Blog Archive
-
►
2011
(1)
- ► 06/19 - 06/26 (1)
-
►
2010
(7)
- ► 10/24 - 10/31 (1)
- ► 09/19 - 09/26 (1)
- ► 09/12 - 09/19 (2)
- ► 08/22 - 08/29 (1)
- ► 08/15 - 08/22 (2)
-
▼
2009
(195)
- ► 12/06 - 12/13 (2)
- ► 11/22 - 11/29 (1)
- ► 11/15 - 11/22 (1)
- ► 08/23 - 08/30 (1)
- ► 08/16 - 08/23 (2)
- ► 08/09 - 08/16 (5)
- ► 08/02 - 08/09 (9)
- ► 07/26 - 08/02 (15)
- ► 07/19 - 07/26 (21)
- ► 07/12 - 07/19 (22)
- ► 07/05 - 07/12 (13)
-
▼
06/28 - 07/05
(9)
- ตำนาน สยามเริ่มบิน
- ผู้สร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงแห่งแรกของไทย
- วันเข้าพรรษาที่วัยรุ่นไทย(พุทธ)หลงลืม
- แนะนำบทความ ผู้ชายไม่สนโรแมนติกจริงรึ?
- เอาคำขวัญวันเด็มาให้ดู
- ยุวชนทหาร อดีตที่ควรรู้
- ตำนานปัตตานี นครแห่งสันติ
- ตำนานอิสลามชายแดนใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
- รวม 10 สุดยอด กับดัก แห่งปี อย่าบอกนะว่าคุณไม่เคยโดน
- ► 06/21 - 06/28 (6)
- ► 06/14 - 06/21 (14)
- ► 06/07 - 06/14 (9)
- ► 05/31 - 06/07 (4)
- ► 05/24 - 05/31 (4)
- ► 05/17 - 05/24 (9)
- ► 05/03 - 05/10 (3)
- ► 04/05 - 04/12 (3)
- ► 03/29 - 04/05 (7)
- ► 03/22 - 03/29 (5)
- ► 03/15 - 03/22 (11)
- ► 03/08 - 03/15 (5)
- ► 03/01 - 03/08 (14)
Labels
- 100เรื่องความเป็นไทย (37)
- ข่าว (13)
- คลายเครียด (1)
- แค่อยากเล่า (41)
- โฆษณาดีๆ (4)
- จุดกำเนิด (3)
- ชุดไทยควรรู้ (8)
- ต้นกล้าอาชีพ (13)
- ตำนานโบราณ (18)
- ทริปริมทาง (7)
- นิยายดีๆ (5)
- บทความดีๆ (30)
- ภาพหาดูอยาก (6)
- รายการ วิกสยาม (7)
- หนังเก่าหน้าดู (1)
- หาเงินทางเน็ท (3)
- otopไทย (7)
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
ผู้สร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงแห่งแรกของไทย
07:05 | เขียนโดย
mikaalls |
แก้ไขบทความ

นายมานิต วสุวัต เกิดที่บ้านหน้าวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๔๐ ในรัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรของพระยาสุนทรพิมล (เผล่ วสุวัต) และคุณหญิงทิม วสุวัต มีพี่น้องร่วมกันอีก ๔ คน คือ นายศุกรี วสุวัต พี่ชาย และมีน้องชายสามคนคือ หลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต) นายกระเศียร วสุวัต และนายกระแส วสุวัต
พี่น้องตระกูลวสุวัตเหล่านี้ ล้วนเป็นผู้สนใจและคิดค้นทดลองเล่นในเรื่องการประดิษฐ์ การช่างเกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไก การถ่ายรูป การถ่ายภาพยนตร์มาตั้งแต่เยาว์วัย โดยเฉพาะนายมานิตได้สนใจคิดค้นและฝึกฝนในการเล่นกล สามารถแสดงกลโดยอาศัยเครื่องมือได้หลายชุด
เมื่อสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนราชวิทยาลัยแล้ว นายมานิตได้เข้ารับราชการในกระทรวงการคลังอยู่ระยะหนึ่ง แล้วย้ายไปทำงานที่โรงไฟฟ้าสามเสน
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๕ นายศุกรี พี่ชายได้ตั้งโรงพิมพ์ศรีกรุงและออกหนังสือพิมพ์รายเดือน ต่อมาปี ๒๔๖๓ ได้ออกหนังสือพิมพ์รายวันสยามราษฎร์
