Blog Archive
-
►
2011
(1)
- ► 06/19 - 06/26 (1)
-
►
2010
(7)
- ► 10/24 - 10/31 (1)
- ► 09/19 - 09/26 (1)
- ► 09/12 - 09/19 (2)
- ► 08/22 - 08/29 (1)
- ► 08/15 - 08/22 (2)
-
▼
2009
(195)
- ► 12/06 - 12/13 (2)
- ► 11/22 - 11/29 (1)
- ► 11/15 - 11/22 (1)
- ► 08/23 - 08/30 (1)
- ► 08/16 - 08/23 (2)
- ► 08/09 - 08/16 (5)
- ► 08/02 - 08/09 (9)
- ► 07/26 - 08/02 (15)
- ► 07/19 - 07/26 (21)
- ► 07/12 - 07/19 (22)
- ► 07/05 - 07/12 (13)
- ► 06/28 - 07/05 (9)
- ► 06/21 - 06/28 (6)
- ► 06/14 - 06/21 (14)
- ► 06/07 - 06/14 (9)
- ► 05/31 - 06/07 (4)
- ► 05/24 - 05/31 (4)
- ► 05/17 - 05/24 (9)
- ► 05/03 - 05/10 (3)
- ► 04/05 - 04/12 (3)
- ► 03/29 - 04/05 (7)
- ► 03/22 - 03/29 (5)
- ▼ 03/15 - 03/22 (11)
- ► 03/08 - 03/15 (5)
- ► 03/01 - 03/08 (14)
Labels
- 100เรื่องความเป็นไทย (37)
- ข่าว (13)
- คลายเครียด (1)
- แค่อยากเล่า (41)
- โฆษณาดีๆ (4)
- จุดกำเนิด (3)
- ชุดไทยควรรู้ (8)
- ต้นกล้าอาชีพ (13)
- ตำนานโบราณ (18)
- ทริปริมทาง (7)
- นิยายดีๆ (5)
- บทความดีๆ (30)
- ภาพหาดูอยาก (6)
- รายการ วิกสยาม (7)
- หนังเก่าหน้าดู (1)
- หาเงินทางเน็ท (3)
- otopไทย (7)
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
การประหารชีวิตด้วยดาบ
05:06 | เขียนโดย
mikaalls |
แก้ไขบทความ
เครื่องลงทัณฑ์เกี่ยวกับการประหารชีวิตด้วยดาบ
1. ดาบ
![]() | ดาบที่ใช้ในการประหารชีวิตนั้น มีรูปร่างต่างๆกัน ดาบ เก่าครูเพชฌฆาตจะจัดทำขึ้น เช่น ดาบปลายแหลม ดาบปลายตัด ดาบหัวปลาไหล ดาบมีฝักและสายสะพายพร้อม เท่าที่ปรากฎ อยู่ในพิพิธภัณฑ์ของกรมราชทัณฑ์ขณะนี้มีอยู่ 3 แบบคือ ดาบ หัวปลาไหล ดาบปลายแหลม ดาบหัวตัด ปรากฎหลักฐานแน่ ชัดว่าเริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยกฎหมาย พระอัยการขบถ ศึก จุลศักราช 796 (พ.ศ. 1978) เลิกใช้สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตรงกับแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โดยพระราชบัญญัติแก้ไขพิ่มเติมประมวลกฎหมาย ลักษณะอาญา ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2477 |
2. มีดตัดสายมงคล
มีดตัดสายมงคล ชาวบ้านเรียกว่า "มีดหมอ" มีไว้สำหรับ ตัดสายมงคลที่ล้อมลานพิธีประหารชีวิตเท่านั้น การตัดสาย มงคลจะใช้มีดชนิดอื่นไม่ได้ ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับพิธีทางไสย- ศาสตร์ ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยา โดย กฎหมาย "พระอัยการขบถศึก" จุลศักราช 796 (พ.ศ. 1978) เลิก ใช้สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตรงกับแผ่นดินของพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม เติมประมวลกฎหมาย ลักษณะอาญา ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2477 | ![]() |
