Blog Archive

ขับเคลื่อนโดย Blogger.
ช่วงนี้เห็นสายการบินต้นทุนต่ำแข่งกันลดราคา แล้วก้อยากไปเครื่องบินกะเขามั้ง เลยสงสับว่าเครื่องบินเข้ามาในประเทศไทยสมัยใหน เคยดูผ่านๆตามาในหนังเรื่องรักสยามเท่าฟ้าแต่จำไม่ได้เลยไปลองค้นมาก้เจอ
การบินเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่สมัยที่เรายังใช้ช้างเป็นพาหนะ สำคัญในการขนส่งทางบก และมีเรือพายเรือแจวแล่นลอยเต็มลำน้ำลำคลอง ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โดยมีนักบินชาวเบลเยี่ยมคือ นายวัลเดน เบอร์น (Vanden Born) ได้นำเครื่องบินแบบออร์วิลล์ ไรท์ (Orwille Wright) มาสาธิตการบินถวายให้ทอดพระเนตร และให้ประชาชนในกรุงเทพฯ ชม เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2454 ณ สนามราชกรีฑาสโมสร ปทุมวัน นับเป็นเครื่องบินลำแรกที่บินเข้ามาในราชอาณาจักร โดย นายพลตรีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน (พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน) ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และจเรทหารช่างแห่งกองทัพบก ได้ทรงเป็นผู้โดยสารที่ขึ้นบินทดลองชุดแรก เมื่อเสร็จการแสดงแล้วได้ทรงซื้อเครืองบินนั้นไว้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และในปี พ.ศ. 2454 นั้นเอง กระทรวงกลาโหม ได้ส่งนายทหารไทย 3 นาย ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส เมืองวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 ได้แก่

นายพันตรีหลวงศักดิ์ ศัลยาวุธ (นายสุณี สุวรรณประทีป)
นายร้อยเอกหลวงอาวุธ สิขิกร (นายหลง สิน-ศุข) และ
นายร้อยโททิพย์ เกตุทัต

เมื่อนายทหารทั้ง 3 นาย จบการศึกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงให้จัดซื้อเครื่องบินบรรทุกเรือกลับมาประเทศไทย จำนวน 8 ลำ เป็นเครื่องบินที่ทางราชการซื้อ 7 ลำ และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ซื้อให้ทางราชการ 1 ลำ หลังจากนั้นได้มีการก่อตั้งแผนกการบินทหารโดยใช้สนามราชกรีฑาสโมสรเป็นสนาม บิน และสร้างโรงเก็บเครื่องบินขึ้นในบริเวณนั้น และในปี พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการก่อสร้างสนามบินดอนเมืองแล้วเสร็จ เพื่อเป็นสนามบินที่ใช้ในกิจการทหาร และได้เลื่อนฐานะแผนกการบินทหารยกขึ้นเป็นกรม และได้เคลื่อนย้ายจากสนามราชกรีฑาสโมสรไปสู่ที่ตั้งใหม่ที่ดอนเมืองจนถึงปี พ.ศ. 2491 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้เข้ามาอยู่ในการควบคุมดูแลของกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ (และในปี พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานกรุงเทพ แต่ยังคงสังกัดกองทัพอากาศอยู่) ท่าอากาศยานดอนเมืองให้เป็นสนามบินหลักของประเทศ และได้รับการพัฒนาสร้างเสริมต่อเติมมาจนกระทั่งปัจจุบัน

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น และใน พ.ศ. 2461 ไทยได้ส่งทหารอาสาเข้าร่วมการรบด้วย 300 คน ทหารอาสาของไทยได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่อการขับเครื่องบินและเลยไปถึงการสร้าง เครื่องบินจากทหารฝรั่งเศส เมื่อสิ้นสงครามโลกปรากฏว่าไทยมีนักบินที่มีคุณสมบิตครบถ้วนมากกว่า 100 คน ประชาชนชาวไทยต่างพร้อมในกันบริจาคเงินซื้อเครื่องบินให้กับทางราชการ (กระทรวงกลาโหม) ได้รับเงินบริจาคเป็นจำนวนมากจากจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยใช้ชื่อของจังหวัดที่บริจาคเงินเป็นชื่อของเครื่องบินได้เป็นจำนวนมากถึง 31 ลำ

เมื่อ พ.ศ. 2462 ได้มีการทดลองทำการบินรับส่งไปรษณีย์ระหว่างกรุงเทพฯ กับจันทบุรีด้วยเครื่องบินเบรเกต์ (Breguet XIV) ซึ่งเป็นเครื่องบินทหารที่ได้ดัดแปลงมาใช้งานขนส่งทางอากาศ นับว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้ามาสู่การบินก่อนหน้าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ การทดลองทำการบินได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ต่อมาจึงได้มีการขนส่งผู้โดยสารในเส้นทางนี้ด้วย

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2463 กรมอากาศยานทหารบกได้เปิดการบินรับส่งไปรษณีย์ระหว่างจังหวัดนครราชสีมากับ จังหวัดอุบลราชธานีขึ้น เพราะในเวลานั้นจังหวัดทั้ง 2 ยังมิได้มีการติดต่อกันโดยทางรถไฟ เส้นทางบินได้ขยายออกไปยังจังหวัดอุดรธานี และหนองคาย มีเส้นทางบินอีกสายหนึ่งไปยังจังหวัดพิษณุโลก และเพชรบูรณ์ แม้จะมีการขนส่งผู้โดยสารบ้าง แต่บริการหลักก็ยังคงเป็นไปรษณีย์และเป็นการขนส่งไปยังจังหวัดที่ยังไม่มี รถไฟเชื่อมถึง

ในปี พ.ศ. 2468 ประเทศไทยได้จัดตั้งกองบินพลเรือน กรมบัญชาการกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และจากนั้นการบินพลเรือนของประเทศได้มีหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบมาโดยตลอด

เมื่อ พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้พระราชทานทุนให้ น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการจักรกลอยู่แล้ว ไปศึกษาวิชาการบินและวิศวกรรมช่างกลต่อที่สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาในปี 2475 ก่อนเดินทางกลับเมืองไทย น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ได้ไปรับจ้างแสดงการบินผาดโผน เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม จึงได้เดินทางไปแสดงในรัฐต่าง ๆ หลายแห่ง จนกระทั่งมีเงินเหลือเก็บจึงขอซื้อเครื่องบินจากบริษัท TRAVEL AIR ในแบบเครื่องยนต์ CURTISS OX-5 90 แรงม้า ในราคา 6,000 บาท และใช้เครื่องบินนั้นบินกลับมายังประเทศไทย โดยให้ชื่อเป็นภาษาไทยว่า “นางสาวสยาม” และเป็นภาษาอังกฤษว่า “MISS SIAM” นับเป็นเครื่องบินพลเรือนลำแรกของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ 2475 น.อ. เลื่อน พงษ์โสภณ ได้ทำการบินเดี่ยวจากประเทศไทยไปยังประเทศจีนและกลับในความอุปถัมป์จาก สมาชิกสโมสรสามัคคีจีนสยาม (ชาวจีนในไทย) ได้ช่วยกันเรี่ยไรเงิน นับว่าประเทศไทยได้มีการคมนาคมทางอากาศกับประเทศจีนเป็นครั้งแรก


ที่มา: กรมการขนส่งทางอากาศ (http://www.aviation.go.th/template/history.htm)
ช่วงนี้มีหนังต่างชาติที่เข้ามาโกยเงินในไทยเยอะพอสมควร แต่จะมีใครสนใจหรือไม่ว่าผู้สร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงแห่งแรกของไทยคือใคร ถ้าไม่ได้เรียนหนังหรือสนใจเรื่องนี้จริงๆคงจะไม่รู้จักนายมานิต วสุวัต แต่เขาเป็นใครเราไปอ่านประวัติเขากันครับ
นายมานิต วสุวัต เกิดที่บ้านหน้าวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๔๐ ในรัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรของพระยาสุนทรพิมล (เผล่ วสุวัต) และคุณหญิงทิม วสุวัต มีพี่น้องร่วมกันอีก ๔ คน คือ นายศุกรี วสุวัต พี่ชาย และมีน้องชายสามคนคือ หลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต) นายกระเศียร วสุวัต และนายกระแส วสุวัต

