Blog Archive

ขับเคลื่อนโดย Blogger.
วันนี้ผมไปเจอบทความเก่าๆที่หน้าสนใจเลยนำมาให้ได้อ่านกันครับ 6 วิธีพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศ

‘วัยรุ่น’ เป็นวัยที่มีศักยภาพในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากผู้ปกครองจะพยายามส่งเสริมด้านสติปัญญา หรือ IQ ให้แก่วัยรุ่นแล้ว การพัฒนาด้าน EQ ก็เป็นสิ่งสำคัญ ‘เกร็ดน่ารู้’ สัปดาห์นี้ มีวิธีพัฒนาตนเองของวัยรุ่นสู่ความเป็นเลิศ มาฝากกัน

1.ตั้งเป้าหมาย เพราะชีวิตที่ประสบความสำเร็จ คือ ชีวิตที่มีเป้าหมาย ไม่ว่าจะเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ รวมทั้งการใช้เวลาอย่างมีคุณค่า เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ

2.มีวินัย เป็นหลักปฏิบัติที่ช่วยให้ทำงานสำเร็จ เอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ด้วยเวลาอันสั้น เป็นตัวกำหนดการเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบหน้าที่ที่ได้รับ และช่วยควบคุมตนเองได้ดี

3.สร้างความมั่นใจ ถือเป็นก้าวแรกสู่ความสำเร็จและเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ทั้งเรื่องเรียนและการทำงาน นอกจากจะส่งผลให้เป็นคนกล้าแสดงออก และกล้าเผชิญกับเรื่องต่างๆ อย่างมั่นใจแล้ว ยังทำให้บุคลิกภาพดีด้วย

4.รับฟังความคิดเห็น และคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล ขณะเดียวกันเมื่อพบกับปัญหา ควรหาทางออกที่เหมาะสม เพื่อสร้างความร่วมมือที่ดีในการทำงาน

5.มองโลกในแง่ดี มีความคิดเชิงบวก จะส่งผลให้สุขภาพจิต สุขภาพกายดี ความคิดโปร่งใส สุดท้ายจะตามมาด้วยความสุขและความสำเร็จ

6.ใช้ชีวิตให้สมดุล ด้วยการเดินสายกลาง อย่าทุ่มเทชีวิตให้ด้านใดด้านหนึ่ง จนด้านอื่น ๆ ขาดการดูแล รู้จักใช้ชีวิตให้สมดุล เพื่อกระตุ้นให้ชีวิตมีความสุข มีความคิดสร้างสรรค์ และมีพลังในการเรียน การทำงานต่อไป
การพัฒนาด้านอารมณ์และจิตใจ ควบคู่ไปกับ IQ นั้น ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่ความสำเร็จอย่างแท้จริง.
ที่มา : Ern Jar
เจ้าของบทความ : ไม่ทราบชื่อ
วันนี้ได้หยิบหนังเก่าๆมานั่งดูแล้สก็อดพูดถึงหนังเรื่องนี้ไม่ได้(แม่ไม่ใช่หนังไทยแต่ผมกลับชอบมัน)เป็นหนังที่ดุสนุกและทำให้ผมรู้สุกได้ในข้อความที่ผู้กำกับตั้งใจจะส่งให้คนดูลองหาหนังเรื่องนี้มาดูครับ

ข้อมุลของหนัง
ปีสร้าง: 2005
กำกับ: ทาคาชิ ยามาซากิ
แสดง: โคยูกิ, มากิ โฮริคิตะ, ฮิเดทากะ โยชิโอกะ, ชินอิจิ สุสุมิ, ฮิโรโกะ ยากุชิมารุ
ประเทศ: ญี่ปุ่น
ประเภท: ดรามา
กำหนดฉาย: 9 มีนาคม (limited – Lido / house)
official site: www.always3.jp (Japanese)

Synopsis
ย้อนกลับไปในปีโชวะที่ 33 หรือราวปีค.ศ. 1958 ขณะที่หอโตเกียวสร้างใกล้จะเสร็จ – ยังมีชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งตั้งอยู่บนถนนสายที่ 3 ในเขตยูฮีของมหานครโตเกียว ซึ่งคลาคล่ำไปด้วยบ้านเรือน ร้านค้า กรุ่นไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ และยังมีหลากหลายเรื่องราวของหลากหลายผู้คน ที่พำนักอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนั้น...

ซูสุกิ โนริฟูมิ เป็นเจ้าของร้านขายอะไหล่รถยนต์ที่ชื่อ ซูสุกิ ออโต เขาแต่งงานแล้วกับผู้หญิงน่ารักที่ชื่อ โทโมเอะ ทั้งคู่มีบุตรชายวัยกำลังซนด้วยกันคนหนึ่ง คือ อิปเป วันหนึ่ง ซูสุกิ ออโต มีเหตุให้ต้องต้อนรับสมาชิกใหม่คือเด็กสาวชื่อ มัตสุโกะ ผู้ซึ่งอุตส่าห์ทอดทิ้งบ้านเกิดที่ต่างจังหวัด มุ่งหน้าสู่โตเกียว และสมัครเป็นพนักงานของซูสุกิ ออโตด้วยความหวังว่า ที่นี่คงจะเป็นโรงงาอุตสาหกรรมใหญ่โตที่เธอสามารถฝาก อนาคตไว้ด้วยได้ ดังนั้นมัตสุโกะจึงรู้สึกผิดหวังเหลือกำลังเมื่อพบว่ า แท้จริงแล้วซูสุกิ ออโตเป็นเพียงห้องแถวเล็กๆ เท่านั้น

อีกหนึ่งชีวิตบนนถนนสายที่ 3 ก็คือ ชากาวะ ริวโนะสุเกะ เขาเป็นเจ้าของร้านขายขนมซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับซูสุ กิ ออโต ริวโนะสุเกะเกิดที่นั่น โตที่นั่น เขากับโนริฟูมิรู้จักกันมาแต่อ้อนแต่ออก – และดูเหมือนจะเป็น ‘คู่กัด’ กันมาแต่อ้อนแต่ออกด้วย อันที่จริงริวโนะสุเกะฝันอยากเป็นนักเขียน ฝีไม้ลายมือลีลาการเขียนหนังสือของเขาโดดเด่นไม่ใช่เ ล่น อย่างไรก็ตาม เป็นเพราะความจำเป็นบางอย่างที่ทำให้ริวโนะสุเกะต้อง เปลี่ยนอาชีพมาเปิดร้านขายขนมอย่างที่เห็น เขายังไม่ทิ้งงานเขียน แต่ก็ทำได้เพียงเขียนนิยายประโลมโลกย์ให้นิตยสารกระจ อกๆ เท่านั้น ริวโนะสุเกะมีความลับอยู่อย่างหนึ่ง นั่นก็คือ เขาแอบหลงรัก ฮิโรมิ สาวสวยซึ่งเป็นเจ้าของบาร์สาเกที่ตั้งอยู่บนถนนสายที ่ 3 มานาน แต่ดูเหมือนความสัมพันธ์จะยังไม่คืบหน้าพัฒนาไปไหน

วันหนึ่ง ฮิโรมิได้รับการไหว้วานจากเพื่อนเก่าของเธอให้ช่วยดู แลเด็กชายตัวเล็กๆ น่าสงสารคนหนึ่ง ฮิโรมิอาจจะเต็มใจช่วย กระนั้นเธอก็ยังตระหนักว่า เอาเข้าจริงนั่นเป็นภาระที่หนักเกินกว่าเธอจะรับไหว ว่าแล้วเธอจึงพูดจาหว่านล้อมริวโนะสุเกะ จนเขายินยอมที่จะรับเด็กชายไปเลี้ยงดูต่อจนได้ หลายชีวิตบนถนนสายที่ 3 เหล่านี้ นอกจากจะดำเนินชีวิตไปตามอย่างที่ทำมาโดยตลอดแล้ว ยังมีภาระให้ต้องคิดอ่านหาหนทางแก้ปัญหากับสมาชิกใหม ่ที่แต่ละคนรับเข้ามาสู่ชีวิตขอ
งตน – โนริฟูมิจะเยียวยาความรู้สึกของมัตสุโกะอย่างไร? ความสัมพันธ์ของริวโนะสุเกะกับเด็กชายตัวเล็กๆ คนนั้นจะลงเอยอย่างไรและที่สำคัญก็คือ ชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ หลังจากที่หอโตเกียวสูงตระหง่านนั้น สำเร็จเสร็จสิ้น?

Fast Facts
- นี่คือหนังที่ได้รับเสียงชื่นชมท่วมท้น อีกทั้งยังเรียกได้ว่าเป็นหนังที่ ‘คนญี่ปุ่นหลงรักมากที่สุด’ เรื่องหนึ่งในปี 2005 จุดเด่นอันดับแรกสุดของ Always อยู่ตรงที่มันเป็นงานประเภท ‘ฟีล กู๊ด’ ที่ยอดเยี่ยม เนื้อหาเล่าถึงอดีตที่งดงาม เป็นหนังแบบที่ผู้ชมดูแล้วจะรู้สึกดีกับชีวิต จุดเด่นประการถัดมาอยู่ที่งานด้านภาพที่สวยชวนตะลึง ทีมงานใช้คอมพิวเตอร์ กราฟิกเนรมิตนครโตเกียวเมื่อครึ่งศตวรรษก่อนให้ดูสมจ ริงได้อย่างดียิ่ง
- Always เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2005 ทำรายได้สูงเป็นอันดับ 2 ประจำสัปดาห์นั้น โดยพ่ายให้แก่ The Brother Grimm เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์ถัดมา หนังก็สามารถแซงหน้าเรื่องอื่นๆ แล้วก้าวขึ้นสู่อันดับ 1 บนบ๊อกซ์ ออฟฟิศอย่างสง่างาม และยังสามารถรั้งอันดับ 1 เช่นนั้นไว้ได้ในสัปดาห์ถัดมาอีกด้วย
- ล่าสุด Always ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Japan Academy ถึง 14 สาขา (ประกาศผู้ได้รับรางวัลในวันที่ 3 มีนาคม 2006)
- Always ดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนยอดนิยม ซึ่งเป็นผลงานการสร้างสรรค์ของ ริวเฮ ไซกัง
- ทีมงานทั้งหน้ากล้องและหลังกล้องของหนังเรื่องนี้หลา ยคน แท้จริงแล้วเคยมีผลงานที่เข้ามาฉายในบ้านเรา อาทิ
ทาคาฮาชิ ยามาซากิ (ผู้กำกับ) ก่อนหน้านี้เขาเคยกำกับ Returner มาก่อน
โคยูกิ ร่วมแสดง Kairo, The Last Samurai
มากิ โฮริคิตะ ร่วมแสดง Crying out for Love, in the Centre of the World, Yogen
ชินอิจิ สุสุมิ ร่วมแสดง One Missed Call


เห็นtk2โชว์ไปtk6ปิ้กเลยอยากโชว ์บ้างเลยขอลงyoutubeกะเขามั้ง
น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักไม้ขีดแต่คุณรุ็หรือไม่ว่ามันเกิดขึ้นในสมัยใหนและเข้าไทยเมื่อไหร่ลองอ่านกันนะครับ
ปี พ.ศ. 2370 (ต้นสมัยรัชกาลที่ 3) มีนักเคมีชาวอังกฤษชื่อ จอห์น วอล์คเกอร์ ทำไม้ขีดจากเศษไม้จุ่มปลายลงในส่วน ผสมของ แอนติโมนีซัลไฟด์โปตัสเซียมคลอเรตและกาวซึ่ง ทำจากยางไม้ หรือ gumarabic เมื่อนำไม้ขีดไฟขูดลงบนกระดาษทรายจะเกิดแรงเสียดสี ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนที่ทำให้ไม้ขีดลุกเป็นไฟ ไม้ขีดแบบที่ จอห์น วอล์คเกอร์ ประดิษฐ์เป็นแบบเดียวกันกับไม้ขีดประเภท "ขีดกับอะไรก็ได้" แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะติดไฟทุกครั้ง ไม้ขีดไฟชนิดนี้เพิ่งคิดค้นได้หลังจากการประดิษฐ์ไฟแช็กถึง 4 ปี[1]

ถึงปี พ.ศ. 2373 ในประเทศฝรั่งเศส ชาร์ลส์ โซเรีย ได้คิดค้นไม้ขีดไฟที่มีปลายทำจากฟอสฟอรัสเหลือง แต่ช่วงสิ้นศตวรรษที่ 19 หัวไม้ขีดมีส่วนประกอบของฟอสฟอรัสเหลืองหรือขาวมีพิษทำให้คนงานในโรงงานผลิต ไม้ขีดไฟเจ็บป่วยถึงพิการหรือเสียชีวิตด้วยโรคที่เรียกกันว่า phossy jaw