3. มีดตัดส้นเท้า
![]() | มีดตัดส้นเท้า ผู้ร้ายอุกฉกรรจ์มหันตโทษ ที่ถูกประหาร ชีวิต ที่ข้อเท้าจะถูกตีตรวนขนาดใหญ่ให้ห่วงของตรวนรัดติด แน่นกับข้อเท้าจนไม่สามารถรูดออกทางส้นเท้าได้ เมื่อถูก ประหารชีวิตแล้วจึงใช้มีดสับส้นเท้า เพื่อถอดตรวนข้อเท้าออก ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยกฎ- หมาย "พระอัยการขบถศึก" จุลศักราช 796 (พ.ศ. 1978) เลิกใช้ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 5) ร.ศ.131 (พ.ศ. 2455) เนื่องจากมีตรวนข้อเท้าที่สามารถไขได้ด้วยกุญแจมาใช้แทน |
4. คบเพลิงสำหรับส่องทาง
คบเพลิงสำหรับส่องทาง การนำนักโทษประหารออกจากคุก ไปตัดหัวที่วัด มักนำนักโทษลงเรือพายไปตามลำคลองให้ทันเวลา ย่ำรุ่งประมาณ 03.00 นาฬิกา ซึ่งยังมืดมากต้องใช้คบเพลิงส่องให้ แสงสว่างขณะเดินทาง | ![]() |
5. หลักไม้กางเขน
![]() | หลักไม้กางเขน ใช้เป็นหลักประหารนักโทษที่ถูกประหาร ด้วยดาบเพชฌฆาต จะนำนักโทษประหารเข้าไปนั่งผูกติดกับ หลักไม้กางเขนเรียกว่า "มัดแบบกาจับหลัก" วิธีปักหลักไม้ กางเขน มัดนักโทษ ครูเพชฌฆาต ต้องขุดหลุมเสกคาถาเรียก แม่ธรณี แล้วเอาไม้กางเขนปักลงกลบให้แน่น เขียนยันต์ลงที่ ดินหน้าไม้กางเขนตรงก้น นักโทษที่จะนั่ง แล้วเอาใบตอง 3 ยอด ปูให้นักโทษนั่งบนใบตองเอาด้ายดิบที่เสกแล้ว มัดแขน ด้านหลัง ติดกับกลักกางเขน ทำพิธีเสกดินอุดหูสะกดให้นัก- โทษสงบจิต ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มใช้ตั้งแต่สมัยกรุงศรี- อยุธยา โดยกฎหมาย "พระอัยการขบถศึก" เลิกใช้สมัยรัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ.2477 เปลี่ยนแปลงการ ลงโทษอาญาประหารชีวิตด้วยดาบเป็นยิงด้วยปืน |
6. ขันทำน้ำมนต์
ขันทำน้ำมนต์ ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ เป็นภาชนะสำหรับ เพชฌฆาตทำน้ำมนต์ก่อนและหลังพิธีตัดคอนักโทษ เพื่อใช้น้ำ มนต์ในขันปัดรังควานและอาบหรือพรมตามร่างกาย เป็นการ ป้องกันวิญญาณร้ายเข้าสิงร่างกาย ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่า เริ่มใช้ สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยกฎหมาย "พระอัยการขบถศึก" จุลศักราช 796 (พ.ศ.1978) เลิกใช้สมัยรัชกาลที่ 7 แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ เมื่อมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล กฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ. 2477 เปลี่ยนการลงโทษอาญา ประหารชีวิตด้วยดาบเป็นยิงด้วยปืน | ![]() |