พี่น้องตระกูลวสุวัตเหล่านี้ ล้วนเป็นผู้สนใจและคิดค้นทดลองเล่นในเรื่องการประดิษฐ์ การช่างเกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไก การถ่ายรูป การถ่ายภาพยนตร์มาตั้งแต่เยาว์วัย โดยเฉพาะนายมานิตได้สนใจคิดค้นและฝึกฝนในการเล่นกล สามารถแสดงกลโดยอาศัยเครื่องมือได้หลายชุด

เมื่อสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนราชวิทยาลัยแล้ว นายมานิตได้เข้ารับราชการในกระทรวงการคลังอยู่ระยะหนึ่ง แล้วย้ายไปทำงานที่โรงไฟฟ้าสามเสน

ในปี พ.ศ. ๒๔๕๕ นายศุกรี พี่ชายได้ตั้งโรงพิมพ์ศรีกรุงและออกหนังสือพิมพ์รายเดือน ต่อมาปี ๒๔๖๓ ได้ออกหนังสือพิมพ์รายวันสยามราษฎร์

ด้วย ความที่พี่น้องวสุวัตสนใจเครื่องยนต์กลไกมาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะภาพยนตร์ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทันสมัยอย่างหนึ่งในช่วงเวลานั้น ดังนั้นเมื่อทราบว่ากรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ พี่น้องวสุวัตจึงได้ไปติดต่อขอซื้อกล้องถ่ายภาพยนตร์ที่กรมหลวงสรรพสาตรเคย ใช้มาดัดแปลงจนใช้การได้ และได้ประเดิมทดลองถ่ายภาพยนตร์เรื่องแรกโดยนำเอาภาพถ่ายข่าวน้ำท่วมที่ เมืองซัวเถามาถ่ายเป็นภาพยนตร์ข่าวด้วยการนำกิ่งไม้มาขยับเคลื่อนไหวจนดู คล้ายเป็นภาพเคลื่อนไหวจริง ๆ เมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายที่โรงหนังนาครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๔๖๕ ปรากฎว่ามีพี่น้องชาวจีนในกรุงเทพฯสมัยนั้นแตกตื่นไปดูกันจำนวนมาก

จาก ความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่อง " น้ำท่วมเมืองซัวเถา " ทำให้พี่น้องวสุวัตลงมือทดลองถ่ายทำ ภาพยนตร์สารคดีเชิงข่าวสารสารคดีต่อมาเรื่อย ๆ โดยมีหลวงกลการเจนจิตเป็นหัวแรงสำคัญ และนายมานิตซึ่งตอนนี้ได้บริหารกิจการหนังสือพิมพ์แทนพี่ชายที่เสียชีวิต เป็นผู้ให้การสนับสนุนและร่วมงานอย่างใกล้ชิด

จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๗๐ พี่น้องวสุวัตได้หันไปทดลองสร้างภาพยนตร์บันเทิงเป็นครั้งแรกโดยร่วมกับพรรค พวกในขณะหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์และศรีกรุงก่อตั้งเป็นบริษัทสร้างภาพยนตร์ ชื่อกรุงเทพ ฯ ภาพยนตร์บริษัท สร้างภาพยนตร์เรื่อง "โชคสองชั้น "เป็นเรื่องแรก

ความสำคัญของภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่เป็นผล งานเรื่องแรกของกรุงเทพฯภาพยนตร์บริษัทเท่านั้น หากยังได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรก ที่สร้างโดยคนไทยอีกด้วย

สำหรับภาพยนตร์เรื่อง " โชคสองชั้น " นี้ นายมานิต มีบทบาทเป็นผู้อำนวยการสร้างและผู้ประดิษฐ์ศิลป์ หลวงบุณยมานพพานิช นักประพันธ์เจ้าของนามปากกาแสงทอง เป็นผู้เขียนเรื่อง หลวงกลการเจนจิตเป็นผู้ถ่าย นายกระเศียรเป็นผู้ตัดต่อ และหลวงอนุรักษ์รัถการเป็นผู้กำกับการแสดง

เมื่อภาพยนตร์เรื่อง " โชคสองชั้น " ออกฉายเป็นครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ปรากฎว่าได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจนทำให้พี่น้องวสุวัตตัดสินใจสร้าง ภาพยนตร์ต่อในช่วงปลายปีทันทีด้วยภาพยนตร์เรื่อง " ใครดีใครได้ " ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ คณะวสุวัตก็ได้สร้างภาพยนตร์เรื่องที่สามออกฉายต่อไปคือเรื่อง " ใครเปนบ้า " หลังจากนั้นพี่น้องวสุวัตและกรุงเทพฯภาพยนตร์บริษัทได้ยุติการสร้างภาพยนตร์ ลงชั่วคราวโดยหันไปทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับภาพยนตร์เสียงซึ่งเริ่มเป็นที่นิยม แทนภาพยนตร์เงียบอย่างจริงจัง จนถึงขั้นสามารถดัดแปลงประดิษฐ์เครื่องฉายและกล้องถ่ายหนังเงียบที่มีอยู่ ให้กลายเป็นเครื่องฉายและกล้องถ่ายหนังเสียงระบบเสียงในฟิล์มแบบของฝรั่ง สำเร็จพอใช้การได้เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๗๓ จากนั้นจึงได้ทดลองถ่ายทำภาพยนตร์เสียงขนาดสั้น ๆ สองเรื่อง และได้นำออกฉายที่โรงพัฒนากรในปีเดียวกัน ได้รับความสนใจตื่นเต้นในหมู่ผู้ชมเป็นอันมาก

ถึงตอนนี้นายมานิต วสุวัตมองเห็นว่ากิจการสร้างหนังไทยสามารถที่จะเจริญรุ่งเรืองขึ้นต่อไป จึงได้ลงทุนจัดตั้งกิจการสร้างภาพยนตร์บันเทิงในระบบเสียงในฟิล์มขึ้น เรียกชื่อว่าภาพยนตร์เสียงศรีกรุง โดยจัดสร้างห้องแล็บติดตั้งอุปกรณ์พร้อมมูลขึ้นที่ร้านวสุวัต ย่านสะพานขาว และหลังจากใช้เวลาติดตั้งและปรับปรุงเครื่องมือจนสามารถใช้งานได้ผลพอใจแล้ว คณะภาพยนตร์เสียง ศรีกรุงก็ลงมือสร้างภาพยนตร์บันเทิงเสียงในฟิล์มเรื่อง แรก คือ " หลงทาง " สำเร็จออกฉายเป็นการร่วมฉลองกรุงเทพฯ ๑๕๐ ปี เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่โรงหนังพัฒนากร

กิจการภาพยนตร์ เสียงของศรีกรุงเจริญรุดหน้าตามลำดับ ภาพยนตร์ของศรีกรุงประสบความสำเร็จแทบทุกเรื่อง จนทำให้นายมานิตตัดสินใจสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงขนาดใหญ่ติดตั้งอุปกรณ์ ทันสมัย และสมบูรณ์แบบขึ้นที่ ซอยอโศก บางกะปิ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ การก่อสร้างโรงถ่ายแล้วเสร็จในอีกหนึ่งปีต่อมา หลังจากนั้นบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุงก็สามารถผลิตภาพยนตร์เสียงระบบ มาตรฐาน ออกเผยแพร่สู่ประชาชนได้อย่างสม่ำเสมอโดยเฉลี่ยปีละสามถึงสี่เรื่อง เช่น สัตหีบ พญาน้อยชมตลาด เมืองแม่หม้าย เพลงหวานใจ เป็นต้น

แต่แล้ว กิจการสร้างภาพยนตร์ที่เจริญรุ่งเรื่องตลอดมาถึงกาลหยุดชะงักลงเมื่อเกิด สงครามโลกครั้งที่สองขึ้น นายมานิตได้หันไปทุ่มเทให้กับกิจการหนังสือพิมพ์รายวัน สยามราษฎร์และ ศรีกรุงแทน จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงสถานการณ์ของบริษัทภาพยนตร์เสียงศรี กรุงก็ไม่กระเตื้องดีขึ้น เพราะศรีกรุงได้สูญเสียบุคคลผู้เป็นกำลังสำคัญของกิจการนี้ไปหลายคน โดยเฉพาะการเสียชีวิตของหลวงกลการเจนจิตในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ประกอบกับช่วงนั้นความนิยมในหนังพากย์ ๑๖ มิลลิเมตรได้เข้ามาแทนที่ภาพยนตร์ ๓๕ มิลลิเมตร เสียงในฟิล์ม จึงทำให้นายมานิต ตัดสินใจยุติการสร้างภาพยนตร์โดยสินเชิง โดยหันไปเปิดโรงงานผลิตแผ่นเสียงแทน ส่วนโรงถ่ายภาพยนตร์ก็ได้รับการดัดแปลงให้เป็นโรงภาพยนตร์ในชื่อ ศาลาศรีกรุง

ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ นายมานิตได้หวนกลับมาสร้างภาพยนตร์อีกครั้งโดยรวบรวมทายาทในตระกูลวสุวัตจัด ตั้งบริษัทศรีกรุงยุคใหม่ขึ้น แต่กิจการสร้างภาพยนตร์ของศรีกรุงยุคใหม่ดำเนินไปได้สองปีเท่านั้นก็ต้องปิด ตัวเองลงอีกครั้ง เนื่องจากประสบความล้มเหลวมาโดยตลอดหลังจากนั้นชื่อศรีกรุงก็ค่อย ๆ เลือนหายไปกับการกาลเวลา

นายมานิต วสุวัต เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ ด้วยวัย ๘๕ ปี
credit http://www.thaifilm.com/articleDetail.asp?id=43 มาสนับสนุนหนังไทยกันครับ
ทำไมวันนี้ผมถึงเขียนเรื่องวันเข้าพรรษานะหรือครับเพราะผมได้ยินวัยรุ่นแถวบ้านบอกว่าเข้าพรรษาแล้วไปหาเหล้าที่ใหนกินดี.... ทำไมเพราะอะไรกันหรือก็ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษา ให้เป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ" เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทยอีกด้วยแล้วทำไมยังจากินกันอีกหรือ

วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตามการเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย

สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรง อนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลง แปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายใน อาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็น พระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"

และสำหรับในปี พ.ศ. 2552 นี้ วันเข้าพรรษาจะตรงกับ วันพุธที่ 8 กรกฎาคม ตามปฏิทินสุริยคติ
วันนี้ไปเจอบทความเกี่ยวกับผู้ชายที่หน้าสนใจเลยเอามาให้ได้อ่านกันครับช่างนี้จะพยายามขยันอัปบทความครับ
เป็น ธรรมดาที่ผู้หญิงกับผู้ชายมักคิดไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่าง ผู้หญิงส่วนใหญ่ชอบสีชมพู, สีแดง และสีฟ้า แต่ผู้ชายอาจชอบสีน้ำเงิน, สีเทาหรือสีดำเพราะดูสง่างามและเคร่งขรึมตามลักษณะที่หนุ่มๆเป็นกัน เหตุนี้ถ้าพูดถึงเรื่องรักๆใคร่ๆ ขึ้นมาละก็ ใช่ว่าผู้หญิงจะเก็ต (เข้าใจ) ในสิ่งที่ผู้ชายคิดอยู่ในใจ เสมอไปหรอกนะ ไอ้ที่คิดแล้วไม่เหมือนกันก็มีตั้งเยอะ

เอ้า ถ้างั้นมาดูกันดีกว่าว่า มีอะไรมั่งที่สาวๆคิดว่า เข้าใจในตัวผู้ชายว่าเป็นอย่างนี้ แต่แท้จริงแล้วเค้าจะเป็นอย่างที่หล่อนคิดรึเปล่านั้น เรามาหาคำตอบกันดีกว่า เช่น.....

1. ผู้หญิงคิดว่า ผู้ชายเกลียดความโรแมน- ติก ล่ะซี

โอ๊ะโอ ข้อนี้หนุ่มๆเค้าไม่ได้เกลียดความโรแมนติกนะ....แต่เค้าทำไม่เป็นต่างหาก 555 เอ๊ย.... เค้าไม่ถนัดเรื่องการแสดงออกถึงความโรแมน-ติกมากกว่า พอไม่ถนัดก็เลยทำเป็นเฉไฉว่าไม่รู้จักความโรแมนติกไปนู่น กระนั้นยังพอเห็นมีหนุ่มที่แสดงความโรแมนติกกับสาวคนรักแบบหวานหยดย้อยมีนะ ขอบอก แบบว่า เค้าจะซื้อของขวัญให้แฟนสาวในทุกๆวันสำคัญ เช่น วันเกิดของเธอ (ถ้าจำไม่ได้ล่ะน่าดู), วันครบรอบที่เจอกันครั้งแรก, วันครบรอบที่เอ่ยว่ารัก...ไปจนกระทั่งวันครบรอบที่อยู่ด้วยกัน...ก็มีไม่ใช่ ไม่มีเอาซะเลย ทว่ามีหนุ่มน้อยคนที่จะทำหยั่งงี้ไง เค้าถึงถูกมองว่าไม่โรแมนติกเอาซะเลยก็เงี้ย

2. ผู้หญิงคิดว่า ผู้ชายชอบคิด แต่เรื่องเซ็กซ์ตลอดเวลา...จริงอ่ะ

ว่ากันว่า ผู้ชายมักคิดถึงเรื่องเซ็กซ์ ทุกๆ 7 นาที (แต่เอ๊ะ เห็นว่าบางคนก็เร็วกว่านี้) ทว่ามีชายหลายคนไม่เห็นด้วยกับสถิตินี้ แถมยังมองว่าเป็นเรื่องเหลวไหลอีกต่างหาก แต่เอาเหอะ ผู้ชายยอมรับว่า ความคิดในแต่ละวันของเค้ามีเรื่องเซ็กซ์ปนอยู่ไม่น้อย ซึ่งเค้าจะคิดเรื่องเซ็กซ์มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับอายุของหนุ่มๆด้วยแหละ ถ้าเป็นช่วงวัยรุ่นก็แหงล่ะ เค้าอาจคิดเรื่องเซ็กซ์มากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่อยู่ในวัยเรียนและยังไม่ต้องรับผิดชอบอะไรมาก พอมีเวลาว่างเยอะก็อาจคิดถึงเรื่องสาวๆแยะ แต่พอโตเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องรับผิดชอบหน้าที่การงานและครอบครัวแล้วนี่สิ โอ๊ย เรื่องเซ็กซ์ๆเอ็กซ์ๆ กลับเป็นเรื่องรองลงไปให้เค้าคิดถึงแล้วน่ะซี

ฉะนั้น ไม่ใช่ผู้ชายทุกคนแน่ๆที่คิดแต่เรื่องเซ็กซ์ตลอดเวลาเพราะบ่อยครั้งเค้าก็ คิดถึงเรื่องมันนี่ (เงินทอง) และฐานะทางเศรษฐกิจด้วย โถ...เพราะเป็นช้างเท้าหน้าของครอบครัวนี่หว่าเนอะ

3. ผู้หญิงคิดว่า ผู้ชายชอบสาวที่มีหน้าอกโตประเภทยิ่งใหญ่บะล่ะหึ่มก็ยิ่งดี...งั้นละซี โถ ชอบแอบดูสาวนมโตแล้วเพลินรึไงจ๊ะ
ซึ่ง เรื่องนี้ มันก็จริงอ่ะนะที่หนุ่มๆชอบสาวที่มีหน้าอกหน้าใจใหญ่ไว้ก่อน เพราะสิ่งนี้เป็นสัญลักษณ์ทางเพศที่เห็นง่ายที่สุดนี่หว่าแต่ขณะเดียวกัน หนุ่มบางคนแย้งขึ้นว่า ผู้ชายน่ะ ชอบสาวหน้าอกใหญ่ ก็จริง แต่ถ้าขนาดทรวง อกของหล่อนใหญ่โตมโหฬารผิดไปจากขนาดที่ธรรมชาติให้มาละก็ ไม่แน่ว่าผู้ชายทุกคนจะชอบหรือสนใจผู้หญิงที่โนตม=นมโตเกินไปน่ะซี

ดังนั้น หากสาวรายใดคิดอยากเอาใจแฟนหนุ่มด้วยการไปทำศัลยกรรมพลาสติก ให้ กลายเป็นสาวขาว สวย หมวย อึ๋ม ขึ้นมา ก็อย่าไปทำหน้าอกให้มีขนาดใหญ่โตผิดธรรมชาติเลย แค่ทำให้มีขนาดพอดิบพอดีก็พอแล้ว เพราะขนาดที่ใหญ่ผิดจากธรรมชาตินั้น ยิ่งทำให้ผู้ชายคิดว่า หน้าอกของสาวคนนั้นช่างคล้ายกับตุ๊กตาหมีที่ตอนแรกๆ ก็น่าเข้าไปฟัดและเข้าไปกอดอยู่หรอก โหของพรรค์นี้ใหม่ๆย่อมสร้างความตื่นเต้นให้กับเค้าเป็นธรรมดา แต่พอเวลาผ่านไปสักเดือน-2 เดือนสิ เค้าอาจไม่คิดว่ามันน่าตื่นเต้นเหมือนเคยแล้วก็ได้ ตรงข้ามจะรู้สึกว่าไอ้เจ้าตุ๊กตาหมีขนาดเบ้อเริ่มเทิ่มเนี่ย มันช่างเกะกะและกอดลำบากจัง
แล้วหลังจากนั้นเค้าก็จะเซ็งไปตามกาลเวลาเองแหละ ฮ่ะฮ้าทราบแล้วเปลี่ยน!