ในช่วง พ.ศ. 2383 หรือปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการค้นพบฟอสฟอรัสแดงซึ่งทำให้ผลิตไม้ขีดได้อย่างปลอดภัย แต่ไฟจะติดได้ก็ต้องจุดเฉพาะพื้นที่ที่เตรียมไว้เท่านั้น ผิวสำหรับขีดอยู่ข้างกล่องไม้ขีดมีฟอสฟอรัสแดง ทาติดอยู่ ด้วยยางไม้ gumarbic หรือกาวชนิดอื่น ส่วนที่หัวไม้มีโปแตสเซียมคลอเรตซึ่ง เมื่อกระทบกับ ฟอสฟอรัสแดง ก็จะเกิดปฏิกิริยาให้ความร้อนมากพอและไฟจะติดขึ้นได้ เรื่องยังมีวัสดุอื่นๆอีกที่สามารถใช้เป็นก้านไม่ขีดไฟได้เช่น ด้ายเคลือบขี้ผึ้ง และกระดาษแข็งเคลือบขี้ผึ้ง แต่วัสดุที่ใช้ทำก้านไม้ขีดได้ดีที่สุดก็คือไม้ ลักษณะไม้ซึ่งเหมาะสำหรับทำก้านไม้ขีดควรจะเป็นไม้สีขาว ไม่มีกลิ่น เนื้อไม้ไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป นิยมใช้ไม้มะยมป่า ไม้มะกอก ไม้อ้อยช้าง ไม้ปออกแตก เป็นต้น ก่อนจุ่มทำหัวไม้ขีดจะต้องเอาปลายก้านไม้ขีดที่จะติดหัวนั้นไปจุ่มขี้ผึ้งพาราฟินก่อน หากเนื้อไม้แข็งเกินไปก็จะไม่ดูดซึมพาราฟิน พาราฟินจะเป็นตัวส่งผ่านจากหัวไม้ขีดไปสู่ก้านไม้ขีด หากไม่มีพาราฟิน เมื่อไฟติดก็จะดับในทันที และหากเนื้อของไม้อ่อนจนเกินไปก้านไม้ขีดก็จะไม่คงรูปเป็นก้านตรงได้

สมัยแรกเป็นการนำเข้าไม้ขีดไฟของสวีเดนและญี่ปุ่น โดยของญี่ปุ่นนั้นมีตราต่างๆ และมีภาพวาดบนฉลากไม้ขีดไฟเป็นรูปต่างๆ เรียกว่า หน้าไม้ขีดไฟ มีนักสะสมจะเก็บรวบรวมหน้าไม้ขีดไฟ ต่อมาช่วงสมัยรัชกาลที่ 7 คนไทยสามารถผลิตไม้ขีดไฟเองได้ มีโรงงานไม้ขีดไฟของเมืองไทยในยุคนั้น ได้แก่ บริษัทมิ่นแซจำกัด ผลิตตรานกแก้ว ตรารถกูบ บริษัทตังอาจำกัด ผลิตตรามิกกี้เม้าส์ ตราแมวเฟลิกซ์ บริษัทไทยไฟ ผลิตตรา 24 มิถุนา เป็นรูปพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นที่ระลึกในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเป็นระบอบประชาธิปไตย บริษัทเอเซียไม้ขีดไฟจำกัด ผลิตชุด ก.ไก่ ข.ไข่ บริษัทสยามแมตซ์แฟ็กตอรี่ ภายหลังเปลี่ยนมาเป็นบริษัทไม้ขีดไฟไทย ผลิตตราธงไตรรงค์ ตราพระยานาค แล้วเราก็ใช้ไม้ขีดยี่ห้อนี้กันจนทุกวันนี้
ปิ่นโต เด็กสมัยใหม่รู้จักใหมผมก็ไม่แน่ในักแต่ตอนนี้ถ้าไม่ได้ทำบุญตอนเช้าหรือไปที่วัดก็ไม่ได้มีโอกาศได้เห็นเจ้าสิ่งนี้มากนัก ผมลองไปค้นข้อมูลมาก็พบประวัติเกี่ยวกับ ปิ่นโตนิดหน่อยยังไงลองอ่านดูนะครับ ปิ่นโต เป็นภาชนะชนิดหนึ่งสำหรับบรรจุอาหาร ประกอบด้วยภาชนะรูปทรงกระบอกซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีโครงร้อยตรงส่วนหูสองข้าง หิ้วได้ มักจะมีตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป ลักษณนามเรียก "เถา"

เดิมเชื่อว่า "ปิ่นโต" มาจากคำว่า "ปินโต" ในภาษาโปรตุเกส แต่โสมทัต เทเวศร์ (นามปากกาของ ส.พลายน้อย หรือ สมบัติ พลายน้อย) นักภาษาศาสตร์ เขียนแย้งว่า น่าจะเป็นการจำไขว้เขวกับฝรั่งโปรตุเกสที่เข้ามาอยู่เมืองไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อ เฟอร์นันโด เม็นเดซ ปินโต จึงทำให้คนคล้อยตามกันมาก ความจริงแล้วตามพจนานุกรมภาษาโปรตุเกส คำว่า Pinto หมายถึงลูกไก่ ดังนั้นภายหลังส่วนใหญ่ลงความเห็นสอดคล้องกันว่าน่าจะมาจากคำว่า "เบนโต"ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึง ข้าวกล่อง ซึ่งอาจจะผ่านมาจากภาษาจีน คำว่า "เปี้ยนตัง"

แล้วคุณเห็นปิ่นโตครั้งสุดท้ายเมื่อไหรหรือครับ

TKน้องตินขอคะแนนลงทุนเหนื่อยเลยนะครับ


ส่วนคนนี้นี้แน่นอนเลยครับTK4โชว์ความเทพด้วยการซ่อมคอมข่มกันเห็นๆตรงใหนฟะ
ความชำนาญ นั้นต้องผ่าน การเริ่มต้น
และฝึกฝน ปฏิบัติ ไม่ขาดหาย
เพ่งดูจิต ดูตัว ให้ทั่วกาย
สู่จุดหมาย พบธรรม ที่นำทาง
คือแสงทอง แสงธรรม นำชีวิต
ความมืดมิด ก็จะถูก ธรรมลบล้าง
ธรรมสอนให้ รู้จัก การละวาง
และออกห่าง บาปกรรม นำสู่บุญ
อย่ามัวคิด ติดอยู่ กับความฝัน
เพราะคืนวัน ผ่านไป ไม่เกื้อหนุน
จงเร่งทำ วันนี้ ให้มีคุณ
บุญเกื้อหนุน ส่งผล สู่หนทาง
สู่เส้นทาง สายธรรม นำชีวิต
ชี้ถูกผิด ดีชั่ว ทุกสิ่งอย่าง
เพิ่มศรัทธา หนุนเกื้อ อย่าเจือจาง
แสงสว่าง แห่งธรรม นำชีวี
เพียงเห็นธรรม แต่ไม่นำ ปฏิบัติ
จะถูกจัด เป็นใบลาน ไปทุกที่
"ใบลานเปล่า" เขาเล่าขาน ในคัมภีร์
เป็นผู้ที่ ดีแต่พูด แต่ไม่"ทำ"
เพียงอ่านมาก ฟังมาก เพราะอยากรู้
เพียงแต่ดู แต่เห็น เป็นเรื่องขำ
เพียงแต่ดู แต่เห็น แต่ไม่ทำ
จะก่อกรรม เพิ่มอัตตา น่ากลัวเกรง
เพราะอ่านมาก รู้มาก จึงอวดรู้
ว่าตัวกู รู้มาก เป็นคนเก่ง
แต่ไม่เคย เห็นกิเลส ของตนเอง
ชอบจะเบ่ง อวดความโง่ มาโชว์กัน
ขออภัย ที่ใช้คำ ไม่สุภาพ
แต่กลอนกาพย์ พาไป ในคำฉันท์
โปรดอภัย ให้ด้วย ก็แล้วกัน
เพราะเชื่อมั่น ศรัทธา ปรารถนาดี....
จงอย่าคิด ติดอยู่ กับความฝัน
อยากให้เป็น อย่างนั้น เป็นอย่างนี้
แต่ไม่เคย ลงมือทำ เลยสักที
ชีวิตนี้ ผ่านไปเปล่า น่าเศร้าใจ
ลงมือทำ ในวันนี้ จะดีกว่า
วันเวลา จะล่วงเลย เกินแก้ไข
ถ้าไม่รีบ ลงมือทำ จะช้ำใจ
เพราะวันใหม่ อาจไม่มี สำหรับเรา.....
เขียนมาด้วยความปรารถนาดี
รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
วจีพเนจร-คนรอนแรม
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๔๕ น. ณ ชายป่าห้วยขาแข้ง อุทัยธานี
ผมว่าคนพุทธหลายๆคนอาจจะไม่รู้ว่าทำไมการใว้พระจะต้อง ธูป เทียน และดอกไม้โดยเฉพาะวัยรุ่น วันนี้ผมมีบทความดีๆมาให้ได้อ่านกันครับ
การได้เข้าวัดในเวลาที่ว่างเว้นจากภารกิจการงานเช่นวันเสาร์ วันอาทิตย์และวันหยุดราชการ เป็นการเสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต เพราะจะได้ประกอบศาสนกิจต่างๆที่เป็นเหตุของความสิริมงคลทั้งหลาย เช่นการกราบพระ บูชาพระด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ดังในพุทธภาษิตที่แสดงไว้ว่า ปูชา จ ปูชนียานัง เอตัมมังคลมุตตมังการได้บูชาสิ่งที่สมควรแก่การบูชาเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง การบูชาพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เป็นได้ทั้งอามิสบูชาและปฏิบัติบูชา อามิสบูชาเป็นการบูชาด้วยเครื่องสักการะเช่นดอกไม้ ธูป เทียน ส่วนปฏิบัติบูชาคือการพัฒนาจิตใจด้วยการเจริญพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ คือการระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณดอกไม้ ธูป เทียน เป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ อย่างธูป ๓ ดอก หมายถึงพระพุทธคุณ ๓ ประการ ได้แก่ พระกรุณาคุณ พระปัญญาคุณ และ พระวิสุทธิคุณ

พระกรุณาคุณคือความสงสารที่พระพุทธองค์ทรงมีแก่ สัตว์โลกทั้งหลายที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ธรรมและหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด แล้ว พระองค์ไม่ได้ทรงเก็บพระธรรมที่ทรงรู้ทรงเห็นไว้ตามลำพัง แต่ทรงอุทิศเวลาตลอด ๔๕พรรษา คือตลอดเวลาของพระชนมายุที่เหลืออยู่ตั้งแต่วันตรัสรู้จนกระทั่งถึงวันเสด็จ ดับขันธปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงใช้เวลานี้สั่งสอนสัตว์โลกให้รู้จักเรื่องบาปบุญ คุณโทษ เรื่องนรก เรื่องสวรรค์ มรรค ผล นิพพาน เรื่องการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ถ้าพระพุทธองค์ไม่ได้ทรงสั่งสอนแล้ว สัตว์โลกทั้งหลายก็ยังจะต้องจมอยู่ในกองทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิดอย่าง ไม่มีที่สิ้นสุดเพราะไม่รู้จักทางออก เป็นเหมือนคนตาบอด ไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุที่จะนำมาซึ่งความสุข อะไรคือเหตุที่จะนำมาซึ่งความทุกข์ อะไรคือผลของการกระทำดีและชั่ว ไม่มีใครรู้กัน

แต่หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และประกาศ พระธรรมคำสอนแล้วจึงได้รู้กัน เมื่อได้ยินได้ฟังธรรมแล้วนำเอาไปปฏิบัติก็สามารถหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตาย เกิดได้ หลุดพ้นจากทุกข์ได้ ดังที่พระอริยสงฆสาวกได้น้อมเอาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาประพฤติปฏิบัติ จนกระทั่งได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เปรียบเหมือนยารักษาโรค สัตว์โลกทั้งหลายเปรียบเหมือนคนไข้ ถ้าไม่มียารักษาโรค ย่อมไม่หายจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงต้องอาศัยหมอที่มีความกรุณาอย่างพระพุทธองค์ประทานธรรมโอสถมาให้ เมื่อรับประทานแล้วก็จะหายจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย นี่คือพระกรุณาคุณของพระพุทธเจ้า

