ขับเคลื่อนโดย Blogger.

เครื่องลงทัณฑ์เกี่ยวกับการประหารชีวิตด้วยดาบ

1. ดาบ

ดาบที่ใช้ในการประหารชีวิตนั้น มีรูปร่างต่างๆกัน ดาบ
เก่าครูเพชฌฆาตจะจัดทำขึ้น เช่น ดาบปลายแหลม ดาบปลายตัด
ดาบหัวปลาไหล ดาบมีฝักและสายสะพายพร้อม เท่าที่ปรากฎ
อยู่ในพิพิธภัณฑ์ของกรมราชทัณฑ์ขณะนี้มีอยู่ 3
แบบคือ ดาบ
หัวปลาไหล ดาบปลายแหลม ดาบหัวตัด ปรากฎหลักฐานแน่
ชัดว่าเริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยกฎหมาย พระอัยการขบถ
ศึก จุลศักราช 796 (พ.ศ. 1978
) เลิกใช้สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ตรงกับแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 7
โดยพระราชบัญญัติแก้ไขพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
ลักษณะอาญา ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2477

2. มีดตัดสายมงคล

มีดตัดสายมงคล ชาวบ้านเรียกว่า "มีดหมอ" มีไว้สำหรับ
ตัดสายมงคลที่ล้อมลานพิธีประหารชีวิตเท่านั้น การตัดสาย
มงคลจะใช้มีดชนิดอื่นไม่ได้ ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับพิธีทางไสย-
ศาสตร์ ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยา โดย
กฎหมาย "พระอัยการขบถศึก" จุลศักราช 796 (พ.ศ. 1978
) เลิก
ใช้สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตรงกับแผ่นดินของพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7
โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม
เติมประมวลกฎหมาย ลักษณะอาญา ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2477

3. มีดตัดส้นเท้า

มีดตัดส้นเท้า ผู้ร้ายอุกฉกรรจ์มหันตโทษ ที่ถูกประหาร
ชีวิต ที่ข้อเท้าจะถูกตีตรวนขนาดใหญ่ให้ห่วงของตรวนรัดติด
แน่นกับข้อเท้าจนไม่สามารถรูดออกทางส้นเท้าได้ เมื่อถูก
ประหารชีวิตแล้วจึงใช้มีดสับส้นเท้า เพื่อถอดตรวนข้อเท้าออก
ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยกฎ-
หมาย "พระอัยการขบถศึก" จุลศักราช 796 (พ.ศ. 1978
) เลิกใช้
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 5) ร.ศ.131 (พ.ศ. 2455
)
เนื่องจากมีตรวนข้อเท้าที่สามารถไขได้ด้วยกุญแจมาใช้แทน

4. คบเพลิงสำหรับส่องทาง

คบเพลิงสำหรับส่องทาง การนำนักโทษประหารออกจากคุก
ไปตัดหัวที่วัด มักนำนักโทษลงเรือพายไปตามลำคลองให้ทันเวลา
ย่ำรุ่งประมาณ 03.00
นาฬิกา ซึ่งยังมืดมากต้องใช้คบเพลิงส่องให้
แสงสว่างขณะเดินทาง

5. หลักไม้กางเขน

หลักไม้กางเขน ใช้เป็นหลักประหารนักโทษที่ถูกประหาร
ด้วยดาบเพชฌฆาต จะนำนักโทษประหารเข้าไปนั่งผูกติดกับ
หลักไม้กางเขนเรียกว่า "มัดแบบกาจับหลัก" วิธีปักหลักไม้
กางเขน มัดนักโทษ ครูเพชฌฆาต ต้องขุดหลุมเสกคาถาเรียก
แม่ธรณี แล้วเอาไม้กางเขนปักลงกลบให้แน่น เขียนยันต์ลงที่
ดินหน้าไม้กางเขนตรงก้น นักโทษที่จะนั่ง แล้วเอาใบตอง 3

ยอด ปูให้นักโทษนั่งบนใบตองเอาด้ายดิบที่เสกแล้ว มัดแขน
ด้านหลัง ติดกับกลักกางเขน ทำพิธีเสกดินอุดหูสะกดให้นัก-
โทษสงบจิต ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มใช้ตั้งแต่สมัยกรุงศรี-
อยุธยา โดยกฎหมาย "พระอัยการขบถศึก" เลิกใช้สมัยรัชกาลที่
7
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ.2477
เปลี่ยนแปลงการ
ลงโทษอาญาประหารชีวิตด้วยดาบเป็นยิงด้วยปืน