4. ผู้หญิงคิดว่า ผู้ชายขาดอารมณ์อ่อนไหว (เซ้นส์ซิทีฟ) แถมยังมีแต่ความแข็งกระด้าง แล้วยังร้องไห้ไม่เป็นอีกต่างหาก งั้นหรือจ๊ะเอ ความจริงแล้วหนุ่มๆ ก็อ่อนไหวเป็นนะ แหมบางทีดูหนังยังต่อมน้ำตาแตกได้เหมือนที่ผู้หญิงฟูมฟายนั่นแหละ แต่เค้ามักถูกสอนตั้งแต่เด็กๆ ไงว่า เป็นผู้ชายน่ะต้องเข้มแข็งอดทน ที่สำคัญ "ลูกผู้ชายไม่ควรร้องไห้ให้ใครเห็น" โอ๊ยเป็นงี้แล้วใครจะกล้าร้องไห้ต่อหน้าธารกำนัลล่ะ แต่ถ้าให้ ร้องไห้คนเดียวล่ะเป็นไปได้

อีกอย่างความอ่อนไหวก็ไม่ได้มีแต่ เรื่องร้องไห้ เท่านั้น คุณเคยเห็นผู้ชายที่ร้องเพลงไปด้วยแล้วเล่นดนตรีไปด้วยเพื่อจีบสาวไหมล่ะ นั่นแหละเป็นการกระทำอย่างนึงที่ช่างเซ้นส์ซิทีฟของเค้าเลย หนำซ้ำยังทำให้ฝ่ายหญิงละเมอเพ้อพกไปกับพรสวรรค์ทางดนตรีของเค้าด้วย เอ้า คิดดูจะมีสาวๆสักกี่คนที่กล้าปฏิเสธหนุ่มหน้ามนที่ใช้เสียงเพลงจีบเธอ ....ถามจริง!

5. ผู้หญิงคิดว่า ผู้ชายชอบเพศตรงข้ามที่ผอมเพรียว...หรือจ๊ะเอ้า ข้อนี้ก็แน่ละสิ ผู้ชายส่วนใหญ่อยากมีแฟนที่หุ่นคล้ายนางแบบทั้งนั้นแหละ แต่ในชีวิตจริงน่ะ จะมีหนุ่มสักกี่คนเชียวที่สามารถพิชิตใจนางแบบได้.....โอ๊ยน้อยเต็มที เพราะงั้นสาวอวบทั้งหลาย อย่าเพิ่งหมดกำลังใจไปซะก่อน

6. ผู้หญิงคิดว่า ผู้ชายชอบแฟนที่เด็กกว่าเสมอไป...จริงอ่ะ

โธ่เอ๊ย ผู้ชายที่มีแฟนสาวแก่กว่าก็ถมไป (อยากให้ยกตัวอย่างดารงดาราไหมล่ะ ว่าคู่ไหนมีแฟนเด็กบ้าง?) สมัยนี้จึงไม่ใช่ผู้ชายทุกคนแน่ๆที่ชอบเด็กเอ๊าะๆ ถึงจะยอมรับว่า เด็กเอ๊าะๆยังไง้ ยังไงก็มีภาษีเหนือกว่าสาวใหญ่ ก็แหม อยู่ใกล้เด็กน่ะ ทำให้กระชุ่มกระชวยแถมยังน่ารักน่าเอ็นดู แล้วใครที่ไหนจะไม่ชอบ! ...หวังว่าหลังจากนี้คุณผู้หญิงคงเข้าใจหนุ่มๆมากขึ้นกว่าเดิมแล้วนะ.

ที่มา ไทยรัฐ

วันนี้เอาคำขวัญวันเด็กตั้งแต่อดีตมาให้ดูดูกันครับมันอาจยาวไปนิดแต่คงพอมีประโยชน์กะเขาบ้างหละครับ เอามาให้ดูตั้งกะ2499 ถึง 2552มาดูกันเลยดีกว่า

พ.ศ.2499 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม - จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม

พ.ศ.2502 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า

พ.ศ.2503 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด

พ.ศ.2504 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย

พ.ศ.2505 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด

พ.ศ.2506 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด

พ.ศ.2507 - งดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ

พ.ศ.2508 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี

พ.ศ.2509 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี

พ.ศ.2510 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย

พ.ศ.2511 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง

พ.ศ.2512 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ

พ.ศ.2513 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส

พ.ศ.2514 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ

พ.ศ.2515 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ

พ.ศ.2516 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ

พ.ศ.2517 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - สามัคคีคือพลัง

พ.ศ. 2518 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี

พ.ศ.2519 - หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช - เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้

พ.ศ.2520 - นายธานินทร์ กรัยวิเชียร - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย

พ.ศ.2521 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ

พ.ศ.2522 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กไทยคือหัวใจของชาติ

พ.ศ.2523 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย

พ.ศ.2524 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม

พ.ศ.2525 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย

พ.ศ.2526 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม

พ.ศ.2527 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา

พ.ศ.2528 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม

พ.ศ.2529 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

พ.ศ.2530 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

พ.ศ.2531 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

พ.ศ.2532 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

พ.ศ.2533 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

พ.ศ.2534 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา

พ.ศ.2535 - นายอานันท์ ปันยารชุน - สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม

พ.ศ.2536 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

พ.ศ.2537 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

พ.ศ.2538 - นายชวน หลีกภัย - สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

พ.ศ.2539 - นายบรรหาร ศิลปอาชา - มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด

พ.ศ.2540 - พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ - รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด

พ.ศ.2541 - นายชวน หลีกภัย - ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย

พ.ศ.2542 - นายชวน หลีกภัย - ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย

พ.ศ.2543 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย

พ.ศ.2544 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย

พ.ศ.2545 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส

พ.ศ.2546 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี

พ.ศ.2547 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน

พ.ศ.2548 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด

พ.ศ.2549 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด

พ.ศ.2550 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข

พ.ศ.2551 - พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ - สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม

พ.ศ.2552 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี

ที่มาจาก sanookดอทคอม
เยอะไปใหมนี่ อิอิ
มีน้องคนหนึ่งดันถามผมว่าพี่ๆรู้จักยุวชนทหารใหมครับ ผมก้บอกว่ารู้แค่ที่ดูมาจากในหนังอะไม่รู้มากกว่านี้หลอกไอ้น้องเจ้ากรรมดันอยากรู้มากขึ้นเอาแล้วไงพี่อย่างเราไม่ทำให้ก็กระไรอยู่ เอาก้เอาขอเขียนถึงเรื่องยุวชนทหาร หน่อยก้แล้วกันแต่ขอบอกว่ายาวนะครับ
ยุวชนทหาร (อักษรย่อ: ยวท.) คือ เยาวชนที่ได้รับการฝึกวิชาทหารขึ้นในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2477 - 2490 เนื่องจากรัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามมีนโยบายพื้นฟูการฝึกวิชาทหารให้แก่ประชาชน โดยทำการฝึกจากนักเรียนและนิสิตนักศึกษาตามอย่างการฝึกยุวชนนาซีของเยอรมนี
วีรกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของยุวชนทหารคือ การร่วมมือกับทหารและตำรวจเพื่อต่อต้านการรุกรานจากกองทัพญี่ปุ่นในสงครามมหาเอเชียบูรพาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมพ.ศ. 2484 ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ วีรกรรมของยุวชนทหารที่โดดเด่นที่สุดในการรบครั้งนั้นคือ วีรกรรมที่สะพานท่านางสังข์ จังหวัดชุมพร (ต่อมาได้มีการนำเหตุการณ์ดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง "ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ" โดยบริษัทแกรมมี่ฟิลม์ เมื่อ พ.ศ. 2543) ปัจจุบันรัฐบาลได้กำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันนักศึกษาวิชาทหาร ซึ่งที่อนุสาวรีย์ยุวชนทหาร เชิงสะพานท่านางสังข์ จังหวัดชุมพรนั้น จะมีพิธีวางพวงมาลาและการสวนสนามของนักศึกษาวิชาทหาร ในทุกวันที่ 8 ธันวาคม ของทุกปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นด้วย
การฝึกยุวชนทหารถูกยกเลิกใน พ.ศ. 2490 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงได้ 2 ปี ตามพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติยุวชนแห่งชาติ พุทธศักราช 2486 พ.ศ. 2490 เนื่องจากภาวะขาดแคลนครูฝึกและงบประมาณ อย่างไรก็ตาม แนวคิดเกี่ยวกับการฝึกยุวชนทหารนี้ได้พัฒนาต่อมาเป็นการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ภายใต้การควบคุมของกรมการรักษาดินแดน หรือหน่วยบัญชาการกำลังสำรองในปัจจุบัน
เป็นอย่างไรบ้างครับพอเอาไปทำเรียงความได้ใหมเอ่ย
ยังคงวังวนอยู่ในแดนใต้กันต่อครับหลังจากไม่ได้อัปบทความแนวนี้มานานพอสมควรแล้วเนื่องจากช่วงนี้ผมเริ่มกลับมามีเวลาเป็นของตัวเองอีกครั้งครับ(เนื้องจากซื้อนาฬิกาใหม่มันเกี่ยวกันใหมนี้)
เมืองปัตตานี เดิมมี ชื่อเรียก ว่า โกตามหลิฆัย คำ โกตา หมายถึง ป้อม กำแพง และเมือง คำมหลิฆัย นั้น ให้ความหมาย ไว้สองนัย คือหมายถึง ปราสาท ราชมนเทียร อันเป็นที่ ประทับของราชวงศ์ ฝ่ายใน ที่เป็นสตรี และอีกนัยหนึ่ง หมายถึง รูปแบบ พระสถูป เจดีย์ ที่เรียกกันในเชิงช่าง ศิลปกรรม ว่า "สถูป ทรงฉัตรวาลี" เป็นสถูป แบบหนึ่ง ในศิลปะ สถาปัตยกรรมทางพุทธ ศาสนา สมัย ศรีวิชัย
เมือง โกตามหลิฆัยนี้ ถูกทอดทิ้ง ให้ร้างไป ในสมัย ของพญาอินทิรา เนื่องจาก แม่น้ำ ลำคลองหลายสาย ที่เคยใช้ เป็นเส้นทาง คมนาคม ระหว่าง เมืองโกตามหลิฆัย กับทะเล ได้ตื้นเขิน ทำให้ไม่สะดวก ในการ ลำเลียง สินค้า เข้าออก ติดต่อ ค้าขาย กับพ่อค้า ต่างประเทศ ปี พ.ศ.๒๐๑๒
ถึง พ.ศ.๒๐๕๗พญาอินทิรา จึงย้ายเมือง โกตามหลิฆัย ไปสร้างเมืองขึ้นใหม่ บนบริเวณสันทรายปากอ่าว เมืองปัตตานี อยู่บริเวณ หมู่บ้านบานา อำเภอเมือง ปัตตานี ในปัจจุบัน ประจวบกับพญาอินทิรา ได้เปลี่ยน ศาสนา จากการ นับถือ ศาสนาพุทธ มารับ ศาสนา อิสลาม จึงให้นามเมือง
ที่สร้างใหม่ เป็นภาษาอาหรับว่า ฟาฎอนีย์ ดารุซซาลามหรือ "ปัตตานี ดารัสสลาม" แปลว่า " ปัตตานี นครแห่งสันติ" คล้ายคลึงกับชื่อประเทศ บรูไน ดารุสสลาม ซึ่งแปลว่า บรูไน นครแห่งสันติ คำ "ปัตตานี" นี้ อาจจะมาจากคำ "ปฺตตน" ในภาษา สันสกฤต แปลว่า เมือง นคร กรุง ธานี ดังจะเห็นได้จาก ชื่อเมืองหนึ่ง ของ อินเดียใต้ สมัย โบราณ คือเมือง "นาคปตฺตน" เมืองภัทรปตฺตน ในศิลา จารึกสดอกก๊อกธม ของเขมร และ ชื่อของผู้ว่าราชการ เมืองปัตตานี สมัยหนึ่ง ก็มีนามว่า " อำมาตย์ศรีพระปัตตนบุรี ศรีสมุทรเขต (เป๋า สุมนดิษฐ) อีกทั้ง ชื่อของ โรงเรียน สตรี ประจำจังหวัด ปัตตานี ที่ตั้งขึ้น ในสมัยนั้น ก็ได้รับ การขนาน นามว่า "โรงเรียน สตรี เดชะ ปัตตนยานุเราล"
คำว่า ปะฏานีในภาษาอาหรับ แปลว่า นักปราชญ์ ในภาษาบาลี สันสกฤต ปตานี แปลว่าหญิงที่เป็นใหญ่ ส่วนในภาษามลายูนั้น ปะตานีหมายถึงชาวนา.
ความหมายใหนไม่สำคัญเท่า ปัตตานีคือพี่น้องเราชาวไทย ที่พวกเราชาวไทยอยากให้เมืองปัตตานีสงบและสันติ