7. ธงแดง
![]() | ธงแดง ธงทำด้วยผ้าสีแดง ด้ามทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ 23 นิ้ว สำหรับ ปักในบริเวณลานประหารเพื่อให้รู้ว่าบริเวณนี้มีพิธีประหารชีวิต ห้ามฝูงชน มากีดขวางบริเวณที่มีธงแดง |
8. ศาลเพียงตา
ศาลเพียงตา มีลักษณะสองชั้นทำด้วยไม้เนื้อแข็งติดกันยกหรือเคลื่อนย้ายได้ สะดวกแก่การนำไปใช้ในการประหารชีวิต ชั้นล่างสำหรับวางดาบประหาร ชั้น บนสำหรับวางถาดใส่อาหาร เครื่องเซ่นสังเวยเมื่อนำนักโทษไปถึงแดน ประหาร แล้ว เพชฌฆาตที่เป็นหัวหน้าเรียกว่า ครูเพชฌฆาตเป็นผู้ประกอบ พิธีบวงสรวง สังเวยเทพยดาและภูตผีต่างๆ ตลอดจนผีตายโหงที่เคยฆ่า เมื่อบริกรรมเสร็จแล้ว จะเรียกเพชฌฆาตดาบหนึ่งดาบสองเข้าในวงพิธี โดยนั่งหน้าศาลเพียงตาแล้วร่วม พิธีบวงสรวงครูเพชฌฆาตจะนำเอาแป้งกระแจะเจิมหน้าเพชฌฆาตทั้งสองเมื่อ บวงสรวงเสร็จแล้ว มอบดาบจากศาลเพียงตาส่งให้เพชฌฆาตทั้งสองทำหน้าที่ ประหารชีวิตต่อไป | ![]() |
9. ไม้เสาหลักกลม
![]() | ไม้เสาหลักกลม การประหารชีวิตในสมัยโบราณทำพิธีกันกลางทุ่งแจ้ง และใช้เวลานาน ไม้เสาหลักกลมมีไว้สำหรับขึงผ้ากันแดดและกันฝูงชนมิให้รุกล้ำเข้ามาในระหว่างทำพิธีสังเวย หรือบวงสรวง |
10. ถาดทองเหลือง
ถาดทองเหลือง ก่อนการประหารชีวิตเพชฌฆาตต้องทำพิธีไหว้ครู และสักการะสิ่งเคารพบูชาตามที่ตนเลื่อมใสเพื่อให้มีจิตใจมั่นคง เพราะ การฆ่าคนก็เกรงกลัวแรงผีเข้าสิง ภาชนะที่ใช้ในพิธี บวงสรวง ประกอบ ด้วย ถาดทองเหลืองมีเชิงและลวดลาย ถ้วยชามกระเบื้องลักษณะมีลาย สีน้ำเงิน เหมือนชามสังคโลก สำหรับใส่ของหวานและน้ำจิ้ม เพื่อเซ่น สังเวยเทพยดาฟ้าดิน เครื่องสังเวยประกอบด้วยหัวหมูซ้ายขวา เป็ดหนึ่ง ไก่หนึ่ง ปลาแปะซะหนึ่ง พร้อมน้ำจิ้ม บายศรีกล้วยน้ำไทย 1 หวี มะพร้าว อ่อน 1 ลูก ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว สิ่งละถ้วย ขนมธรรมดาอีก 4 ถ้วย เหล้าโรง 2 ขวด ดอกไม้พร้อมด้วยธูป 1 ซอง เทียน 9 เล่ม | ![]() |
11. ถ้วยเคลือบดินเผา
![]() | ถ้วยเคลือบดินเผา สำรับอีกหนึ่งชุด ลักษณะเป็นถ้วย เคลือบ ดินเผามี 5 ใบ สำหรับใส่อาหารคาวหวานให้นักโทษ ประหารกินเป็นมื้อสุดท้ายก่อนถูกตัดหัว ทั้งเครื่องเซ่นสังเวย บวงสรวงและอาหารผู้ต้องโทษ มีฝาชีครอบไว้เรียบร้อย |
12. ฝาชีครอบถาด
ฝาชีครอบถาด ใช้สำหรับครอบถาดทองเหลืองที่มีเครื่อง เซ่นสังเวยบวงสรวง และสำหรับอาคารคาว หวานให้นักโทษ ประหารกินเป็นมื้อสุดท้ายก่อนตัดหัว เพื่อกันไม่ให้ตัวแมลง หรือสิ่งสกปรก ตอมอาหาร | ![]() |
ป้ายกำกับ:
ตำนานโบราณ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น