ด้วย ความที่พี่น้องวสุวัตสนใจเครื่องยนต์กลไกมาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะภาพยนตร์ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทันสมัยอย่างหนึ่งในช่วงเวลานั้น ดังนั้นเมื่อทราบว่ากรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ พี่น้องวสุวัตจึงได้ไปติดต่อขอซื้อกล้องถ่ายภาพยนตร์ที่กรมหลวงสรรพสาตรเคย ใช้มาดัดแปลงจนใช้การได้ และได้ประเดิมทดลองถ่ายภาพยนตร์เรื่องแรกโดยนำเอาภาพถ่ายข่าวน้ำท่วมที่ เมืองซัวเถามาถ่ายเป็นภาพยนตร์ข่าวด้วยการนำกิ่งไม้มาขยับเคลื่อนไหวจนดู คล้ายเป็นภาพเคลื่อนไหวจริง ๆ เมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายที่โรงหนังนาครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๔๖๕ ปรากฎว่ามีพี่น้องชาวจีนในกรุงเทพฯสมัยนั้นแตกตื่นไปดูกันจำนวนมาก
จาก ความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่อง " น้ำท่วมเมืองซัวเถา " ทำให้พี่น้องวสุวัตลงมือทดลองถ่ายทำ ภาพยนตร์สารคดีเชิงข่าวสารสารคดีต่อมาเรื่อย ๆ โดยมีหลวงกลการเจนจิตเป็นหัวแรงสำคัญ และนายมานิตซึ่งตอนนี้ได้บริหารกิจการหนังสือพิมพ์แทนพี่ชายที่เสียชีวิต เป็นผู้ให้การสนับสนุนและร่วมงานอย่างใกล้ชิด
จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๗๐ พี่น้องวสุวัตได้หันไปทดลองสร้างภาพยนตร์บันเทิงเป็นครั้งแรกโดยร่วมกับพรรค พวกในขณะหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์และศรีกรุงก่อตั้งเป็นบริษัทสร้างภาพยนตร์ ชื่อกรุงเทพ ฯ ภาพยนตร์บริษัท สร้างภาพยนตร์เรื่อง "โชคสองชั้น "เป็นเรื่องแรก
ความสำคัญของภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่เป็นผล งานเรื่องแรกของกรุงเทพฯภาพยนตร์บริษัทเท่านั้น หากยังได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรก ที่สร้างโดยคนไทยอีกด้วย
สำหรับภาพยนตร์เรื่อง " โชคสองชั้น " นี้ นายมานิต มีบทบาทเป็นผู้อำนวยการสร้างและผู้ประดิษฐ์ศิลป์ หลวงบุณยมานพพานิช นักประพันธ์เจ้าของนามปากกาแสงทอง เป็นผู้เขียนเรื่อง หลวงกลการเจนจิตเป็นผู้ถ่าย นายกระเศียรเป็นผู้ตัดต่อ และหลวงอนุรักษ์รัถการเป็นผู้กำกับการแสดง
เมื่อภาพยนตร์เรื่อง " โชคสองชั้น " ออกฉายเป็นครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ปรากฎว่าได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจนทำให้พี่น้องวสุวัตตัดสินใจสร้าง ภาพยนตร์ต่อในช่วงปลายปีทันทีด้วยภาพยนตร์เรื่อง " ใครดีใครได้ " ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ คณะวสุวัตก็ได้สร้างภาพยนตร์เรื่องที่สามออกฉายต่อไปคือเรื่อง " ใครเปนบ้า " หลังจากนั้นพี่น้องวสุวัตและกรุงเทพฯภาพยนตร์บริษัทได้ยุติการสร้างภาพยนตร์ ลงชั่วคราวโดยหันไปทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับภาพยนตร์เสียงซึ่งเริ่มเป็นที่นิยม แทนภาพยนตร์เงียบอย่างจริงจัง จนถึงขั้นสามารถดัดแปลงประดิษฐ์เครื่องฉายและกล้องถ่ายหนังเงียบที่มีอยู่ ให้กลายเป็นเครื่องฉายและกล้องถ่ายหนังเสียงระบบเสียงในฟิล์มแบบของฝรั่ง สำเร็จพอใช้การได้เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๗๓ จากนั้นจึงได้ทดลองถ่ายทำภาพยนตร์เสียงขนาดสั้น ๆ สองเรื่อง และได้นำออกฉายที่โรงพัฒนากรในปีเดียวกัน ได้รับความสนใจตื่นเต้นในหมู่ผู้ชมเป็นอันมาก