ขอบอกใว้ก่อนเลยนะครับว่าบทความนี้ค่อนข้างที่จะยาวพอสมควร แต่ก็เป็นความรู้ที่ดีครับผม
ประมาณ ๒ พันปีมาแล้ว มีชาวอินเดียนับถือศาสนาฮินดูและพุทธลงเรืออพยพจากบ้านเมืองของตนมา
ตั้งหลักแหล่งในเกาะชวา และเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย บางส่วนเลยไปตั้งหลักแหล่งถึงประเทศ
กัมพูชา และได้สร้างปราสาทหินนครวัดตามค่านิยมของอินเดียใต้ การอพยพใหญ่ครั้งแรกอาจเป็นลี้ภัย
สงครามของพวกกลิงค์ในอินเดียริมทะเลด้านใต้ ราว พ.ศ. ๒๓๐ สมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชทำสงคราม
กับพวกกลิงค์ มีการฆ่าฟันชาวกลิงคราชล้มตายไปมาก จนพระเจ้าอโศกสังเวชพระทัย หันมานับถือ
พุทธศาสนา การอพยพใหญ่ครั้งที่สองของชาวพุทธ อาจจะเกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เมื่อพวกตุรกีหรือ
เติร์ก นำศาสนาอิสลามที่พระนาบี มุฮัมมัดทรงประกาศเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย
เข้ามามีอิทธิพล ครอบครองอินเดีย ตั้งราชวงศ์โมกุล สร้างอนุสรณ์สถานทาชมาฮาล มีการ ทำลายพระพุทธรูป
ฆ่าฟันพระสงฆ์ และเผาวิทยาลัยพุทธศาสนาใหญ่ที่เมืองนาลันทาจนหมดสิ้น แม้แต่ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ที่พุทธคยาก็ยังถูกทำลาย รูปพระพุทธเจ้าที่ถ้ำตุ้นหวงประเทศจีน ถูกขูดลูกตาออกจนหมดสิ้น ทั้งนี้เพราะ
ศาสนาอิสลามสอนไม่ให้มีรูปเคารพใดๆ ชาวพุทธที่อพยพมาเกาะชวา ได้สร้างพุทธศาสนสถานขนาดใหญ่
ด้วยหินภูเขาไฟ ชื่อบุโรพุทโธ ไว้ที่เมืองจ๊อกจารกาตา ซึ่งปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้ ศาสนสถานบุโรพุทโธใน
อินโดนีเซียนี้เป็นหลักฐานชัดเจนว่าดินแดนแถบนี้เป็นดินแดนของคนที่นับถือพุทธมาก่อนที่จะเปลี่ยนไปนับ
ถือศาสนาอิสลาม ต่อมามีคนอพยพข้ามฟาก จากเกาะชวา และสุมาตรามาที่ปลายแหลมมลายู คำว่า มลายู
แปลว่า " ผู้ข้ามฟาก "
ตั้งแต่สมัยเมื่อกว่าพันปีมาแล้ว ได้มีการค้าขายทางทะเล เกิดเมืองท่าเรือและป้อมค่าย
เช่นมะริด(Mergui) ตะโกลา (Tacola) มะละกา (Mallaca) และอาณาจักรอะแจ หรือ อะเจะห์(Aceh)
ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประทศอินโดนีเซีย ปรากฏมีเส้นทางเดินบกข้ามคาบสมุทรระหว่าง
รัฐเคดาห์ ทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย กับปัตตานี และสงขลา ทางฝั่งอ่าวไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น
พ่อค้าชาวเปอร์เซีย จากแถบคาบสมุทรอาหรับได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่ ในเกาะชวา สุมาตรา
และปลายแหลมมลายู ทำให้ประชาชนบางส่วนนับถืออิสลาม ตั้งแต่ราว พ.ศ.2012 คือประมาณห้าร้อยปีนี่เอง
ลังกาสุกะและปัตตานี
"ปัตตานี หรือ ปตานี " เป็นเมืองเก่าแก่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักของพ่อค้าต่างประเทศมาตั้งแต่โบราณ
และเป็นศูนย์การค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้ สมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 20 นั้น นักประวัติศาสตร์
รู้จักปัตตานีในนามของ"ลังกาสุกะ"(Langkasuka) ซึ่ง เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนในแหลม
มลายู ลังกาสุกะ หรือ ลังกาโศภะ หรือที่จีนเรียกว่า หลังยาซูว หรือ หลังหยาสิ้ว เป็นอาณาจักรอัน
เก่าแก่แห่งหนึ่งของเอเชียอาคเนย์ มีอาณาเขตครอบคลุมคาบสมุทรมลายูตอนล่าง ด้านใต้ของ
อาณาจักรตามพรลิงค์ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน ลังกาสุกะพัฒนามาจากเมือง
ท่าเล็กๆ ของชาวพื้นเมือง จนเติบโตเป็นรัฐและมีฐานะเป็นอาณาจักรมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 ซึ่งจะเห็นได้ว่า
ในขณะที่ คนไทยทางภาคกลางยังอยู่ในอิทธิพลของพวกขอม แต่คนไทยทางภาคใต้ มีอาณาจักร
เป็นของตนเองแล้ว
ขณะที่อาณาจักรฟูนันเริ่มเสื่อมอำนาจ เนื่องจากอาณาจักรลังกาสุกะมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะ
สมเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก (East-West Center) มีทิศทางลมตรงมา
จากแหลมญวน มีอ่าวปัตตานีเป็นที่หลบภัยจากลมมรสุม ทั้งยังเป็นแหล่งผลิต ต้นการบูนและ
ไม้กฤษณาที่มีกลิ่นหอม จึงเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างจีนกับอินเดียและเป็นศูนย์กลางของการเผย
แผ่หลักธรรมของศาสนาทั้งศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธนิกายมหายาน ระหว่างพุทธศตวรรษที่
๑๑-๑๙ จดหมายเหตุจีนฉบับหนึ่งเขียนไว้เมื่อราว พ.ศ. ๑๐๕๒ ว่า หลังยาซูว เป็นเมืองที่มีกำแพง
ล้อมรอบ พระราชาประทับอยู่บนเราบช้างมีหลังคาทำด้วยผ้าสีขาว แวดล้อมด้วยองครักษ์ท่าทางดุร้าย
และทหารตีกลองถือธงสีต่างๆ ประชาชนทั้งชายหญิงไว้ผมปล่อยยาว ใส่เสื้อไม่มีแขน ศูนย์กลาง
ของลังกาสุกะอยู่บริเวณ อำเภอเมืองปัตตานีกับอำเภอยะหริ่ง และอำเภอยะรัง ทางฝั่งตะวันออก
ของแม่น้ำปัตตานี ที่เมืองโบราณยะรังในปัจจุบันปรากฏร่องรอยของศาสนสถานประเภทสถูป
เจดีย์ขนาดใหญ่ทั้งหมดกว่า ๓๐ แห่ง ในพื้นที่ประมาณ ๙ ตารางกิโลเมตร นอกจากนั้นยังพบ
ร่องรอยกำแพงเก่าอีกหลายแห่งในบริเวณใกล้เคียงกัน มีชิ้นส่วนดินเผาลายดอกบัวศิลปะทวารวดี
สำหรับตกแต่งสถานที่ ปรากฏอยู่ที่โบราณสถานเมืองยะรัง
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อาณาจักรลังกาสุกะเริ่มเสื่อมอำนาจลง เนื่องจากภาวะของชายฝั่งทะเล
ตื้นเขิน สายน้ำเปลี่ยนทางเดิน เกิดศึกสงคราม โดยมีกองทัพจากเขมร และมะละกา เข้ามาโจมตี
หลายครั้ง อาจเป็นเพราะคนอพยพไปอยู่ที่อื่น เนื่องจากถูกโคลนทับเมือง หรือเกิดโรคระบาด
หรือถูกโจมตีทำลาย จนชื่อหายไปจากประวัติศาสตร์ ส่วนดินแดนเดิมของลังกาสุกะ ได้เข้าไปรวม
กับอาณาจักรตามพรลิงค์ ดังนั้นชาวลังกาสุกะส่วนใหญ่จึงนับถือพุทธศาสนาตามชาวตามพรลิงค์ไปด้วย
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๗ ถึง ๑๙ ได้มีการก่อตั้งอาณาจักรตามพรลิงค์ หรือตัมพะลิงค์ มีศูนย์กลางอยู่ที่
บริเวณบ้านท่าเรือ บนสันทรายปากอ่าวนครศรีธรรมราช ทางเหนือของอาณาจักรลังกาสุกะ
มี อาณาเขตทางตะวันตกจรดอ่าวไทยและทางตะวันออกจรดจังหวัดกระบี่ในปัจจุบัน อาณาจักรตามพรลิงค์(นครศรีธรรมราช)ประกอบด้วยเมือง ๑๒ เมือง หรือสิบสองนักษัตร คือ
1. เมืองสายบุรี สัญลักษณ์ ตราหนู (ชวด)
2. เมืองปัตตานี สัญลักษณ์ ตราวัว (ฉลู)
3. เมืองกลันตัน (ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย )สัญลักษณ์ ตราเสือ (ขาล)
4. เมืองปะหัง (ปัจจุบัน มีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในรัฐมาเลเซีย ) สัญลักษณ์ ตรากระต่าย (เถาะ)
5. เมืองไทรบุรี(ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในมาเลเซีย ชื่อว่า "เคดาห์" ) สัญลักษณ์ ตรางูใหญ่ (มะโรง)
6. เมืองพัทลุง สัญลักษณ์ ตรางูเล็ก (มะเส็ง)
7. เมืองตรัง สัญลักษณ์ ตราม้า (มะเมีย)
8. เมืองชุมพร สัญลักษณ์ ตราแพะ (มะแม)
9. เมืองบันทายสมอ(อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี) สัญลักษณ์ ตราลิง (วอก)
10. เมืองสงขลา สัญลักษณ์ ตราไก่ (ระกา)
11. เมืองภูเก็ต (ถลาง) สัญลักษณ์ ตราหมา (จอ)
12. เมืองกระบุรี สัญลักษณ์ ตราหมู (กุน)

ประชาชนของอาณาจักรตามพรลิงค์นับถือพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น มีการสร้างพระบรมธาตุ
ขนาดใหญ่ไว้เป็นที่สักการะบูชา ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระเจ้าจันทรภาณุ ศรีธรรมราช ได้ส่งกองทัพเรือไปโจม
ตีเกาะลังกาถึงสองครั้ง ประวัติศาสตร์ลังกาบันทึกไว้ว่า กองทัพของพระเจ้าจันทรภาณุใช้ไม้ซางเป่าลูกดอก และ
ธนูเป็นอาวุธ ในพ.ศ. ๑๘๓๗ อาณาจักรตามพรลิงค์ได้เข้ารวมกับอาณาจักรสุโขทัย และ พ.ศ. ๑๘๙๓ เข้ารวมกับ
อาณาจักร กรุงศรีอยุธยา ดังนั้นดินแดนลังกาสุกะจึงเข้ารวมกับอยุธยาไปด้วยระหว่าง พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถึง ๑๘ ได้มีการก่อตั้งอาณาจักรศรีวิชัย (Sri Vijaya) โดยราชวงศ์ ไศเลนทรของชวา มีอาณาเขตครอบคลุม แหลมมลายู เกาะชวา สุมาตรา และควบคุมการเดินเรือในช่องแคบมะละกาโดยมีสายโซ่ขึง กั้นช่องแคบเพื่อเก็บเงินค่าผ่านทางจากเรือที่จะผ่านไปมา เข้าใจว่าศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน(ปัจจุบันมีนักวิชาการบางท่านแย้งว่า น่าจะอยู่บริเวณเขตรอยต่อระหว่าง (นครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี) ประชาชนชาวศรีวิชัยนับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ใช้ภาษาสันสกฤต หลวงจีนอี้จิงซึ่งได้เดินทางจากประเทศจีนทางเรือผ่านมาแถบนี้ในเดือน๑๑ พ.ศ. ๑๒๑๔ บันทึกไว้ว่า ประชาชนทางใต้ ของแหลมมลายูนับพุทธศาสนา แต่ได้ติดต่อกับพวกมุสลิมอาหรับที่เดินทางผ่านไปประเทศจีน ศาสนาอิสลามจึงได้ เผยแผ่ไปยังมะละกา กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และปัตตานีจนกลายเป็นรัฐอิสลามไป พ.ศ.๑๕๖๘ อาณาจักร์ศรีวิชัย ได้ทำสงครามกับอาณาจักรโจฬะในอินเดียใต้ และตกอยู่อำนาจของอาณาจักรมัชปาหิตในชวาใน พ.ศ. ๑๙๔๐ ดินแดนปัตตานีหลังยุคลังกาสุกะ ภายหลังจากสิ้นยุค ลังกาสุกะ อันรุ่งเรืองในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมืองท่าแห่งใหม่ได้เกิดขึ้นที่ปัตตานี
มี พ่อค้าชาว เปอร์เซีย อาหรับ ญี่ปุ่น จีน และชาวยุโรป เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ สเปน ฯลฯ เข้ามาทำการค้าขายเป็นจำนวนมาก มีท่าเรือน้ำลึกสำหรับขนถ่ายสินค้าไปยังต่างประเทศ พ่อค้าชาว อาหรับเรียกชื่อเมืองปัตตานีเป็นภาษาอาหรับว่า ฟาฎอนี (Fatani) ร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองสมัยนั้น ยังเหลือปรากฏ อยู่ในพื้นที่กว่า 4 ตารางกิโลเมตร ในเขตตำบลบานา บาราโหม และตันหยงลุโละ
ตามตำนานเมือง ไทรบุรี ที่พันโท เจมส์ โลว์ แปล เป็นภาษาอังกฤษ ระบุว่า มะโรงมหาวงศ์ (มะโรงมหาวังษา) กษัตริย์แห่งเมืองลังกาสุกะ ที่เมืองไทรบุรี ทรงคิดจะให้โอรสและ ธิดาทุกองค์ไปสร้างเมืองใหม่ สำหรับธิดาของพระองค์นั้น ได้ประทานกริชศักดิ์สิทธิ์เล่มหนึ่ง ชื่อ เลลา มิซานี (Lala Misani) ธิดาของพระองค์พร้อม กับมนตรีทั้งสี่เป็นผู้ใหญ่คุ้มครอง ได้ยกไพร่พลไปทางทิศตะวันออกข้ามเขาลงห้วย จนถึงแม่น้ำแห่งหนึ่ง ไม่ไกลทะเลมากนัก
ก็ตั้งเมือง เมืองนั้นเรียกว่า"ปตานี"ตามนามกริชมิซานี ที่บิดาประทานให้ ตามพงศาวดารปัตตานี ระบุว่า กษัตริย์แห่งเมืองมะลีไก (มหาลีกัย หรือ โกตามะฮลิฆัย Kota Mahligai) มีพระนามว่าพญา ตู กรุบ มหายาน(หรือมหาชนะ) มีราชโอรสสืบบัลลังก์ต่อมา มีพระนามว่า พญา ตู
นักปา (Tu Nakpa หรือพญาตูอันทิรา,พญาอันทิรา ,พญาตู อันตารา ,ศรีอินทรา ) วันหนึ่ง พญาตูนักปาไปล่าสัตว์ จนถึงชายทะเล พบกระท่อมหลังหนึ่งมีตายายสองคนอาศัยอยู่ ตาคนนั้นชื่อ ปะตานี ต่อมาพระองค์ทรงเห็นว่า สถานที่นั่นทำเลเหมาะที่จะสร้างเมือง จึงให้ย้ายจากเมืองมะลีกัย
มาตั้งที่ตรงนั้น โดยใช้ชื่อเมืองนั้นว่า "ปตานี" ตามชื่อเจ้าของกระท่อมที่พระองค์ทรงพบ ศาสนาอิสลามเข้ามาสู่ดินแดนปัตตานี แต่เดิมชาวปัตตานีนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ต่อมาศาสนาอิสลามเข้ามายังบริเวณ
ปัตตานีในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ประวัติศาสตร์ ของรัฐกลันตันระบุว่าในราว พ.ศ. ๑๘๙๓ (ค.ศ. ๑๑๕๐) มีคนมุสลิม จากปัตตานีคนหนึ่งไปเผยแพร่อิสลามในเมืองนั้น ซึ่งแสดงว่าศาสนาอิสลามได้เข้ามาทางปัตตานีก่อนจะสร้างเมืองมะละกาถึง
๒๐๐ ปี นักประวัติศาสตร์ชื่อ d'Eredia เขียนไว้ว่า ศาสนาอิสลามเข้ามายังปัตตานีและปะหังก่อน แล้วจึงเข้าไปสู่มะละกา
หลังจากที่ พ่อค้าชาวอาหรับเป็นผู้นำอิสลามเข้ามาเผยแพร่ในปัตตานีประมาณ ๓๐๐ ปีแล้ว เจ้าเมืองปัตตานี
จึง เข้ารับนับถือศาสนา อิสลาม P.W.F Wertheim ใน Book van Bonang ได้เขียนไว้ว่า "เจ้าเมืองปัตตานีไม่เชื่อในศาสนาอิสลาม แต่พ่อค้าปัตตานีเป็นมุสลิม" เมื่อชาวเมืองในแถบนั้นได้เข้ามายอมรับในศาสนาอิสลาม สถูปเจดีย์และสิ่งสักการะ ในศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามก็ถูกปล่อยปละละเลย ถูกยุคสมัยและกาลเวลากัดกร่อนไป
เจ้าเมืองปัตตานีเปลี่ยนจากนับถือพุทธไปนับถืออิสลาม
ราว พ.ศ. ๒๐๔๓ เจ้าเมืองปัตตานีที่ชื่อ พญาตู นักปา หรือตู อันตารา หรือ ราชาอินทิรา (Raja Intira)
ซึ่ง นับถือพุทธศาสนาได้ล้มป่วยลง โดยมีรอยแตกระแหงตามร่างกาย บางตำราว่าเป็นโรคเรื้อน ซึ่งหมอหลวงชาวปัตตานีรักษาไม่หาย แต่ มีหมอมุสลิมชาวปาซายจากสุมาตรา คนหนึ่ง ชื่อ เชค ซาอิด หรือ เชค ซาฟียุคดิน (Sheikh Safiuddin) อาสารับจะรักษาโรค
โดยมีข้อแม้ว่าเมื่อหายแล้วเจ้าเมืองจะต้องเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม เจ้าเมืองก็ยอมตกลงตาม
ที่หมอมุสลิมผู้นั้นขอ แต่เมื่อรักษาหายแล้วกลับไม่ทำตามสัญญา จนหลายปีต่อมาโรคเก่ากำเริบอีก
หมอมุสลิมคนนั้นก็เข้าไปรักษาโดยขอคำมั่นเช่นเดียวกับครั้งแรก เมื่อรักษาหายแล้ว เจ้าเมืองก็บิด
พลิ้วอีกตามเคย เมื่อโรคกำเริบเป็นครั้งที่สาม เจ้าเมืองได้ให้คำสาบานว่า "ในคราวนี้ ข้าขอสาบาน
ต่อหน้าพระพุทธรูปที่กราบไหว้อยู่ทุกวันว่า หากข้าบิดพลิ้วอีก ขอให้กลับเป็นโรคเก่าอย่ารู้จักหาย
อีกเลย" ดังนั้นเมื่อหายจากโรคแล้ว เจ้าเมืองปัตตานีก็เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามพร้อมกับครอบครัว
รวมทั้งขุนนางทั้งปวง นับแต่นั้นมา ศาสนาอิสลามได้แพร่หลายในปัตตานีอย่างรวดเร็ว เจ้าเมืองปัตตานี
ได้ เปลี่ยนชื่อเป็น สุลต่าน อิสมาอีล ชาห์ (Sultan Ismail Syah) ตามแบบของอาหรับ โอรสของ พระองค์มีนามว่า กรุบ พิชัย ปัยนา เปลี่ยนนามเป็น มุฏ็อฟฟัร ชาห์ ธิดาของพระองค์ที่มีนามว่า ตนเรามหาชัย เปลี่ยน นามเป็น ซีตี อาอีชะฮฺ และโอรสของพระองค์ องค์สุดท้ายมีนามว่า มหาชัยปัยลัง เปลี่ยนนามเป็น มันศูร ชาห์ การเปลี่ยนศาสนาจากพุทธอิสลามของสุลต่านปัตตานีองค์แรกนั้น ในพงศาวดารปัตตานี ระบุว่า เพียงแต่ละทิ้งการกินหมูและไม่กราบไหว้พระพุทธรูปเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วยังทำตามประเพณีเดิมทุกประการ บางตำราว่ามีการสั่งให้ทำลายเทวรูป พระพุทธรูป และสร้างมัสยิดขึ้นแทน
พงศาวดาร ไทยระบุไว้ว่า ในพ.ศ. ๑๙๙๘ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงแต่ทัพให้ไปเอาเมืองมลากา แต่ตีเมืองไม่สำเร็จ กองทัพมะละกากลับตีหัวเมืองสยามกลับคืน ได้แก่ ปาหัง ตรังกานู กลันตัน และไทรบุรี เมื่อสุลต่านอิสมาอีล ชาห์ สิ้นพระชนม์แล้ว โอรสซึ่งมีนามว่า มุฏ็อฟฟัร ชาห์ ได้ครองเมืองต่อ ส่วนเจ้าหญิง อาอิชะฮฺ ได้อภิเศก กับสุลต่านญะลาลเจ้าเมืองสาย(สายบุรี) ในสมัยนั้นปัตตานี
เจริญขึ้น อย่างรวด เร็ว มีพ่อค้าชาวต่างประเทศเข้ามาทำการค้าขายมากมาย ในปี ค.ศ. 1516 (พ.ศ. 2059) เฟร์เนาน์ เมนเดส ปินโต(Fernao Mendes Pinto) นักผจญภัยชาวโปรตุเกส ได้เขียนไว้ว่า "ขณะที่ข้าพเจ้ามาถึงปัตตานีนั้น ได้พบกับชาวโปรตุเกสเกือบ 300 คน นอกจากจากนั้น มีชาวตะวันออกอื่นๆ คือสยาม จีน ญี่ปุ่น สำหรับชาวญี่ปุ่นนั้น มีกิจการค้าใหญ่โต" สินค้าที่โปรตุเกสมา
ค้าขายที่ปัตตานีสมัยนั้นคือ ข้าว ดีบุก งาช้าง กำยาน คราม ครั่ง และไม้ฝาง มีรายงานว่า ในฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เรือสำเภาจากจีนจะมาจอดที่สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช ปัตตานี และเมื่อถึงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มาถึง เรือสำเภาก็จะแล่นใบกลับไปเมืองจีน
จักรพรรดิจีนสมัยพญาเลอไทย คือ จักรพรรดิหงวนเสงจงฮ่องเต้ (โอรสกุบไลข่าน) สินค้าไทยที่ ส่งออกไปจีนในสมัยนั้น คือ ของป่า ไม้สัก ไม้ฝาง และข้าว ส่วนสินค้าเข้าจากจีน คือ ผ้าแพร ผ้าไหม และภาชนะเคลือบดินเผา
ภาษา พื้นเมืองถิ่นปัตตานี ในสมัยก่อนนั้น นอกจากปัตตานีจะเป็นศูนย์กลางทางการค้าแล้วยังเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา และการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม ปัตตานีมีภาษาท้องถิ่นของตนเอง ซึ่งคล้ายคลึงแต่ไม่เหมือนกับภาษามลายูกลางที่ใช้กันแถบเมืองกัวลาลัมเปอร์ ภาษาพื้นเมืองถิ่นปัตตานีนี้ใช้กันแพร่หลายในบริเวณชายแดนภาคใต้ของประเทศ ไทย ชายแดนภาคเหนือของมาเลเซีย และ
ในรัฐอาเจะห์ของอินโดนีเซีย มีการดัดแปลงเพิ่มตัวอักษรอาหรับเพื่อให้สามารถออกเสียงตามเสียงพื้นเมือง ท้องถิ่นปัตตานีนี้ได้ เรียกว่า อักษรยาวี ดังนั้นคำว่ายาวีที่แท้จริงนั้นเป็นชื่อของตัวอักษรที่เขียนขึ้นตามสำเนียง เสียงท้องถิ่นปัตตานี มิใช่ชื่อการออกเสียงตามที่คนไทยภาคอื่นเข้าใจกันการที่ประชาชนชาวพื้นเมือง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส นิยมพูดภาษาพื้นเมืองถิ่นปัตตานี ซึ่งมีโครงสร้าง
แตก ต่างจากภาษาไทยภาคใต้ หรือภาคอื่นๆ ทำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกันกับคนไทยภาคอื่นๆ ซึ่งไม่เข้าใจสิ่งที่ประชาชนพูดกันบริเวณชายแดนภาคใต้ ทำให้เกิดความพยายามตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่จะสอนหรือรณรงค์ให้ประชาชนชายแดนใต้ พูดและอ่านภาษาไทยให้ได้ โดยพยายามจะเข้าไปทางโรงเรียนปอเนาะและมัสยิด แต่ด้วยความไม่เข้าใจลึกซึ้งทางด้านวัฒนธรรม ทำให้เกิดข้อขัดแย้งเมื่อกระทรวงศึกษาธิการพยายามจดทะเบียน และให้สอนวิชาสามัญในปอเนาะ เพราะโต๊ะฆูรู
หรือเจ้าของปอเนาะบางคนต้องการสอนเพียงด้านศาสนาอิสลามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น อย่างไรก็แล้วแต่ผมคงไม่สามารถบอกอะไรเพื่อนๆได้มากกว่าที่ผมรู้นี้หละครับ
ขอโทษที่ไม่สามารถให้creditได้เนื่องจากผมจำไม่ได้ว่าเอามาจากเว็บใหนครับใครรู้ก็บอกด้วยนะครับจะข้นcreditให้ครับผม
เห็นเขาเอามาลงผมเลย เอามาลงกะเขามั้งเพื่อจะดักได้หลายคน
หลุด ! ภาพนักศึกษาลงแขก







หลุดจาก WEBCAM noเซอเซอร์ ! โชว์ทั้งนมทั้งหอย เด็ดมาก ด่วน!! ก่อนถูกลบ"








คลิปบัวชมพูฟอร์ด







แอบถ่ายรถคันข้างๆ "นมใหญ่มากกกกก" ขอบอก







ภาพหลุด จากมือถือ






ภาพนักศึกษาแอบได้เสียกันตอนรับน้อง






ภาพหลุด Leah Dizon โชว์หอย






ภาพหลุดซาร่า! ขาวจั๊ว เห็น 2 เม็ดเต็มๆ






แอบถ่ายใต้กระโปรง ในงานมอเตอร์โชว์






ซึ้งมากๆค่ะ รูปนี้ดูกี่ทีๆ ก็ซึ้ง !




รวมภาพจาก forward mail คับ โดนแต่ละอย่างนี้แบบว่า....
credit zhengming จาก thaiseoboard