พระปัญญาคุณหมายถึงความรู้ ความฉลาดของพระพุทธเจ้าที่สามารถแหวกว่ายให้พ้นจากกองเพลิงกองไฟแห่งการ เวียนว่ายตายเกิดได้ ซึ่งไม่มีใครสามารถทำได้แม้แต่คนเดียวในโลกนี้ มีพระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียวเท่านั้นที่มีปัญญามีความรู้ความฉลาดที่ สามารถนำพาพระองค์ให้พ้นจากกองทุกข์นี้ได้ ก่อนที่พระพุทธองค์จะทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ก็ทรงแสวงหาครูอาจารย์ผู้รู้ต่างๆ เพื่อที่จะได้สอนท่านให้รู้จักวิธีการหลุดพ้นจากกองทุกข์ แต่ก็ไม่มีใครรู้เลยในโลกนี้แม้แต่คนเดียว พระพุทธองค์จึงต้องใช้ความอุตสาหะความพยายาม ขันติความอดทน ทดลองไปเรื่อยๆ โดยอาศัยใช้เหตุใช้ผลใช้สติปัญญาอันแหลมของพระองค์ ลองผิดลองถูกไปจนกระทั่งในที่สุดก็พบทางที่จะนำพาไปสู่ความสงบสุข ทางที่จะนำพาไปสู่ความสิ้นทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิดได้อย่างสิ้นเชิง

พระ วิสุทธิคุณ หมายถึงพระทัยของพระพุทธเจ้าที่สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง กิเลสตัณหาทั้งหลาย ที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติธรรมด้วยสติด้วยปัญญา พระทัยของพระพุทธองค์ทรงเต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา ทรงปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นที่ยังอยู่ในกองทุกข์หลุดพ้นจากทุกข์ไป ทรงอุทิศเวลาและสติปัญญาสั่งสอนสัตว์โลกโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ จากสัตว์โลกแม้แต่นิดเดียว การสั่งสอนของพระพุทธองค์แต่ละครั้งจะไม่มีบาตรวางไว้ข้างหน้าเพื่อเรี่ยไร กัณฑ์เทศน์เอาเงินเอาทองจากญาติโยม นี่ไม่ใช่เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนธรรมโดยไม่คิดเงินคิดทอง ไม่เรี่ยไรเงินทองจากผู้ฟัง เพราะพระองค์มีพร้อมอยู่แล้วในพระทัยของพระองค์ พระพุทธองค์ทรงร่ำรวยด้วยพระอริยทรัพย์ ไม่มีทรัพย์อะไรจะเท่าเทียมกับพระอริยทรัพย์ที่มีอยู่ในจิตใจ เพราะผู้ใดมีพระอริยทรัพย์อยู่ในจิตใจแล้วย่อมมีแต่ความอิ่มเอิบใจ มีแต่ความพอ เปรียบเหมือนกับตุ่มน้ำที่เต็มไปด้วยน้ำแล้ว จะใส่น้ำเข้าไปเท่าไรน้ำก็จะล้นออกมา นี่คือพระทัยของพระพุทธเจ้าผู้ที่มีความบริสุทธิ์ในจิตใจ สั่งสอนสัตว์โลกด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ปรารถนาแม้แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดจากผู้ที่พระพุทธองค์ทรงช่วยเหลือ แม้กระทั่งคำว่าขอบอกขอบใจหรือความสำนึกในบุญคุณพระพุทธองค์ก็ไม่เคยปรารถนา ไม่เคยหวังอะไรจากสัตว์โลกแม้แต่นิดเดียว

แต่สำหรับสัตบุรุษคน ดี เมื่อได้รับความช่วยเหลือแล้วย่อมสำนึกในพระคุณของผู้ให้ ดังที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าทุกๆครั้งที่ได้พบ เห็นพระพุทธรูป ด้วยการน้อมจิตน้อมใจกราบนมัสการในองค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น ด้วยความสำนึกในพระคุณอันใหญ่หลวงที่พระพุทธองค์ทรงได้มอบให้กับสัตว์โลก ทั้งหลาย แม้ในพระทัยของพระพุทธองค์จะไม่มีแม้แต่นิดเดียวที่จะคิดถึงสิ่งตอบแทนจาก สัตว์โลกทั้งหลาย พระโอวาทของพระพุทธองค์ทุกๆบท ทุกๆบาทเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ฟังโดยถ่ายเดียว ไม่มีประโยชน์ของผู้แสดงอยู่แม้แต่น้อยนิด นี่คือลักษณะของวิสุทธิคุณ คือจิตที่ชำระแล้ว ไม่มีความโลภ ความอยาก นี่คือการเจริญพระพุทธคุณที่เรียกว่าพุทธานุสติ ทุกครั้งที่จุดธูป ๓ ดอก ขอให้ระลึกถึงพระกรุณาคุณ พระปัญญาคุณ และ พระวิสุทธิคุณ เพราะเมื่อระลึกถึงแล้ว จะทำให้เกิดปัญญานำพาไปสู่การดับทุกข์ได้ แต่ถ้าจุดธูปไปโดยที่ไม่ได้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเลยแม้แต่นิดเดียว ไม่ระลึกถึงพระคุณอันประเสริฐ ๓ ประการ ก็จะไม่ได้ปฏิบัติบูชา จะได้แต่เพียงอามิสบูชา

ส่วนการจุดธูปแล้วก็ขอพรให้พระทำสิ่ง นั้นสิ่งนี้ให้ เป็นสิ่งที่ไม่อยู่ในคำสอนของพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราเป็นที่พึ่งของตัวเราเอง ด้วยการประพฤติปฏิบัติตนทางกายวาจาใจ ตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ไม่ได้สอนแม้แต่คำเดียวว่า เวลาจุดธูปเทียนแล้วขอให้ร่ำให้รวย ขอให้เรียนจบ หรือขอให้มีลูกมีเต้า หรือขอให้ได้ตำแหน่งต่างๆ พระพุทธองค์ไม่เคยสอนให้ขอ แต่พระพุทธองค์ทรงสอนให้ทำ ให้มีความอุตสาหะวิริยะ ความขยันหมั่นเพียร อยากได้อะไรก็พยายามหามาด้วยลำแข้งลำขาด้วยสติปัญญาของตน อย่ารอพึ่งคนอื่น ถ้ารอพึ่งคนอื่นก็จะกลายเป็นขอทานไป ก็ต้องขอไปตลอดชีวิต แต่ถ้าหามาได้ด้วยสติปัญญา ด้วยความขยันหมั่นเพียรของตนแล้ว ต่อไปจะต้องการอะไรในโลกนี้ก็จะสามารถหามาได้ด้วยตนเอง เพราะพึ่งตนเองได้ มีตนเป็นที่พึ่งของตน ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น

แสง เทียนหมายถึงแสงสว่างแห่งธรรม จิตใจของปุถุชนอย่างเราอย่างท่านยังต้องอาศัยแสงสว่างแห่งธรรม เพราะยังมืดบอดอยู่ มีความหลง มีอวิชชาครอบงำทำให้เห็นผิดเป็นชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นสุขเป็นทุกข์ เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นของเที่ยง เห็นสิ่งที่ไม่เป็นตัวตนว่าเป็นตัวตน นี่คือความหลง ถ้าตราบใดยังคิดว่ามีตัวตนอยู่ นั่นแหละคือความหลง ถ้าตราบใดยังคิดว่าโลกนี้มีความสุขที่ยังแสวงหาได้อยู่ นั่นก็คือความหลง ถ้ายังคิดว่ายังมีสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอนอยู่ในโลกนี้ นี่ก็คือความหลง เพราะตามความเป็นจริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีอะไรเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีอะไรเป็นสิ่งที่ให้ความสุขที่แท้จริง ไม่มีอะไรที่จะเป็นของๆเราอย่างแท้จริง ทุกสิ่งทุกอย่างต้องหมดสิ้นไป ต้องมีการพลัดพรากจากทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ต้องจากไปหรือหมดไป เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเราเป็นของของเรา ดังที่ได้ทรงแสดงไว้ว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของๆตน

เราจึงต้องอาศัยพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อ เป็นแสงสว่างชี้ทางให้เห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง เช่นเดียวกับเวลาที่อยู่ในที่มืด ไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้อย่างชัดเจนว่าอะไรเป็นอะไร ไม่รู้ว่าเป็นแมวหรือสุนัข ถ้าไม่มีแสงสว่างจะไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร แต่ถ้ามีแสงไฟก็จะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างฉันใด แสงสว่างแห่งธรรมก็เช่นกัน เป็นแสงสว่างที่ทำให้เห็นว่าอะไรเป็นอะไร อะไรคือบาป อะไรคือบุญ อะไรคือเหตุ อะไรคือผล อะไรคือนรก อะไรคือสวรรค์ สิ่งเหล่านี้เป็นของจริงที่มีอยู่ แต่จิตใจมืดบอดจึงไม่เห็นสิ่งเหล่านี้ เมื่อไม่เห็นจึงไปเถียงพระพุทธเจ้า ไปปฏิเสธคำสอนของพระพุทธเจ้า หาว่าพระพุทธเจ้าสอนให้คนงมงาย สอนให้คนเชื่อ ไม่ให้คนคิด

ความ จริงแล้ว พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เชื่อ และทรงสอนให้คิดด้วย สิ่งที่ยังไม่รู้ยังไม่เห็นก็ต้องเชื่อไปก่อน สิ่งที่ต้องคิดก็ต้องคิด เหมือนกับพ่อแม่สอนลูก เมื่อลูกยังเด็กอยู่ ยังคิดเองไม่ได้ก็ต้องเชื่อไปก่อน ไม่มีพ่อแม่คนไหนที่ใจคอโหดร้ายพอที่จะสอนให้ลูกไปทำในสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกมีความสุขความเจริญทั้งนั้น ลูกๆจึงเชื่อพ่อแม่ได้อย่างตายใจ ในเบื้องต้นจึงควรเชื่อพ่อแม่ไปก่อนเพราะยังคิดไม่เป็น เมื่อโตแล้วคิดเป็นแล้วก็จะรู้ดีรู้ชั่วเอง

ชาวพุทธก็เหมือน กัน ในเบื้องต้นยังไม่มีสติปัญญาพอที่จะแยกแยะได้ว่าอะไรคืออะไร ก็ต้องเชื่อไปก่อน เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า เชื่อบาป เชื่อบุญ เชื่อนรก เชื่อสวรรค์ แล้วประพฤติปฏิบัติตามจนเห็นเช่นเดียวกับที่พระพุทธเจ้าทรงรู้ทรงเห็น เมื่อเห็นแล้วจะไม่เชื่อก็ได้ อย่างพระ สารีบุตร หลังจากที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว พระสารีบุตรได้เปล่งอุทานว่า บัดนี้เราไม่ต้องเชื่อพระพุทธเจ้าอีกต่อไป เพราะสามารถมองเห็นได้ด้วยตนเอง เหมือนกับคนตาบอดที่รักษาตาให้ดีแล้ว ไม่ต้องให้คนอื่นนำทางอีกต่อไป นี่คือ อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน ไม่ต้องพึ่งอะไรอีกต่อไปแล้ว พระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันตสาวกทั้งหลายก็ดี ท่านไม่ต้องพึ่งอะไรแล้ว เพราะท่านมีสรณะในตัวของท่านแล้ว คือมี พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ในใจ นี่คือเรื่องของการจุดเทียนบูชาพระ คือการจุดแสงสว่างแห่งธรรมให้สว่างไสวขึ้นมาภายในใจด้วยการปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม

ส่วนดอกไม้ที่ใช้บูชาพระที่มีสีต่างๆ เช่น สีขาว สีเหลือง สีแดง ก็หมายถึงพระอริยบุคคลทั้งหลาย ที่มาจากทุกเพศทุกวัย มีทั้งหญิงทั้งชาย นักบวช ฆราวาส เด็ก และ ผู้ใหญ่ เพราะการบรรลุเป็นพระอริยบุคคลไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพศกับวัย แต่ขึ้นอยู่กับสุปฏิปันโน คือการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ผู้ใดสามารถประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ได้ ผู้นั้นก็สามารถบรรลุเป็นพระอริยบุคคลได้ ดอกไม้มีความสวยงามด้วยสีสัน พระอริยบุคคลก็มีความสวยงามด้วยความประพฤติ

ทุกครั้งที่บูชา พระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ก็ขอให้บูชาทั้งอามิสบูชา และ ปฏิบัติบูชา คือบูชาด้วยดอกไม้ ธูป เทียน และบูชาด้วยการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ด้วยการเจริญ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ เป็นการตัดทุกข์ ตัดภพตัดชาติให้น้อยลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่มีเหลืออยู่อีกต่อไป
บทความนี้ได้มาจากเว็บhXXp://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,9868.0.html (แก้xxเป็นtt)

ทำไปทำมาคนมาเข้าด้วยเยอะขึ้นเฮะเลยอยากลงไปกะเขาด้วย ต้นนี้ก็มี8คนไปแล้วครับ แต่ยังไม่ค่อยมีคนโหวตเลยนี้สิ หรือหว่าเราทำปุ่มโหวตเล็กไปหว่า