ถึงตอนนี้นายมานิต วสุวัตมองเห็นว่ากิจการสร้างหนังไทยสามารถที่จะเจริญรุ่งเรืองขึ้นต่อไป จึงได้ลงทุนจัดตั้งกิจการสร้างภาพยนตร์บันเทิงในระบบเสียงในฟิล์มขึ้น เรียกชื่อว่าภาพยนตร์เสียงศรีกรุง โดยจัดสร้างห้องแล็บติดตั้งอุปกรณ์พร้อมมูลขึ้นที่ร้านวสุวัต ย่านสะพานขาว และหลังจากใช้เวลาติดตั้งและปรับปรุงเครื่องมือจนสามารถใช้งานได้ผลพอใจแล้ว คณะภาพยนตร์เสียง ศรีกรุงก็ลงมือสร้างภาพยนตร์บันเทิงเสียงในฟิล์มเรื่อง แรก คือ " หลงทาง " สำเร็จออกฉายเป็นการร่วมฉลองกรุงเทพฯ ๑๕๐ ปี เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่โรงหนังพัฒนากร
กิจการภาพยนตร์ เสียงของศรีกรุงเจริญรุดหน้าตามลำดับ ภาพยนตร์ของศรีกรุงประสบความสำเร็จแทบทุกเรื่อง จนทำให้นายมานิตตัดสินใจสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงขนาดใหญ่ติดตั้งอุปกรณ์ ทันสมัย และสมบูรณ์แบบขึ้นที่ ซอยอโศก บางกะปิ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ การก่อสร้างโรงถ่ายแล้วเสร็จในอีกหนึ่งปีต่อมา หลังจากนั้นบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุงก็สามารถผลิตภาพยนตร์เสียงระบบ มาตรฐาน ออกเผยแพร่สู่ประชาชนได้อย่างสม่ำเสมอโดยเฉลี่ยปีละสามถึงสี่เรื่อง เช่น สัตหีบ พญาน้อยชมตลาด เมืองแม่หม้าย เพลงหวานใจ เป็นต้น
แต่แล้ว กิจการสร้างภาพยนตร์ที่เจริญรุ่งเรื่องตลอดมาถึงกาลหยุดชะงักลงเมื่อเกิด สงครามโลกครั้งที่สองขึ้น นายมานิตได้หันไปทุ่มเทให้กับกิจการหนังสือพิมพ์รายวัน สยามราษฎร์และ ศรีกรุงแทน จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงสถานการณ์ของบริษัทภาพยนตร์เสียงศรี กรุงก็ไม่กระเตื้องดีขึ้น เพราะศรีกรุงได้สูญเสียบุคคลผู้เป็นกำลังสำคัญของกิจการนี้ไปหลายคน โดยเฉพาะการเสียชีวิตของหลวงกลการเจนจิตในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ประกอบกับช่วงนั้นความนิยมในหนังพากย์ ๑๖ มิลลิเมตรได้เข้ามาแทนที่ภาพยนตร์ ๓๕ มิลลิเมตร เสียงในฟิล์ม จึงทำให้นายมานิต ตัดสินใจยุติการสร้างภาพยนตร์โดยสินเชิง โดยหันไปเปิดโรงงานผลิตแผ่นเสียงแทน ส่วนโรงถ่ายภาพยนตร์ก็ได้รับการดัดแปลงให้เป็นโรงภาพยนตร์ในชื่อ ศาลาศรีกรุง
ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ นายมานิตได้หวนกลับมาสร้างภาพยนตร์อีกครั้งโดยรวบรวมทายาทในตระกูลวสุวัตจัด ตั้งบริษัทศรีกรุงยุคใหม่ขึ้น แต่กิจการสร้างภาพยนตร์ของศรีกรุงยุคใหม่ดำเนินไปได้สองปีเท่านั้นก็ต้องปิด ตัวเองลงอีกครั้ง เนื่องจากประสบความล้มเหลวมาโดยตลอดหลังจากนั้นชื่อศรีกรุงก็ค่อย ๆ เลือนหายไปกับการกาลเวลา
นายมานิต วสุวัต เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ ด้วยวัย ๘๕ ปี
credit http://www.thaifilm.com/articleDetail.asp?id=43 มาสนับสนุนหนังไทยกันครับ
ป้ายกำกับ:
100เรื่องความเป็นไทย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น