6. ขันทำน้ำมนต์

ขันทำน้ำมนต์ ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ เป็นภาชนะสำหรับ
เพชฌฆาตทำน้ำมนต์ก่อนและหลังพิธีตัดคอนักโทษ เพื่อใช้น้ำ
มนต์ในขันปัดรังควานและอาบหรือพรมตามร่างกาย เป็นการ
ป้องกันวิญญาณร้ายเข้าสิงร่างกาย ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่า
เริ่มใช้ สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยกฎหมาย "พระอัยการขบถศึก"
จุลศักราช 796 (พ.ศ.1978) เลิกใช้สมัยรัชกาลที่ 7
แห่งกรุง
รัตนโกสินทร์ เมื่อมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ. 2477
เปลี่ยนการลงโทษอาญา
ประหารชีวิตด้วยดาบเป็นยิงด้วยปืน

7. ธงแดง

ธงแดง ธงทำด้วยผ้าสีแดง ด้ามทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ 23 นิ้ว สำหรับ
ปักในบริเวณลานประหารเพื่อให้รู้ว่าบริเวณนี้มีพิธีประหารชีวิต ห้ามฝูงชน
มากีดขวางบริเวณที่มีธงแดง

8. ศาลเพียงตา

ศาลเพียงตา มีลักษณะสองชั้นทำด้วยไม้เนื้อแข็งติดกันยกหรือเคลื่อนย้ายได้
สะดวกแก่การนำไปใช้ในการประหารชีวิต ชั้นล่างสำหรับวางดาบประหาร ชั้น
บนสำหรับวางถาดใส่อาหาร เครื่องเซ่นสังเวยเมื่อนำนักโทษไปถึงแดน ประหาร
แล้ว เพชฌฆาตที่เป็นหัวหน้าเรียกว่า ครูเพชฌฆาตเป็นผู้ประกอบ พิธีบวงสรวง
สังเวยเทพยดาและภูตผีต่างๆ ตลอดจนผีตายโหงที่เคยฆ่า เมื่อบริกรรมเสร็จแล้ว
จะเรียกเพชฌฆาตดาบหนึ่งดาบสองเข้าในวงพิธี โดยนั่งหน้าศาลเพียงตาแล้วร่วม
พิธีบวงสรวงครูเพชฌฆาตจะนำเอาแป้งกระแจะเจิมหน้าเพชฌฆาตทั้งสองเมื่อ
บวงสรวงเสร็จแล้ว มอบดาบจากศาลเพียงตาส่งให้เพชฌฆาตทั้งสองทำหน้าที่
ประหารชีวิตต่อไป

9. ไม้เสาหลักกลม

ไม้เสาหลักกลม การประหารชีวิตในสมัยโบราณทำพิธีกันกลางทุ่งแจ้ง และใช้เวลานาน
ไม้เสาหลักกลมมีไว้สำหรับขึงผ้ากันแดดและกันฝูงชนมิให้รุกล้ำเข้ามาในระหว่างทำพิธีสังเวย
หรือบวงสรวง

10. ถาดทองเหลือง

ถาดทองเหลือง ก่อนการประหารชีวิตเพชฌฆาตต้องทำพิธีไหว้ครู
และสักการะสิ่งเคารพบูชาตามที่ตนเลื่อมใสเพื่อให้มีจิตใจมั่นคง เพราะ
การฆ่าคนก็เกรงกลัวแรงผีเข้าสิง ภาชนะที่ใช้ในพิธี บวงสรวง ประกอบ
ด้วย ถาดทองเหลืองมีเชิงและลวดลาย ถ้วยชามกระเบื้องลักษณะมีลาย
สีน้ำเงิน เหมือนชามสังคโลก สำหรับใส่ของหวานและน้ำจิ้ม เพื่อเซ่น
สังเวยเทพยดาฟ้าดิน เครื่องสังเวยประกอบด้วยหัวหมูซ้ายขวา เป็ดหนึ่ง
ไก่หนึ่ง ปลาแปะซะหนึ่ง พร้อมน้ำจิ้ม บายศรีกล้วยน้ำไทย 1
หวี มะพร้าว
อ่อน 1 ลูก ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว สิ่งละถ้วย ขนมธรรมดาอีก 4
ถ้วย
เหล้าโรง 2 ขวด ดอกไม้พร้อมด้วยธูป 1 ซอง เทียน 9 เล่ม

11. ถ้วยเคลือบดินเผา

ถ้วยเคลือบดินเผา สำรับอีกหนึ่งชุด ลักษณะเป็นถ้วย
เคลือบ ดินเผามี 5
ใบ สำหรับใส่อาหารคาวหวานให้นักโทษ
ประหารกินเป็นมื้อสุดท้ายก่อนถูกตัดหัว ทั้งเครื่องเซ่นสังเวย
บวงสรวงและอาหารผู้ต้องโทษ มีฝาชีครอบไว้เรียบร้อย

12. ฝาชีครอบถาด

ฝาชีครอบถาด ใช้สำหรับครอบถาดทองเหลืองที่มีเครื่อง
เซ่นสังเวยบวงสรวง และสำหรับอาคารคาว หวานให้นักโทษ
ประหารกินเป็นมื้อสุดท้ายก่อนตัดหัว เพื่อกันไม่ให้ตัวแมลง
หรือสิ่งสกปรก ตอมอาหาร

0 ความคิดเห็น: