรมราชแต่ครั้งนี้ไม่ใช้ ถนนคนเดินหรือเอาสินค้ามาขายหลอกนะครับแต่เป็นงานเทศกาลที่ขึ้นชื่อของเมืองนครศรีธรรมราชคงเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจาก เทศกาลงานเดือนสิบ งานเดือนสิบนั้นได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2466 มีกิจกรมมต่างๆมากมาย ได้แก่
  




- วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ประกอบด้วย
- การจัดตลาดย้อนยุค
- การตั้งเปรต ชิงเปรต
- ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย
- การแสดงแสงสีสื่อผสม การประชันหนังตุง การสาธิตและประกวดหุ่นเปรต
- สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
- การประกวดเพลงร้องเรือ
- กลอนสด โนรา เพลงบอก
- การประกวดแข่งขันสาธิตหัตถกรรมพื้นบ้าน
- การประกวดนางสาวนครศรีธรรมราช (ชอบมากสาวเมืองนี้)
- การจัดแสดงวิพิธทัศนา
- การออกร้านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP

กลับมาที่เนื้อหาของงานก่อน งานเดือนสิบ เป็นงานสำคัญในการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้อง ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยความเชื่อทางพุทธศาสนิกชนในเรื่องกฏแห่งกรรม ผู้ที่สร้างบาปกรรมไว้มาก เมื่อตายไปจะกลายเป็นเปรตทนทุขเวทนาชดใช้บาปกรรมนั้น เมื่อถึงวันสารท ชาวบ้าน จึงจัดสำรับคาวหวานไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เรียกกันว่าการทำบุญสารทเดือนสิบ หรือ การยกหฺมฺรับ (อ่านว่ายก-หมับ) การจัดหฺมฺรับไปทำบุญที่วัดนั้น จะประกอบไปด้วยขนม 5 อย่าง ได้แก่
- ขนมลา เปรียบเสมือนแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม
- ขนมพอง เปรียบเสมือเป็นยานพาหนะให้ผู้ล่วงลับได้ใช้เป็นแพข้ามสู่ภพภูมิใหม่
- ขนมกง อุทิศเป็นเครื่องประดับ
- ขนมดีซำ อุทิศเป็นเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย
- ขนมบ้า สำหรับวิญญาณผู้ล่วงลับจะได้ใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์
 การจัดหฺมรับ หรือ สำรับ นั้น มักจะใช้ภาชนะเป็นกระบุงทรงเตี้ย ๆ ใส่อาหารหวานคาวและของแห้ง และจัดขบวนแห่หฺมฺรับของตนไปที่วัดใกล้ ๆ บ้าน เพื่อที่จะถวายพระสงฆ์ ไปวางรวมกันบริเวณริมกำแพงวัดหรือทางเข้าวัด หรืออาจทำเป็นที่ตั้งสูง ๆ ไว้สำหรับให้ทานเรียกว่า “หลาเปรต” โดยจะมีผู้คนแย่งกันไปเอาขนมที่หลาเปรต เรียกว่า “ชิงเปรต” เพราะมีความเชื่อว่าการกินของที่เหลือจากเซ่นไหว้บรรพชนได้กุศล(ในห้าแพร่งทำซะหน้ากลัวเลยครับ)