วีดีโอใหม่ครับให้ชมกัน
มีเพลงเพราะจากศักดิ์สิริ มีสมสืบ featuring จ๋า พวงมณี เพลง เพื่อนดาว
Album: ลูกแม่...เดียวกัน
วันนี้ผมขอกล่าวถึงเรื่องราว ของชาวบ้าน ๑๑ คน ที่ กลับกลาย เป็นตำนานที่ยิ่งใหย๋ ด้วยต่าง หยิบดาบ สู้กับพม่า ด้วยหัวใจ กล้าต่อกร กับ ทัพพม่า ที่มี ไพรพล มหาศาล...ในเวลานั้น พม่าแบ่ง กำลังออก เป็น ๒ เส้นทาง มังมหานรธา ตีจาก ทิศตะวันตก เน เมียวสีหบดี ตีไล่จาก ทางเหนือ หวังขนาบ กรุงศรี อยุธยา ครานั้น ทัพของ เนเมียว ต้องล่าช้า ไปเนื่องจาก ติดพัน การ ต่อสู้ กับกลุ่ม ชาวบ้านที่ รวมตัว กันในนาม "บางระจัน"

เนเมียวสีหบดี แค้นหนัก ที่กองทัพ ของตน พ่ายแพ้ ถึง ๓ ครั้ง จึงเพิ่ม กำลังหนัก เข้าชาว บางระจัน รบกัน อย่าง ถวายหัว แต่คราวนั้น พ่อแท่น หัวหน้า ของชาวบ้าน ถูกยิงได้รับ บาดเจ็บ ทุกคน จึงต้องหา ผู้นำคนใหม่ ขณะนั้น ข่าวการ ชนะพม่า ของบางระจัน กระจายไปทั่ว ชาวบ้าน มากมาย พากัน มารวม ตัวสู้ บางระจัน ได้ผู้ มีฝีมือ อีกสองคน มาช่วย คือ นายดอก ครูมวย จากวิเศษไชยชาญ แลนาย ทองแก้ว ครูดาบ บ้านโพธิ์ ทะเล

ชื่อกลุ่มโจร ของนายจัน หนวดเขี้ยว เป็นที่ กล่าวขาน ในเวลานั้น บางระจัน จึงส่ง นายอิน มือแม่นธนู นายเมือง คนหนุ่ม ใจกล้า แลพวก เสี่ยงภัย ออกจากค่าย ไปตาม นายจัน ยอมมา ช่วยบางระจัน ทันที เมื่อรู้ว่า พระอาจารย ธรรมโชติ ย้ายจาก เขานางบวช บ้านเกิด ของตน ที่วอดวาย ไปแล้ว มาจำวัด ที่บางระจัน นายจัน หนวดเขี้ยว เป็น นักรบ ประเภท ยอมหัก ไม่ยอมงอ ด้วยครั้งหนึ่ง ตนเคยเสียชีวิต ลูกเมีย ให้กับพม่า

เมื่อได้เป็นผู้ นำคนใหม่ จึงเปลี่ยนแปลง บางระจัน ให้ทุกคน มีวินัย และ ไม่ทำอะไร ตามใจ ตัวเอง ทำให้ นายจัน ไม่เป็น ที่ถูกใจ ของนาย ทองเหม็น ขี้เมาพเนจร ที่ชอบ ขี่ควาย แอบออก จากค่าย ไปตีพม่า อยู่บ่อยครั้ง ไม่มีใครรู้ สาเหตุว่า นายทองเหม็น ทำอย่างนั้น เพื่ออะไร เมื่อหยุดจาก การรบ ชาวบ้าน ก็เป็นเพียง ชาวบ้าน ความรัก ของนายเมือง และ อีแตงอ่อน ลูกสาว พ่อแท่น กำลัง ก่อตัวขึ้น อย่างงดงาม พ่อแง่แม่งอน ตามประสา เช่นเดียวกับ นายอิน กับ อีสา เมียรัก ที่เพิ่ง อยู่กินกัน ความกดดัน จากสงคราม ทำให้อีสา ไม่บอกให้ นายอินว่า ตนกำลังท้อง ด้วยกลัวผัว จะเป็นกังวล

นายเมือง นายอิน ต้องเสี่ยงภัย กันอีกครั้ง เมื่อต้อง เดินทางไป กรุงศรีอยุธยา เพื่อขอ ปืนใหญ่ แต่เมื่อ ไปถึงกลับ ได้รับการ ปฏิเสธ กลับมา เมื่อนายอิน กลับมา แล้วมารู้ ทีหลังว่า เมียกำลังท้อง แล้วนายปลั่ง เพื่อนรัก ที่ ร่วมรบ กันมา จนบาดเจ็บ พิษไข้ ขึ้นถึงกลับ วิกลจริต ไป ซ้ำมารู้ว่า ตนกำลัง จะมีลูก นึกแค้น พม่าหนัก นัดพา พวกล่องเรือ ไปตีพม่า ถึงในค่าย โดยไม่รู้ว่า พม่าเอง ก็แอบส่ง กำลัง มาตีบางระจัน เช่นกัน ครั้งนั้น ด้วยใจร้อน นายอิน พาคน ไปตาย มากมาย ซ้ำกลับ มา ค่ายบางระจัน ก็ถูกตี จนยับเยิน คนตาย มากมาย ชาวบ้าน ก็พากัน อพยพ หนีไป นายจัน ท้อใจ จะ กลับไป เป็น กองโจร เหมือนเดิม หากแต่ ได้กำลังใจ อย่าง ไม่คาดคิด จากนาย ทองเหม็น ขี้เมา ที่เป็น อริกัน มาตลอด และรู้ว่า แท้จริงแล้ว นายทองเหม็น เองก็มีอดีต ที่เจ็บปวด ไม่น้อย ไปกว่าตน

ยามนั้น พม่าได้แต่งตั้ง นายกอง คนใหม่ นามว่า สุกี้ เข้าตี บางระจัน ทัพสุกี้ ครั้งนี้มี กองปืนใหญ่ มาด้วย บางระจัน เอาปืนใหญ่ เข้าสู้ทั้งที่ร้าว อย่างไม่มี ทางเลือก ทุกคน รู้ชะตากรรม ว่า นี่คงเป็น ครั้งสุดท้าย ของบ้าน บางระจัน แล้ว ขอเกริ่นแค่เล้กน้อยละกันนะครับ
หวัดดีจ้า แวะเอารูปน้องๆที่เหลือเอามาลงให้ดู
มีตั้งแต่v2-v6เลย เข้ามาแล้วก็ช่วยๆโหวตหน่อยละกันแก้เบื่อดี แล้วคอยติดตามดูนะครับว่าจบโครงการต้นกล้าอาชีพแล้ว พวกเขาหกคนจะซ่อมประกอบคอมได้ใหม ตอนนี้ผ่านไป11วันแล้วครับ จะรายงานทุกวันงับ และอาจมีหลังจากนั้นว่าเข้าจะทำอะไรต่อไป

น้องปิ้กคนนี้นี้ภาพต้องออกแนวนี้เลยครับคนจินตนาการสูงมากๆแบบว่าต้องเจอถึงจะรู้ครับ


ตามมาด้วยน้องสกาของเราทรงผมกินขาดครับมั่นได้อีกเยอะครับ

นักบาสหนึ่งเดียวของกลุ่มครับ หล่อได้อีก(หรือป่าวหว่า)

คนนี้หญิงหนึ่งเดียวในกลุ่มที่สามารถถ่ายรูปมาได้ครับ สาวมั่นแน่นอนร้อยเปองับ

น้องตินทีเด็ดงับหนุ่มhiphop เท้าไฟใจยากdance ว่าไปนั้น


คุณเคยไปโรงพยาบาลร้างใหม คุณเคยรู้สึกกลัวใหม เคยรู้สิกว่ามันเงียบผิดปกติใหมและมีอะไรบางอย่างทำให้คุณรู้สึกขนอึดอัดตลอดเวลา ถ้าไม่ลองมาโรงพยาบาลนี้ดู..โรงพยาบาลสมุทรสาครแผนกผู้ป่วยหูตาจมูก..

ล่อเล่นนะครับ แต่ผมขอบอกว่าผมโคตรกลัวเลยวันที่พาแม่ไปโรงพยาบาล ไม่สามารถบอกอะไรได้นอกจากทำไมมันไม่มีคนเลยหว่า พยาบาลบอกผมว่าแผนกหูตาจมูก ไม่ค่อยมีคนส่วนมากมาก็จะเข้าห้องพิเศษเลย ผมก็คิดเออจริงอะเพราะผมกับแม่ก็รอไปห้องพิเศษเหมือนกัน ผมยังคิดเลยวา่าถ้ามาถ่ายหนังผีที่นี้คงไม่ต้องเซทฉากแน่เลยเพราะหลอนได้ด้วยตัวมันเอง ก็เล่นหน้ากลัวซะขนาด.... ม่ายมีอารายแค่อยากเล่า เพราะเรื่องนี้มันนานมาแล้วครับ บังเอิญไปเจอรูปเข้าเลยคิดได้ว่าเอามาลงละกันถ่ายจากมือถือจำได้ว่าถ่ายรูปเสร็จไม่กล้าดูรูปฮ่าๆ แล้วจะถ่ายำแมวไรหว่า

ยังอยู่ในแดนใต้เพราะดันมีน้องเอาหมากรุกมาเล่นข้างๆเลยนึกถึงเรื่องนี้ได้เลยขอเล่าซะหน่อยละกันว่าการเล่นจาโตหรือหมากรุกนั้น มีมาตั้งแต่ครั้งพระเจ้าชิยง ซึ่งเป็นกษัตริย์ครองเมืองบันนังซาเร็ง ปัจจุบันเป็นชื่อตำบลหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา เมื่อหลายชั่วอายุคนมาแล้วพระเจ้าชิยงนั้น เป็นกษัตริย์ที่มีหน้าตาคล้ายหนุมาน เรียกกันว่า "บาเต๊าะ" คือ มีเขี้ยว มีหาง ก่อนที่พระเจ้าชิยงจะได้เป็นกษัตริย์นั้น ที่เมืองบันนังซาเร็ง มีกษัตริย์องค์หนึ่งชื่อว่าพระเจ้าบันนังซาเร็ง มีธิดาองค์หนึ่ง พระเจ้าบันนังซาเร็งประกาศว่า ถ้าใครสามารถขึ้นต้นซาเร็ง (น่าจะเป็นต้นสิเหร็ง ลักษณะคล้ายต้นตาล) ได้สูงสุด จะยกลูกสาวให้ ต้นซาเร็งนี้สูงมาก คนธรรมดาไม่สามารถจะขึ้นได้ แต่พระเจ้าชิยงสามารถขึ้นได้ จึงได้แต่งงานกับธิดาของพระเจ้าบันนังซาเร็ง และได้เป็นกษัตริย์ครองเมือง พระเจ้าชิยงนั้น ไม่ใคร่ยอมให้ใครเห็นหน้า จึงสร้างที่พักไว้สูงมาก ชอบกินตับเด็ก จึงให้ราษฎรนำเด็ก มาถวายวันละ ๑ คน จนราษฎรเหลือน้อยลงทุกวัน ๆ อำมาตย์มนตรีจึงคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะไม่ให้ พระเจ้าชิยงกินมนุษย์ต่อไป ในที่สุดจึงคิดการเล่นหมากรุกขึ้นมา
ขณะที่อำมาตย์มนตรี เล่นหมากรุกอยู่นั้น พระเจ้าชิยงก็นั่งดูอยู่ด้วย เมื่อเล่นไปปรากฏว่าฝ่ายตรงข้าม กับอำมาตย์มนตรีชนะ ฝ่ายอำมาตย์มนตรีเหลือแต่ขุน (คือกษัตริย์) จึงจนมุมไม่สามารถแก้ปัญหาได้ พระเจ้าชิยงจึงได้ความคิดว่า "ถ้าเรากินราษฎรหมด แล้วจะไปสู้รบกับศัตรูได้อย่างไร" พระเจ้าชิยงจึงเกิด
ความรักราษฎรไม่กินราษฎรอีกต่อไป และปกครองบ้านเมืองอย่างเป็นสุข
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
ตำนานการเล่นจาโต (หมากรุก) เป็นทั้งตำนานที่เล่าถึงประวัติท้องถิ่นของบ้านบันนังสาเร็ง และทำให้เห็นถึงคุณธรรมของผู้ปกครองคน ว่าต้องไม่รังแกผู้ด้อยโอกาสกว่า และให้ประโยชน์ในด้านการศึกษาคำศัพท์ ภาษาในท้องถิ่น ว่าไปนั้นเหมือนเป็นคนพื้นที่เลย อิอิ เดียวจะลองเอาการละเล่นของหลายๆภาคมาให้ได้ดูกันครับ ตอนนี้รวบรวมข้อมูลได้เยอะแล้ว กำลังจะอัปชุดใหม่ๆให้เพื่อนได้อ่านกัน ตอนนี้ขอเล่าเรื่องออกทะเลนิดหน่อยละกันครับ
จากเมืองลังกาสุกะมาเป็นเมืองปัตตานี

ขอบอกว่าเนื้อหาต่อไปนี้จะยาวมากนะครับ เพราะผมไม่อยากทิ้งขู้มุลใหนเลยแต่อ่านไม่ใหวก็ข้ามๆไปบ้างแล้วกันครับ

จดหมายเหตุจีน สมัยราชวงศ์เหลียง ชื่อเหลียงชู ได้บันทึกเรื่องราวอันน่าสนใจของเมืองนี้ไว้ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ความว่า "รัฐลัง-ยา-สิ่ว ตั้งขึ้นเมื่อศตวรรษที่ ๗ อยู่ในบริเวณทะเลใต้ ห่างจากเมืองท่ากวางตุ้ง ๒๔,๐๐๐ ลี้ อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับประเทศผัน-ผัน หรือ พาน-พาน ประเทศนี้มีความกว้างยาว วัดด้วยการเดินเท้าจากทิศใต้ไปจรดทิศเหนือ ใช้เวลาเดินทางกว่า ๒๐ วัน และหากเดิน จากทิศ ตะวันออก ไปถึงตะวันตกก็จะใช้เวลา ๓๐ วัน

ตัวเมืองลังกาสุกะ มีกำแพงล้อมรอบ มีประตู และหอคอยคู่ พระราชา มีพระนามว่า ภคทัต (ยอเจียต้าตัว) เวลาจะเสด็จไปที่แห่งใด จะทรงช้างเป็นพาหนะ มีฉัตรสีขาวกั้น มีขบวนแห่ประกอบด้วยกลอง และทิวนำหน้า แวดล้อมด้วยทหารที่มีหน้าตาดุร้าย คอยระแวดระวังพระองค์

ชาวเมืองนิยมไว้ผมยาว ผู้หญิงแต่งกายด้วยผ้าฝ้าย (Ki-Pei) มีเครื่องเพชรพลอยประดับตบแต่งกาย ผู้ชายมีผ้าพาดไหล่ทั้งสอง มีเชือกทอง คาดต่างเข็มขัด และสวมตุ้มหูทองรูปวงกลม

เมื่อปีที่สิบแห่งศักราชเถียนเจียน (ตรงกับปี พ.ศ.๑๐๕๘) กษัตริย์เมืองลังกาสุกะส่งราชฑูตชื่อ อชิตะ (อาเช่อตัว) ไปเฝ้าจักรพรรดิ์จีน ทางจีน ให้ช่างเขียน เขียนภาพราชฑูตไว้เป็นที่ระลึก คุณสังข์ พัธโนทัย ได้ให้คำบรรยายภาพว่า

" เป็นคนหัวหยิกหยองน่ากลัว นุ่งผ้าโจงกระเบน ห่มสไบเฉียง สวมกำไลที่ข้อเท้าทั้งสอง ผิวค่อนข้างดำ"( เมืองโบราณ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือน ธันวาคม ๒๕๒๑ - มกราคม ๒๕๒๒)ข้อความนี้ไปพ้องกับคำพังเพยของชาวปักษ์ใต้บทหนึ่งที่กล่าวว่า "ผมหยิก หน้าก้อ คอปล้อง น่องทู่" ซึ่งถือกันว่าเป็นลักษณะของผู้ชายที่ไม่น่าไว้วางใจนักสำหรับท่านหญิง รูปลักษณะของฑูตลังกาสุกะนี้ เราจะพบเห็น ได้จาก ชาวชนบท ในภูมิภาคทักษิณของประเทศไทยได้ทั่วๆ ไป

หนังสือ เป่ยซู และสุยซู ของจีน ชี้ที่ตั้งของเมืองลังกาสุกะไว้ในแวดวงที่กว้างขวางพอสมควร เช่นเดียวกับหนังสือ The Golden Khersonese ของศาสตราจารย์ปอล วิตลีย์ และหนังสือ Negara Kertagama ของพระปัญจ นักบวชในนิกายศิวะพุทธ แห่งราชอาณาจักรมัชฌปาหิต ว่าอยู่ในแคว้นปัตตานี ในอดีต (ซึ่งครอบคลุมไปถึงพื้นที่ของรัฐตรังกานู และรัฐกลันตัน)

หนังสือพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิต (ฟอนฟลีต) ชาวฮอลันดา ซึ่งเคยมาตรวจกิจการค้าของบริษัทดัชอิสต์อินเดีย ที่ตั้งอยู่ในเมือง ปัตตานี และได้เข้าเฝ้าเจรจาปัญหาบ้านเมืองกับเจ้าหญิงอูงูรานีแห่งเมืองปัตตานี เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.๒๑๘๕ ระบุที่ตั้ง เมืองลังกาสุกะ ว่าอยู่ห่างจากเมืองปัตตานีสมัยนั้น (บ้านกรือเซะ อำเภอเมืองปัตตานี) ไปทางตอนเหนือของลำน้ำปัตตานี คือบริเวณ เมืองโบราณ ที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ม้าฮวน ชาวจีนผู้มีประสบการณ์จาการเดินทางไปกับกองเรือรบของ นายพลเซ็งโห ผู้รับสนอง พระบรมราช โองการ จากพระเจ้า จักรพรรดิ์ ราชวงศ์หงวน ให้นำคณะฑูตออกไปเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ด้านเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร กองเรือของนายพลเซ็งโห ออกเดินทางจากจีน ตระเวนไปตามเมืองต่างๆ จนถึงอ่าวเปอร์เซีย และชายฝั่งอาฟริกาตะวันออก ผ่านอ่าวไทยถึง ๗ ครั้ง เคยแวะเยี่ยม ราชอาณาจักร สยาม ๒ ครั้ง ในปี พ.ศ.๑๙๕๐ เพื่อทำการไกล่เกลี่ยกรณีที่ปรเมศวร เจ้าเมืองมะละกา ร้องเรียนต่อพระเจ้าจักรพรรดิ์จีน กล่าวหาว่า ไทยยกกองทัพไปรุกรานเมืองมะละกา เหตุเพราะมะละกาทำการแข็งเมือง ไม่ยอมสงเครื่องราชบรรณาการ ในบันทึก ของม้าฮวน ได้กล่าวถึงเมืองลังกาสุกะว่า รัฐนี้ตั้งอยู่บนแหลมมลายูตรงเส้นรุ้งที่ ๖ .๕๔"- เหนือ

หนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๔ (ภาคผนวก) ก็ว่า จังหวัดปัตตานีตั้งอยู่ตรงเส้นละติจูด ๐๖-๕๑'-๓๐" เหนือ เช่นเดียวกับที่ม้าฮวนได้บันทึกไว้

หวัง-ต้า-หยวน เขียนไว้ในหนังสือ เต๋า-อี-ชีห์-ยูเลห์ ว่า ชาวเมืองลังยาเสี่ยว "ทั้งชายหญิงไว้ผมมวย ใช้ผ้าฝ้ายนุ่งห่ม และรู้จักการ ต้มน้ำทะเล เพื่อให้ได้เกลือมาใช้"

การทำนาเกลือ เพื่อใช้บริโภค และจำหน่ายในจังหวัดภาคใต้ มีอยู่ที่เมืองปัตตานี ทำเป็นสินค้าจำหน่ายมาแต่ต้นสมัยอยุธยาแล้ว ประวัติเมือง ปัตตานี ได้กล่าวถึงการทำนาเกลือไว้ชัดเจนในสมัยนางพญาฮียาและนางพญาบีรูปกครองเมืองปัตตานี แต่ไม่ปรากฏว่า เมืองใกล้เคียง ทำนาเกลือเป็น ทั้งที่บ้านเมืองเหล่านั้นก็อยู่ใกล้ทะเล มีสภาพที่ดินคล้ายคลึงกัน พอที่จะใช้ในการทำนาเกลือได้ ดังปรากฏ หลักฐาน ในตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ความตอนหนึ่ง เมื่อพระเจ้าอู่ทองตรัสถามพญาศรีธรรมโศกราชว่า "เมืองของท่านขัดสิ่งใดเล่า แลพญาศรีธรรมโศกราชว่า ขัดแต่เกลือ อาณาประชาราษฎร์ไม่รู้จักทำกิน และพระเจ้าอู่ทองว่า จงให้สำเภาเข้ามาจะจัดให้ออกไป"

การที่พงศาวดารจีนบันทึกไว้ว่า ชาวเมืองหลังยะเสี่ยว (หรือลังกาสุกะ) รู้จักการทำนาเกลือใช้ และไม่มีหัวเมืองใด ในภาคใต้ รู้จักการทำนาเกลือ นอกจากชาวเมืองปัตตานีเท่านั้น ย่อมเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า เมืองปัตตานีน่าจะเป็นที่ตั้งเมืองลังกาสุกะได้

ปัจจุบัน การทำนาเกลือ ของชาวเมืองปัตตานี ก็ยังคงได้รับการสืบทอด เป็นอาชีพของชาวบ้านตำบลตันหยงลุโละ ท้องที่อำเภอเมืองปัตตานี

เมืองลังกาสุกะและเมืองตามพรลึงค์ หรือเมืองนครศรีธรรมราช เป็นบ้านเมืองในยุคเดียวกัน เมืองทั้งสองเคยมีความเจริญรุ่งเรือง และประสบ ภัยพิบัติ จากสงคราม จนต้องตกเป็นเมืองขึ้น ของอาณาจักรศรีวิชัย และของพระเจ้าราเชนทร์ แห่งโจฬะประเทศมาแล้วด้วยกัน เมืองทั้งสอง จึงมีวัฒนธรรม ร่วมกัน หลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งในด้านศาสนา ความเชื่อ โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา ก่อนที่ จะรับ ลัทธิ ลังกาวงศ์ เมืองนครศรีธรรมราชมีพระเจดีย์ที่มีรูปลักษณะและนามใช้เรียกขานเช่นเดียวกัน ดังปรากฏ หลักฐาน อยู่ในตำนาน พระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ตอนหนึ่งว่า "พระยาศรีธรรมโศกราช ดำริในพระทัยว่า ตัวเรานี้ได้สร้างพระเจดีย์วิหาร และก่อพระพุทธรูป ปลูกไม้พระศรีมหาโพธิ์ และได้ยกพระมาลิกะเจดีย์ที่เมืองอินทปัต และทำประตู ๒ ประตู จ้างคนทำวันละพันตำลึงทอง และพระบรรทม องค์หนึ่ง ทำด้วยสัมฤทธิ์ยาว ๔ เส้น พระเจดีย์สูงสุดหมอก อิฐยาว ๕ วา หนาวา ๑ พระระเบียงสูง ๑๕ วา ระเบียงสูงเส้น ๑ หน้าเสา ๙ ศอก แปย่อมหิน พระนั่งย่อมสัมฤทธิ์ สูงองค์ละ ๑๕ วา ตะกั่วดาด ท้องพระระเบียงหนา ๖ นิ้ว บนปรางกว้าง ๒ เส้น แม่กะไดเหล็กใหญ่ ๔ กำ ลูก ๓ กำ ขึ้นถึงปรางบน หงษ์ทอง ๔ ตัว ย่อมทองเนื้อ แล้วมาทำมาลิกะเจดีย์ ปลูกพระศรีมหาโพธิ์ และจำเริญ พระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช"

คำ "พระมาลิกะเจดีย์" ของเมืองนครศรีธรรมราชนี้ เป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของเมืองปัตตานีในอดีตคือ เมืองโกตามหลิฆัย (โกตา = เมือง หรือ ป้อมปราการ มลิฆัย (maligei) = เจดีย์หรือปราสาทราชวัง) เป็นคำยกย่อง สรรเสริญ บ้านเมือง สมัยนั้นว่า เจริญรุ่งเรือง ด้วยศิลปะ สถาปัตยกรรม ทางการสร้างสรรค์พระมหาเจดีย์ และปราสาทราชวัง ดุจดังที่ศรีปราชญ์ กล่าวไว้ในโคลง ที่ท่านเขียนขึ้น เพื่อเชิดชูเกียรติ กรุงศรีอยุธยาว่า

อยุธยายศยิ่งฟ้า ลงดิน แลฤา

อำนาจบุญเพรงพระ ก่อเกื้อ

เจดีย์ละอออินทร์ ปราสาท

ในทาบทองแล้วเนื้อ นอกโสม

คำ มลิกะ นั้น ทางปัตตานีเรียก Maligai (มะลิไฆ) เป็นภาษาทมิฬ เข้าใจว่าปัตตานีสมัยลังกาสุกะรับมาจากอินเดียใต้ สมัยที่ พระเจ้าราเชนทร์ เข้ามายึดครองเมืองลังกาสุกะและเมืองตามพรลึงค์ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ ทางเชิงช่างศิลปไทย เรียกเจดีย์มะลิกะ หรือเจดีย์มะลิไฆ ว่า ทรง ฉัตราวาลี พระเจดีย์แบบนี้ นอกจากจะมีการสร้างขึ้นที่เมืองลังกาสุกะและเมืองตามพรลึงค์ (นครศรีธรรมราช) แล้ว ปรากฏว่ายังมีอยู่ที่เกาะสุมาตราตอนกลางที่มัวราตากุสอีกด้วย ซึ่งต่างก็รับอิทธิพลมาจากรูปแบบการช่างของอินเดียใต้

พระมาลิกะเจดีย์ของเมืองนครศรีธรรมราช มีผู้สันนิษฐานว่า เมื่อพระเจ้าศรีธรรมโศกราช รับเอา พระพุทธศาสนา แบบลังกาวงศ์ ในราว พุทธศตวรรษ ที่ ๑๗-๑๘ ก็ได้สร้างพระมหาธาตุเจดีย์องค์ปัจจุบันครอบคลุมมาลิกะเจดีย์องค์เดิมไว้ (สาสน์สมเด็จ ฉบับวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๘)

ที่เมืองลังกาสุกะ (อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี) ปัจจุบันยังคงร่องรอยรากฐานเจดีย์น้อยใหญ่หลายองค์ ในท้องที่ตำบลยะรัง ตำบลวัด และพบเจดีย์ดินเผาจำลอง (แบบมาลิกะเจดีย์) ในบริเวณเมืองโบราณแห่งนี้อีกเป็นจำนวนมาก

จากการสำรวจแหล่งชุมชนโบราณในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ บ้านโคกอิฐ ตำบลพะร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส บริเวณ สนามบิน และวัดคูหาภิมุข จังหวัดยะลา บ้านป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ซึ่งตำนานเมืองไทรบุรี-ปัตตานี ระบุว่า เคยเป็นที่ตั้ง เมืองปัตตานี มาครั้งหนึ่ง แหล่งชุมชนดังกล่าวปรากฏว่า มีซากโบราณวัตถุสถานน้อยกว่าบริเวณชุมชนในท้องที่อำเภอยะรัง โดยเฉพาะ ในเขต ท้องที่ตำบลยะรัง ตำบลวัด ตำบลปิตุมุดี และใกล้เคียงในพื้นที่ ๕ ตารางกิโลเมตร มีโบราณวัตถุ สถาน อันมี คุณค่า ทาง ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีที่พบแล้ว ดังนี้

โบราณสถาน ได้แก่ ฐานเจดีย์และเนินดิน ประกอบด้วยอิฐที่มีลักษณะแบบอิฐสมัยทวารวดี ศรีวิชัย สลักหักพัง กระจายอยู่ ในท้องที่ บ้านประแว บ้านใหม่ บ้านวัด บ้านปิตุมุดี มากกว่า ๓๐ เนิน เฉพาะบริเวณเนินดินขนาดใหญ่ที่บ้านวัด พบธรณีประตู ธรณีหน้าต่าง ทำด้วยศิลาสีขาว ๑๐ กว่าชิ้น สันนิษฐานว่า เนินดินแห่งนี้คงเป็นที่ตั้งโบราณสถานที่สำคัญของเมือง และเนินดิน ที่ตั้งอยู่ ด้านตรงกันข้าม พระภิกษุวัดสุขาวดีเคยทำการขุดมาแล้ว ปรากฏว่าเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ พบผนังอิฐ ก่อลึกลงไป ใต้พื้นดิน ประมาณ ๒ เมตร ปัจจุบันเจ้าของที่ดินได้กลบหลุมที่ขุดทิ้งไว้ ปลูกต้นเงาะขึ้นปกคลุมหมดแล้ว คงเห็นแต่ ฐานเจดีย์ ปรากฏอยู่ ฐานพระเจดีย์องค์นี้ หากได้มีการขุดแต่งดินใหม่แล้ว คงจะได้ทราบ รูปแบบ องค์พระเจดีย์ ว่าอยู่ใน ลักษณะ รูปแบบ เจดีย์โบราณ สมัยใด อันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาตีความด้านอายุของเมืองโบราณแห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง

โบราณวัตถุ พบพระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดีประทับยืน ปางประทานพร ๑ องค์ และปางอาหูยมุทรา (ปางกวักพระหัตถ์) อีก ๑ องค์ สูงขนาด ๖๐ เซนติเมตร ชาวบ้านพบที่บริเวณทุ่งนาบ้านกำปงบารู ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่วัดป่าศรี อำเภอยะหริ่ง และ วัดตานีนรสโมสร วัดละ ๑ องค์

พระพุทธรูปนูนต่ำ แกะในแผ่นศิลาแดงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ๖ นิ้ว เป็นรูปพระโพธิสัตว์ อมิตาภะ พุทธเจ้า พบอยู่ในซาก องค์พระเจดีย์ ที่บ้านกำปงบารู ตำบลยะรัง

ธรรมจักรศิลา สูง ๑๓ เซนติเมตร วงล้อกว้าง ๒๖ เซนติเมตร มีกงล้อ ๘ อัน ไม่มีลวดลายแกะสลักประดับตกแต่งวงล้อ ปัจจุบัน เก็บรักษาอยู่ที่วัดตานีนรสโมสร อำเภอเมืองปัตตานี

กุฑุ หรือ ซุ้มเรือนแก้ว ทำด้วยปูนปั้นผสมกรวดทราย มีลวดลายดอกไม้แบบศิลปอมรวดี คล้ายรูปจำหลักศิลาที่นาคารซุนกอนดา ประเทศอินเดีย และชิ้นส่วนปูนปั้นซึ่งเป็นส่วนประกอบสถาปัตยกรรม แต่ละชิ้นมีความกว้าง-ยาว ขนาดแผ่นอิฐ มีลวดลาย บัวคว่ำ และลายหน้ากระดาน ศิลปะสมัยคุปตะเป็นจำนวนมาก สันนิษฐานว่า เป็นส่วนประกอบ ของสถูป ที่ถูกทำลาย หรือปรักหักพังลง เพราะความเสื่อมสภาพของวัตถุ ที่ถูกฝนและอากาศชื้นกัดกร่อนมานานปี ชิ้นส่วนปูนปั้นเหล่านี้ พบในสวน ทุเรียนใกล้บ้านปอชัน ตำบลปิตุมุดี ปัจจุบันมอบให้ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดสงขลาเก็บรักษาไว้

สถูปดินเผาจำลอง พบเป็นจำนวนมากอยู่ในซากองค์พระเจดีย์ ที่บ้านกำปงบารู ตำบลยะรัง มีหลายขนาดหลายรูปแบบ อาทิ ทรงฉัตรวาลี ที่ปัตตานีและชวาเรียกแบบอย่างชาวทมิฬว่า จันฑิมะลิฆัย หรือมะลิกะเจดีย์ ตามตำนาน พระธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช และทรงกมลมีลวดลายหน้ากระดานโดยรอบองค์สถูป น. ณ ปากน้ำ นักประวัติศาสตร์ ศิลปะ ของเมืองไทย กล่าวว่า "เป็นสถูปเก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบมาในเอเซียอาคเนย์ เหมือนสถูปแบบคุปตะที่กุสินาราและที่สารนาถ" (วารสารเมืองโบราณ ธันวาคม ๒๕๒๑ เรื่อง ศิลปะแบบทวารวดีที่ปัตตานี)

ศิวลึงค์ รูปสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ มีลักษณะใกล้เคียงองคชาติมาก ส่วนยอดเป็นรูปกลมเหมือนของจริง เรียกว่า "รุทธภาค" ท่อนกลางเป็นรูปเหลี่ยม ๘ เหลี่ยม เรียกว่า "วิษณุภาค" ฐานล่างทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เรียกว่า "พรหมภาค" สูง ๔๔ เซนติเมตร พบที่กูโบ หรือสุสานบ้านยะรัง ชาวบ้านนำไปใช้แทน "แนแซ" หรือ หินเครื่องหมายเหนือหลุมศพตามประเพณีของชาวมุสลิม องค์ที่ ๒ วิทยาลัยครูยะลาเป็นผู้นำไปเก็บรักษาไว้ องค์ที่ ๓ มีขนาดย่อมกว่า พบที่บ้านป่าศรี พระภิกษุวัดป่าศรี มอบให้เอกชน ไม่ทราบนาม และสถานที่อยู่ชัดเจน ทราบเพียงว่าเป็นชาวบ้านฝั่งธนบุรี

แม่พิมพ์ต่างหู ใช้สำหรับหลอมต่างหูด้วยโลหะ เช่น สำริด หรือตะกั่ว ทำด้วยศิลาสีดำ และศิลาสีแดง รวม ๒ พิมพ์ เป็นรูป สี่เหลี่ยม จัตุรัสขนาด ๑๒ x ๒ เซนติเมตร แม่พิมพ์สีแดงพบภายในกำแพงเมืองโบราณบ้านประแว ตำบลยะรัง ลักษณะ รูปแบบ ของแม่พิมพ์ คล้ายกับแม่พิมพ์ต่างหู ที่พบที่เมืองออกแก้ว ประเทศเวียดนาม เมืองโบราณที่อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองโบราณจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ปัจจุบัน มอบให้ศูนย์ศึกษา เกี่ยวกับ ภาคใต้ เก็บรักษาไว้

โยนีโธรณ ทำด้วยศิลา สัญญลักษณ์แทนองค์พระอุมา เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๘๐ เซนติเมตร ยาว ๑ เมตรเศษ ที่กึ่งกลาง เจาะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาด ๖ x ๖ สำหรับวางองค์ศิวะลึงค์ และเซาะร่องรอยริมขอบแผ่นโยนีโธรณ พบในสวน ชาวบ้าน ตำบลวัด ขณะขุดหลุมปลูกแตงกวา ชาวบ้านเรียก "ตาเปาะฆาเยาะ" (รอยเท้าช้าง) ได้มอบให้ พิพิธภัณฑ์ สถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา นำไปเก็บรักษาไว้

แท่นหินบดยา รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฐานสี่เหลี่ยมสูง ๑๓ เซนติเมตร กว้าง ๒๒ เซนติเมตร ยาว ๔๕ เซนติเมตร พบที่บ้านต้นทุเรียน ตำบลยะรัง ๒ แท่น และที่บ้านตามางัน ๑ แท่น ชาวบ้านเรียก "ลือชงยาวอ" (ครกชวา) ส่วนลูกกลิ้งหินบด พบเพียง ส่วนชำรุด รูปลักษณะ คล้ายหินบดที่พบตามเมืองโบราณในภาคกลางดังที่กล่าวมาแล้ว

พระสุริยเทพ ทำด้วยสำริดขนาด ๒๐.๓๐ x ๑๐.๓๐ เซนติเมตร ประทับยืนเหนือแท่นปทุมอาสน์ บนราชรถเทียมด้วยม้า ๗ ม้า มีพระอรุณเทพ ทำหน้าที่สารถี นั่งบังคับม้ามาด้านหน้า ด้านข้างประกอบเทพบริวาร ๔ องค์ คือ ทัณฑีเทพ ปิงคละเทพ และ เทพธิดา มีนามว่า ปรัตยุตาเทพีและอุษาเทพี นั่งมาในราชรถ พบที่บริเวณบ้านกูวิง ปัจจุบันตกไปเป็นสมบัติของเอกชน (พระสุริยะสำริด พบที่เมืองโบราณอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี โดยผาสุข อินทราวุธ วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาคปลายปีการศึกษา ๒๕๒๙)

นอกจากนี้ยังพบเทวรูปนารายณ์ และชิ้นส่วนของนางตารา ทำด้วยสำริดที่ใกล้บริเวณบ้านเกาะหวาย ตำบลวัด ชาวบ้านเรียก พื้นที่ พบโบราณวัตถุนี้ว่า "วะสมิง" (วัดสามี) ปัจจุบันพระภิกษุรูปหนึ่งนำไปหล่อพระพุทธรูปแล้ว

โบราณวัตถุสถาน และเรื่องราวในจดหมายเหตุของชนชาติต่างๆ ที่กล่าวแล้ว แสดงว่า บริเวณเมืองโบราณ ในท้องที่ตำบลยะรัง ตำบลวัด ตำบลปิตุมุดี อำเภอยะรัง ในอดีตน่าจะเป็นศูนย์กลางของที่ตั้งเมืองลังกาสุกะ มิฉะนั้นคงจะไม่ปรากฏซากโบราณ และชิ้นส่วน โบราณวัตถุ ที่มีอายุไม่น้อยกว่าปีพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ ขึ้นไป โดยเฉพาะซากโบราณสถานและโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาพุทธ สาสนาพราหมณ์นั้น เมื่อชาวเมืองเปลี่ยนจากการนับถือศาสนาพุทธ มารับศาสนาอิสลามในระหว่างปี พ.ศ.๒๐๑๒ ถึงปี พ.ศ.๒๐๕๗ แล้วนั้น น่าจะถูกทำลาย หรือ นำไปจำหน่าย แลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นๆ จนหมดสิ้น เฉพาะโบราณวัตถุจำพวกสำริด ซึ่งเป็นของมีค่าและหายากในท้องถิ่น จึงคงมีเหลือ อยู่น้อยมาก

เมืองโบราณบนแหลมมลายู ที่ปรากฏชื่ออยู่ในศิลาจารึกและจดหมายเหตุชาวจีน อินเดีย และชวา ได้แก่

จารึกเมืองตันโจ ของพระเจ้าราเชนทร์ ระหว่างปี พ.ศ.๑๕๗๓-๑๕๗๔ มีชื่อเมือง ที่ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออก ของแหลมมลายู ที่พระองค์ อ้างว่า ได้ส่งกองทัพเรือมายึดครองไว้ได้นานถึง ๒๐ ปี คือ เมืองไอลังคโสกะ (ลังกาสุกะ) เมืองตามพรลึงค์ (นครศรีธรรมราช)

หนังสือ จู-ฝาน-ชี ของเจาจูกัว ก็ได้เขียนเล่าเรื่องมืองขึ้นของอาณาจักรศรีวิชัยไว้ว่า ในปี พ.ศ.๑๗๖๘ ศรีวิชัยมีเมืองขึ้น ๑๕ เมือง เฉพาะที่ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแหลมมลายู ได้แก่ ปอง-ฟอง (ปาหัง) เต็งยานอง (ตรังกานู) หลังยาสิเกีย (ลังกาสุกะ) กิลันตัน (กลันตัน) ตันมาหลิง (นครศรีธรรมราช)

หนังสือ เนเกอราเกอรตาคามา ของพระปัญจา นักบวชในลัทธิศิวพุทธแห่งราชอาณาจักรมัชฌปาหิต แต่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๘ ก็อ้างว่ากองทัพเรือของชวา สามารถเข้ายึดครองเมืองต่างๆ บนแหลมมลายูไว้ได้ คือ ปาหัง ตรังกานู กลันตัน และลังกาสุกะ ในปี พ.ศ.๑๘๓๕

จากเอกสารดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ไม่มีชื่อเมืองปัตตานีอยู่เลย ตามประวัติศาสตร์เมืองปัตตานี ฉบับของนายหะยีหวันอาซัน กล่าวว่า เมืองปัตตานี เพิ่งสร้างขึ้นในสมัยของพยาอินทิรา ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๑๒ ถึงปี พ.ศ.๒๐๕๗ มีนามว่า "ปัตตานีดารัสสลาม" (นครแห่งสันติ)

คำ ปัตตานี นี้ เลือนมาจากคำในภาษาสันสกฤต คือ "ปตฺตน" แปลว่า "กรุง, ธานี, นคร, เมือง" ดังจะเห็นได้จากชื่อเมืองหนึ่งของอินเดียภาคใต้ ถิ่นฐานของโจฬะ ที่เคยมายึดครองเมืองลังกาสุกะ คือ เมือง "นาคปตฺตน"

สาเหตุที่พญาอินทิรา ย้ายเมืองโกตามหลิฆัยหรือลังกาสุกะ มาสร้างเมืองปัตตานีขึ้นใหม่ ณ บริเวณสันทราย ตำบลตันหยงลุโละ ตำบลบานา ท้องที่อำเภอเมืองปัตตานีในปัจจุบัน จะนำมากล่าวในตอนหลัง

ดังนั้น ชื่อของเมืองลังกาสุกะ จึงไม่ปรากฏในเอกสารของชนชาติต่างๆ ที่เดินทางเข้ามาค้าขายในแหลมมลายู หลังจากปี พ.ศ.๒๐๕๔ แต่ปรากฏ ชื่อเมืองปัตตานี หรือตานี ขึ้นมาแทนที่ ดังจะเห็นได้จากเอกสารของพวกพ่อค้าชาวโปรตุเกส ฮอลันดา และอังกฤษ แม่แต่เอกสาร ชาวจีน ระยะหลัง เช่น เรื่องอาณาจักรทางทะเลของปิงหนาน ก็ได้กล่าวถึงเมืองปัตตานีว่า

อาณาจักรต้าหนี "ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสงขลา การเดินทางจากสงขลาทางบกใช้เวลา ๕-๖ วัน ทางน้ำ โดยลมมรสุม ประมาณวันเศษก็ถึง ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาทอดเป็นแนวยาวติดต่อกัน อาณาเขตหลายร้อยลี้ จารีตประเพณี และทรัพยากร มีความคล้ายคลึง กับสงขลา ประชากรมีจำนวนน้อย แต่อุปนิสัยดุร้าย ภูเขาที่นี่มีทองคำมาก อาณาจักรนี้ขึ้นกับสยาม แต่ละปี ต้องถวาย เครื่องราชบรรณาการด้วยทองคำ ๓๐ ชั่ง"

เรื่องราวของราชฑูต กษัตริย์เมืองลังกาสุกะ ต่อจากรัชสมัยพระเจ้าภัคทัตต์ ปรากฏในจดหมายเหตุจีนต่อมาว่า ในปี พ.ศ.๑๐๖๖-๑๐๗๔ และ พ.ศ.๑๑๑๑ กษัตริย์ลังกาสุกะ ได้ส่งฑูตไปสู่ราชสำนักจีนอีก แต่จีนก็มิได้ให้รายละเอียดอย่างเช่นคราวราชฑูตอชิตะ

ครั้นถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ รัฐลังกาสุกะก็เริ่มเสื่อมอำนาจลง จนกระทั่ง ตกไปเป็นเมืองขึ้น ของกษัตริย์กรุงศรีวิชัย และกษัตริย์โจฬะ แห่งอินเดียใต้ ดังปรากฏหลักฐานจารึกที่เมืองตันจอร์ ระหว่างปี พ.ศ.๑๕๗๓-๑๕๙๕ กล่าวว่า

"พระเจ้าราเชนทร์ส่งทัพเรือไปกลางทะเล และจับพระเจ้าสังกรมวิชยค์ตุงคะวรมันกษัตริย์ แห่งคะดะรัม (เกดาห์) และยึดได้ รัฐปันนาย ที่มีน้ำเต็มเปี่ยม ในอ่างเก็บน้ำ รัฐมลายูโบราณที่มีภูเขาเป็นป้อมปราการล้อมรอบ รัฐมะยิรูดิงคัม ซึ่งล้อมรอบ ไปด้วยทะเล จนดูประหนึ่ง เป็นคูเมือง รัฐไอลังคโสกะ (ลังกาสุกะ) ซึ่งเก่งกล้าในการรบ เมืองบัปปะปะลัม (ปาเล็มบัง) ที่มีน้ำลึกเป็นแนวป้องกัน เมืองเมวิลิมบันกัม ที่มีกำแพงเมือง สง่างาม เมืองวาไลยคุรุที่มีวิไลยพันคุรุ เมืองดาไลยตักโคลัมที่ได้รับการสรรเสริญจากคนสำคัญๆ ว่าเชี่ยวชาญ ทางวิทยาการ รัฐตามพรลึงค์ (นครศรีธรรมราช) ที่ใหญ่ยิ่งสามารถในการรบ เมืองอิลามุรีเดแอมที่ดุเดือดในการรบ เมืองนักกะวารัม ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งมีสวนใหญ่โต มีน้ำผึ้งมาก"

หลังจากตีเมืองเหล่านี้ได้แล้ว พระเจ้าราเชนทร์โจฬะ ได้ส่งกองทหารเข้ามายึดครองหัวเมืองในแหลมไทย-มลายูไว้เป็นเวลา ๒๐ ปี ต่อมารัฐศรีวิชัยผู้มีกำลังนาวิกภาพเข้มแข็งก็ได้มาผนวกเอารัฐลังกาสุกะเข้าไปไว้ในอำนาจของตน พร้อมด้วยรัฐต่างๆ อีก ๑๕ รัฐ ตามที่ชาวจีน ชื่อ เจาจูกัว เขียนเล่าไว้ในหนังสือชูผันจิ ดังต่อไปนี้ คือ

๑. รัฐ เป็ง-โพ็ง (ปอง-ฟอง หรือ ปาหัง?)

๒. รัฐ เต็ง-ยา-น็อง (ตรังกานู?)

๓. รัฐ ลิง-ยา-ลิงเกีย (ลังกาสุกะ)

๔. รัฐ กิ-ลัน-ตัน (กลันตัน)

๕. รัฐ โฟ-โล-ตัน

๖. รัฐ ยิ-โล-ติง

๗. รัฐ เซียม-มาย

๘. รัฐ ปะ-ตา

๙. รัฐ ตัม-มา-หลิง (นครศรีธรรมราช)

๑๐. รัฐ เกีย-โล-หิ (ครหิ-ไชยา)

๑๑. รัฐ ปา-ลิ-ฟอง (ปาเล็มปัง)

๑๒. รัฐ สิน-โค (สุนดาในเกาะชวา)

๑๓. รัฐ เกียน-ปาย

๑๔. รัฐ ลัน-วู-ลิ (ลามูริในเกาะสุมาตรา)

๑๕. รัฐ ซี-ลัน (ซีลอนหรือลังกา)

ต่อมาราชอาณาจักรศรีวิชัยได้แตกสลายตัวลง ดี.จี.อี.ฮอลล์ว่า เนื่องจากถูก "พวกไทย ทางแม่น้ำ เจ้าพระยา ฝ่ายเหนือ และอาณาจักร สิงหัดส่าหรี ในชะวาตะวันตกอีกฝ่ายหนึ่ง" โจมตี ทำให้อิทธิพลของกษัตริย์ศรีวิชัยบนแหลมไทย-มลายูต้องเสื่อมอำนาจลง ประการสุดท้าย เกิดจากชาวจีน มีความรู้ ในเรื่องการเดินเรือ และการต่อเรือสำเภาที่มีคุณภาพดี สามารถออกทำการค้าขายกับเมืองต่างๆ ตามหมู่เกาะชวา และติดต่อขายกับพ่อค้าอาหรับ เปอร์เซีย และอินเดียโดยตรง ไม่ต้องผ่านเมืองท่าที่อยู่ในอาณัติของศรีวิชัย ซึ่งเคยเป็น ศูนย์กลางค้า ระหว่าง โลกตะวันตก กับโลกตะวันออก อีกต่อไป ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจของศรีวิชัยต้องทะลายลง

อาณาจักรสิงหัดสาหรี ตั้งอยู่ได้ไม่นาน ก็ถูกเจ้าชายจายากัตวัง แห่งแคว้นเคดิรี ลอบเข้ามา โจมตี นครหลวง ในขณะที่ พระเจ้า เกอรตานาการา กำลังประกอบพิธีบูชาศิวะพุทธเจ้า เจ้าชายวิชายา ราชบุตรเขย ซึ่งยอมจำนนต่อเจ้าชายจายากัตวัง และได้รับ การแต่งตั้ง ให้ไปปกครองดินแดนในแถบลุ่มน้ำ Brantas ได้รวบรวมกำลังขึ้นต่อสู้กู้เอกราชกลับคืนมาได้ และได้จัดตั้ง อาณาจักร มัชฌปาหิต ขึ้นในปี พุทธศักราช ๑๘๓๖

หนังสือเนเกอราเกอรตากามา แต่งโดยพระปัญจนักบวชในลัทธิศิวะพุทธ ได้กล่าวถึงอิทธิพลของกษัตริย์มัชฌปาหิตว่า ได้ส่ง กองทัพเรือ เข้ามา ยึดครอง ดินแดนตามหมู่เกาะ ตลอดขึ้นมาถึงปลายแหลมไทย-มลายู ยึดปาหัง เสียมวัง กลันตัน และตรังกานู ฯลฯ ซึ่งเรียกรวมๆ กันว่า ลังกาสุกะ ไว้ได้

ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ก็ได้บันทึกสนับสนุนข้อความที่พระปัญจเขียนไว้ว่า "ครั้งนั้นเจ้าเมืองชาว ยกไพร่พลมาทางเรือ มารบ เอาเมือง ชวา จับตัวพระยา ได้พระอัครมเหสี ก็ตามพระยา (นครฯ) ไปถึงเกาะอันหนึ่ง ได้ชื่อว่า เกาะนาง โดยครั้งนั้น ชวา ก็ให้ เจ้าเมือง ผูกส่วย ไข่เป็ด แก่ชวา ชวาก็ให้พระยา (นครฯ) คืนมาเป็นเจ้าเมือง" ตามเดิม

ในระยะเดียวกันนี้ อาณาจักรสุโขทัยก็ได้แผ่อำนาจเข้ามาครอบครองรัฐละโว้-อโยธยา สุพรรณภูมิ และนครศรีธรรมราช ไว้ และได้ผนวก กำลัง กันเข้าทำการขับไล่อิทธิพลของกษัตริย์มัชฌปาหิตออกไปจากแหลมไทยมลายู ดังปรากฏ หลักฐาน แสดงอาณาเขต ของ อาณาจักร สุโขทัยในครั้งนั้นไว้ในจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า "เบื้องหัวนอนรอด คนที แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งสมุทรเป็นที่แล้ว" หลักฐานจีนก็ว่า ปี ค.ศ.๑๒๙๕ (พ.ศ.๑๘๓๘) จีนส่งฑูตมาตักเตือนสุโขทัยไม่ให้รุกรานมาลิยูเออร์ (ความสัมพันธ์ระบบบรรณาการ ระหว่าง จีนกับไทย หน้า ๓๗ ของ ดร.สืบแสง พรหมบุญ มาลิยูเออร์ นี้ บางท่านว่า คือ เมืองแจมบี ในเกาะสุมาตรา)

รัฐลังกาสุกะ จึงเข้ามารวมอยู่ในพระราชอาณาจักรของชาวไทยเป็นครั้งแรก ภายใต้การควบคุมของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็น พระญาติ ของพระเจ้าขุนรามคำแหงตั้งแต่นั้นมา ดังที่โทเมบีเรส์ กล่าวว่า "ผู้เป็นใหญ่" (ในการบังคับบัญชาราชอาณาจักร) รองลงมา (จากพระเจ้าแผ่นดิน) คืออุปราชแห่งเมืองนคร เรียกกันว่า "Poyohya" (พ่ออยู่หัว) เขาเป็นผู้ว่าราชการจากปะหังถึงอยุธยา และหลักฐาน ทางจีน ก็กล่าวว่า ใน ค.ศ.๑๔๑๙ (พ.ศ.๑๙๖๒) "ขันทีหยางหมิน (Yangmin) เดินทางมาไทย พร้อมกับ อัญเชิญ คำตักเตือน ของ องค์จักรพรรดิ์ ต่อการรุกรานมะละกาของไทย"

กษัตริย์มะละกาขณะนั้น คือ เจ้าชายปรเมศวร หนังสือ Sumariental ของ Tome Pires กล่าวว่า เจ้าชาย ปรเมศวร มีเชื้อสาย มาจาก ราชวงศ์ ไศเลนทร์ แห่งเมืองปาเล็มบัง ไปได้เจ้าหญิงในราชวงศ์มัชฌปาหิตมาเป็นพระชายา ต่อมาเกิดขบถขึ้นในเมืองมัชฌปาหิต โดยเจ้าชาย วีรภูมิเป็นผู้นำ ในปี ค.ศ.๑๔๐๑ (พ.ศ.๑๙๔๔) จึงลี้ภัยการเมืองมาอาศัยเจ้าเมือง Tamasik (สิงคโปร์) ภายหลัง เจ้าชาย ปรเมศวร ได้ลอบฆ่า เจ้าเมือง Tammasik เจ้าเมืองปัตตานีซึ่งเป็นพระญาติกับเจ้าเมือง Tammasik ได้ขับไล่ปรเมศวรออกไปจากเมือง Tammasik ปรเมศวรจึงหนีมาตั้งเมืองมะละกาขึ้นในปี ค.ศ.๑๔๐๓ (พ.ศ.๑๙๔๖)

ต่อมา เจ้าชายปรเมศวรได้อภิเษกสมรสกับพระธิดาเจ้าเมืองปาไซในเกาะสุมาตราที่นับถือศาสนาอิสลาม ปรเมศวร จึงเลื่อน จากการ นับถือ ศาสนาฮินดู (ศิวะพุทธ) มาเป็นศาสนาอิสลาม และได้เฉลิมพระนามตามหลักการของศาสนาอิสลามมีนามว่า เมกัตอิสกานเดอร์ชาฮ์

เจ้าชายปรเมศวรต้องเดินทางไปเฝ้าจักรพรรดิ์จีน เพื่อขอให้จีนช่วยเจรจาห้ามปรามกษัตริย์ไทย ทำการรุกราน มะละกา ซึ่งฝ่ายไทยถือว่า ดินแดนมะละกา อยู่ในความปกครองของไทยมาก่อน ดังปรากฏหลักฐานอยู่ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศว่า "ครั้งนั้น พระยา ประเทศราชขึ้น ๑๖ เมือง คือ เมืองมะละกา เมืองชวา เมืองตะนาวศรี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองทวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลำเลิง เมืองสงขลา เมืองจันทบูร เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองพิจิตร เมืองกำแพงเพชร เมืองนครสวรรค์" และในกฎ มณเฑียรบาล ประมาณว่าเขียนในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราวปี พ.ศ.๑๙๐๓ หรือ ๑๙๙๐ ก็ว่า "กษัตริย์ แต่ได้ถวายดอกไม้ทองเงินนั้น เมืองใต้ เมืองอุยงตาหนะ (หรือฮุยงเมทนี ยะโฮร์ และสิงคโปร์) เมืองมะละกา เมืองมลายู เมืองวรวารี (ไทรบุรี) ๔ เมืองถวายดอกไม้ทองเงิน"

พ.ศ.๑๘๖๖ อาณาจักรสุโขทัยหลังจากพ่อขุนรามคำแหงสิ้นพระชนม์ (พ.ศ.๑๘๔๓) แล้ว กษัตริย์องค์ต่อ ๆ มา ไม่สามารถ ดำรงความเป็น ผู้นำ ไว้ได้ พระบรมราชากษัตริย์แห่งรัฐละโว้ อโยธยา ทรงปฏิเสธต่ออำนาจอาณาจักรสุโขทัย ได้เข้ายึดครอง เมืองนครศรีธรรมราช ตลอดไปจนถึงหัวเมืองต่างๆ บนแหลมมลายู ดังปรากฏหลักฐานอยู่ในตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ความว่า "เมื่อท้าวอู่ทอง กับท้าวศรีธรรมโศกราช จะเป็นไมตรีกันนั้น ท้าวอู่ทองขึ้นบนแท่นแล้ว พระยาศรีธรรมโศกจะขึ้นไปมิได้ ท้าวอู่ทอง ก็จูงพระกร ขึ้นมงกุฎ ของพระเจ้าศรีธรรมโศก ตกจากพระเศียร แล้วท้าวศรีธรรมโศกสัญญาว่า เมื่อตัวพระองค์ กับพระอนุชา ของพระองค์ ยังอยู่ ให้เป็นทอง แผ่นเดียวกัน ถ้าท้าวอู่ทองต้องประสงค์สิ่งใดจะจัดแจงให้นานไปเบื้องหน้าให้มาขึ้นกรุงศรีอยุธยา"

ชาวจีนชื่อ หวังต้าหยวน ก็ได้บันทึกไว้ในปี ค.ศ.๑๓๔๙ (พ.ศ.๑๘๙๒) ว่า เสียน (สยาม) โจมตี Tammasik (สิงคโปร์) ซึ่ง "เสียน" ในที่นี่หมายถึง อาณาจักรละโว้-อโยธยา ของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง

ครั้นถึงปี พ.ศ.๑๘๘๕ กษัตริย์ละโว้-อโยธยา ก็ส่งพระพนมวัง-นางสะเดียงทอง ออกมาปกครองเมืองนครศรีธรรมราช พระพนมวัง ได้สร้างเมืองนครดอนพระ (อำเภอกาญจนดิษฐ์) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นเป็นศูนย์การปกครองอยู่ชั่วคราว ต่อมาราวปีพุทธศักราช ๑๘๘๗ พระพนมวังแต่งตั้งให้พระฤทธิเทวา (เจสุตตรา) ออกไปครองเมืองปัตตานี หนังสือสยาเราะห์เมืองปัตตานี เรียกชื่อเมืองปัตตานีสมัยนั้นว่า "เมืองโกตามหลิฆัย" ส่วนหนังสือเนเกอรราเกอราคามา เรียกว่า "ลังกาสุกะ" ประวัติศาสตร์เมืองปัตตานีกล่าวต่อไปว่า พระฤทธิเทวา (พระเปตามไหยกาของพญาอินทิรา) ได้นำชาวเมืองโกตามหลิฆัย ไปช่วยพระเจ้าอู่ทอง (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สร้างพระนคร ศรีอยุธยา ระหว่างปี พ.ศ.๑๘๙๐ - ๑๘๙๓)

พระฤทธิ์เทวา (เจสุตตรา) ครองเมืองโกตามหลิฆัยอยู่จนถึงปี พ.ศ.๑๙๒๗ ก็สิ้นพระชนม์ รวมเป็นระยะเวลาที่ครองราชย์อยู่ ๔๐ ปี กษัตริย์องค์ต่อไป ไม่ปรากฏนามชัดเจน ประวัติศาสตร์เมืองปัตตานีระบุเพียงว่าเป็นสมเด็จพระอัยกาของพญาอินทิรา ครองราชย์ อยู่ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๒๗ - ๑๙๖๗ เป็นเวลา ๔๐ ปี พระโอรสมีนามว่าพญาตุกูรุปมหาจันทรา ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๖๗ - ๒๐๑๒ รวม ๔๕ ปี พญาอินทิราราชโอรสก็ได้ขึ้นครองนครโกตามหลิฆัยเป็นองค์สุดท้าย ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๑๒ - ๒๐๕๗ รวม ๔๕ ปี

ในรัชสมัยของพญาอินทิรา ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ได้แก่ การเข้ารีตรับศาสนาอิสลามของพญาอินทิรา ประวัติศาสตร์ เมืองปัตตานี กล่าวถึงสาเหตุ ที่พญาอินทิรา ต้องเปลี่ยนจากการนับถือพระพุทธศาสนา มานับถือศาสนาอิสลามว่า เนื่องจากพระองค์ ทรงประชวร ด้วยโรคผิวหนัง (น่าจะเป็นโรคเรื้อน) นายแพทย์ซึ่งเป็นมุสลิม ชื่อ เช็คสอิด (หนังสือสยาเราะห์เกอรจาอันมลายูปัตตานี ของ อิบรอฮิม ซุกรี เรียก "เช็กซาฟานุคดีน") (น่าจะเป็นชาวเมืองปาไซในเกาะสุมาตรา) ซึ่งเข้ามาตั้งนิวาสสถานอยู่ ณ หมู่บ้านปาไซ (บ้านป่าศรี ในท้องที่ อำเภอยะหริ่ง) ได้รับอาสาถวายการพยาบาล โดยมีเงื่อนไขว่า หากพระองค์ได้รับการรักษาจนหายจากโรคแล้ว ขอให้พญาอินทิรา ทรงเปลี่ยนจากการเป็นพุทธมามกะมาเป็นอิสลามิก ซึ่งต่อมา พระองค์ก็ได้รับการพยาบาลจากนายแพทย์เช็คสอิด จนโรคผิวหนังนั้น หายขาดสนิท และทรงปฏิบัติตามสัญญา ที่ให้ไว้แก่นายแพทย์เช็คสอิด ด้วยการเข้ารับศาสนาอิสลาม เป็นพระองค์แรก ของกษัตริย์เมือง โกตามหลิฆัย และทรงเปลี่ยนพระนามพระองค์ตามประเพณีศาสนามีนามว่า สุลต่าน อิสมาเอลชาฮ์ แต่หนังสือ สยาเราะห์ เกอรจาอัน มลายู ปัตตานี ของอิบรอฮิม ซุกรี เรียกว่า สุลต่านมูฮัมหมัดชาฮ์

ดี.จี.อี. ฮอลล์ กล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เล่ม ๑ ว่า "รัฐปัตตานีก็เปลี่ยนศาสนาเพราะมะละกา" สาเหตุเพราะ มะละกา โกรธแค้นไทย ที่เคยไปโจมตีมะละกา สุลต่านมุซัฟฟาร์ชาฮ์ จึงส่งกองทัพมาตีหัวเมืองประเทศราชของไทย คือ ปาหัง ตรังกานู และปัตตานีไว้ได้ระยะหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๘๘ - ๒๐๐๒ ต่อมา ในสมัยของสุลต่านมันสุร์ชาฮ์ ราชโอรสของสุลต่านมุซัฟฟาร์ชาฮ์ ซึ่งครองราช ต่อจากพระราชบิดา ในปี พ.ศ.๒๐๐๒ - ๒๐๒๐ จึงยอมตกลงเป็นมิตรกับไทย ฉะนั้น หัวเมืองประเทศราชของไทย ซึ่งเคยนับถือ ศาสนาพุทธมาก่อน ได้แก่ ปาหัง ตรังกานู กลันตัน ปัตตานี และไทรบุรี ก็คงจะทำการเปลี่ยนศาสนา ในรัชสมัย ของกษัตริย์ มะละกา องค์ใดองค์หนึ่ง ที่กล่าวมาแล้ว เพราะระยะนั้น อาณาจักรมะละกามีอำนาจทางการเมืองเข้มแข็งมาก และยังทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลาง การเผยแพร่ศาสนาอิสลามอีกด้วย อนึ่ง ระยะเวลาที่พญาอินทิรา เจ้าเมืองปัตตานี ผู้เปลี่ยนศาสนา มารับอิสลาม ครองเมืองปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๑๒ - ๒๐๕๗ นั้น ใกล้เคียงกับสมัยของสุลต่านมันสุร์ชาฮ์ มาก

คัดลอกมาจาก รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี