Blog Archive
-
►
2011
(1)
- ► 06/19 - 06/26 (1)
-
►
2010
(7)
- ► 10/24 - 10/31 (1)
- ► 09/19 - 09/26 (1)
- ► 09/12 - 09/19 (2)
- ► 08/22 - 08/29 (1)
- ► 08/15 - 08/22 (2)
-
▼
2009
(195)
- ► 12/06 - 12/13 (2)
- ► 11/22 - 11/29 (1)
- ► 11/15 - 11/22 (1)
- ► 08/23 - 08/30 (1)
- ► 08/16 - 08/23 (2)
- ► 08/09 - 08/16 (5)
- ► 08/02 - 08/09 (9)
- ► 07/26 - 08/02 (15)
- ► 07/19 - 07/26 (21)
- ► 07/12 - 07/19 (22)
- ► 07/05 - 07/12 (13)
- ► 06/28 - 07/05 (9)
- ► 06/21 - 06/28 (6)
- ► 06/14 - 06/21 (14)
- ► 06/07 - 06/14 (9)
- ► 05/31 - 06/07 (4)
- ► 05/24 - 05/31 (4)
- ► 05/17 - 05/24 (9)
- ► 05/03 - 05/10 (3)
- ► 04/05 - 04/12 (3)
- ► 03/29 - 04/05 (7)
- ▼ 03/22 - 03/29 (5)
- ► 03/15 - 03/22 (11)
- ► 03/08 - 03/15 (5)
- ► 03/01 - 03/08 (14)
Labels
- 100เรื่องความเป็นไทย (37)
- ข่าว (13)
- คลายเครียด (1)
- แค่อยากเล่า (41)
- โฆษณาดีๆ (4)
- จุดกำเนิด (3)
- ชุดไทยควรรู้ (8)
- ต้นกล้าอาชีพ (13)
- ตำนานโบราณ (18)
- ทริปริมทาง (7)
- นิยายดีๆ (5)
- บทความดีๆ (30)
- ภาพหาดูอยาก (6)
- รายการ วิกสยาม (7)
- หนังเก่าหน้าดู (1)
- หาเงินทางเน็ท (3)
- otopไทย (7)
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
ความเชื่อเรื่อง สงกรานต์
06:07 | เขียนโดย
mikaalls |
แก้ไขบทความ

ความเชื่อเรื่อง สงกรานต์
สงกรานต์ แปล ว่า การเคลื่อนที่ การย้ายที่ คือ พระอาทิตย์ย่างขึ้นสู่ราศีเมษ (เดือนเมษายน) นักขัตฤกษ์เนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่าของไทย ซึ่งกำหนดตามสุริยคติ ตรงกับวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ เมษายน
ตามปรกติสงกรานต์เป็นพิธีแสดงความยินดีที่ได้มีชีวิตย่างขึ้นปีใหม่ เรียกว่า รับปีใหม่
วันปีใหม่ คือวันมหาสงกรานต์ ได้แก่วันที่ ๑๓ เมษายน
ส่วนวันที่ ๑๔ เป็นวันเนา คือ วันพักผ่อนหรือทำบุญ
และวันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระยาวัน หรือ พญาวัน คือวันขึ้นศักราชใหม่
ตำนาน สงกรานต์ปรากฏในจารึกที่วัดพระเชตุพนว่า เศรษฐีคนหนึ่งไม่มีบุตรบ้านอยู่ใกล้กับบ้านนักเลงสุรา นักเลงสุรานั้นมีบุตรสองคน มีผิวเนื้อเหมือนทอง
วันหนึ่งนักเลงสุรานั้นได้เข้าไปกล่าวคำหยาบช้าต่อเศรษฐี
เศรษฐีจึงถามว่า เหตุไรจึงมาหมิ่นประมาทเราผู้มีสมบัติมาก
นักเลงสุราจึงตอบว่า ถึงท่านมีสมบัติก็ไม่มีบุตรตายแล้วก็จะสูญเปล่า เรามีบุตรเห็นว่าประเสริฐกว่าท่าน
เศรษฐีมีความละอายจึงบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์ ตั้งอธิษฐานขอบุตรถึง ๓ ปี ก็ไม่มีบุตร
อยู่ มาถึงวันนักขัตฤกษ์สงกรานต์ พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีจึงพาบริวารไปที่ต้นไทรริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งมีฝูงนกอาศัยอยู่ ได้เอาข้าวสารล้างน้ำ ๗ ครั้ง แล้วหุงบูชาพระไทร ประโคมปี่พาทย์ ตั้งอธิษฐานขอบุตร
พระไทรมีความสงสารเศรษฐีจึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ พระอินทร์ได้ให้ธรรมบาลเทพบุตร ลงมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี
เมื่อ ภรรยาเศรษฐีตั้งครรภ์ครบกำหนดแล้ว ได้คลอดบุตรออกมาเป็นชาย ให้ชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร และปลูกปราสาท ๗ ชั้นที่ใต้ต้นไทรริมฝั่งแม่น้ำนั้นให้ธรรมบาลกุมารอยู่
ธรรมบาลกุมารเจริญวัยขึ้นก็รู้ภาษานก และเรียนไตรเพทจบเมื่ออายุได้ ๗ ขวบ ได้เป็นอาจารย์บอกมงคลการต่าง ๆ แก่มนุษย์
ใน ขณะนั้นโลกทั้งหลายนับถือท้าวกบิลพรหมองค์หนึ่งว่าเป็นผู้แสดงมงคลแก่มนุษย์ ทั้งปวง เมื่อกบิลพรหมทราบกิตติศัพท์ของธรรมบาล จึงลงมาถามปัญหาธรรมบาลกุมาร ๓ ข้อ
ทำสัญญากันไว้ว่า ถ้าแก้ปัญหาได้จะตัดศีรษะบูชา ถ้าแก้ไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย
ปัญหานั้นมีว่า
ข้อ ๑ เช้าราศีอยู่แห่งใด
ข้อ ๒ เที่ยงราศีอยู่แห่งใด
ข้อ ๓ ค่ำราศีอยู่แห่งใด
ธรรมบาล กุมารขอผัด ๗ วัน ครั้นล่วงไปได้ ๖ วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดไม่ออก เกรงว่าจะตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม จึงหนีลงมาจากปราสาทไปนอนอยู่ใต้ต้นตาล ซึ่งมีนกอินทรีสองตัวผัวเมียทำรังอาศัยอยู่
พอตกค่ำได้ยินนางนก อินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารที่ไหน นกอินทรีสามีบอกว่าจะได้กินธรรมบาลกุมารซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเพราะทายปัญหา ไม่ออก
นางนกถามว่า ปัญหานั้นว่าอย่างไร
สามีบอกว่า ปัญหามีอยู่ ๓ ข้อ
ข้อ ๑ เช้าราศีอยู่แห่งใด
ข้อ ๒ เที่ยงราศีอยู่แห่งใด
ข้อ ๓ ค่ำราศีอยู่แห่งใด
นางนกถามว่าจะแก้อย่างไร
สามีบอกว่า
เช้าราศีอยู่ที่หน้า มนุษย์ทั้งหลายจึงล้างหน้าในตอนเช้า
เที่ยงราศีอยู่ที่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก
ค่ำราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์ทั้งหลายจึงล้างเท้าก่อนนอน
ธรรมบาลกุมารได้ยินดังนั้นจึงกลับไปยังปราสาท ครั้นรุ่งขึ้นท้าวกบิลมหาพรหมมาถามปัญหา ธรรมบาลกุมารก็แก้ตามที่ได้ยินมา
ท้าวกบิลมหาพรหมจึงตรัสเรียกเทพธิดาทั้งเจ็ด อันเป็นบริจาริกาพระอินทร์มาพร้อมกัน บอกว่าตนจะตัดศีรษะบูชาธรรมบาลกุมาร
แต่ศีรษะนั้นถ้าจะตั้งไว้บนแผ่นดินไฟจะไหม้โลก ถ้าทิ้งไปบนอากาศฝนจะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง
จึง ให้ธิดาทั้งเจ็ดนั้นเอาพานมารับที่ศีรษะ แล้วก็ตัดศีรษะส่งให้ธิดาผู้ใหญ่ นางจึงเอาพานมารับพระเศียรบิดาไว้แล้วแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ ๖๐ นาที จึงเชิญไปประดิษฐานไว้ในมณฑปถ้ำคันธธุลีเขาไกรลาส บูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่าง ๆ
พระเวสสุกรรมมาเนรมิตโรงประดับด้วย แก้ว ๗ ประการ ชื่อ ภควดี ให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็นำเอาเถาฉมูนาคลงมาล้างในสระอโนดาต ๗ ครั้ง แล้วแจกกันสังเวยทุกๆ พระองค์
ครั้นถึงครบ กำหนด ๓๖๕ วัน โลกสมมติว่าปีหนึ่ง เป็นสงกรานต์ นางเทพธิดา ๗ องค์ จึงผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลมหาพรหม ออกแห่ประทักษิณเขาพระสุเมรุทุกปี แล้วกลับไปเทวโลก
ลูกสาว ทั้งเจ็ดของท้าวกบิลพรหมนั้น เราสมมติเรียกว่า ตัวสงกรานต์ หรือ นางสงกรานต์ ซึ่งมีชื่อต่าง ๆ กัน และมีดอกไม้ เครื่องประดับ อาหาร อาวุธ และสัตว์เป็นพาหนะประจำต่างกันด้วย
คนสมัยก่อนถือเรื่องตัวนาง สงกรานต์มาก เมื่อจะถึงวันสงกรานต์ก็ถามกันว่า ปีนี้นางสงกรานต์กินอะไร ถืออะไร มีอาการอย่างไร เช่น ถ้านางสงกรานต์กินเลือดก็เชื่อกันว่า ปีนั้นจะมีการตีกันหัวร้างข้างแตก หรือมีอุบัติเหตุ มีผู้เสียชีวิตมาก เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในเรื่องของนาคให้น้ำ ซึ่งมีตั้งแต่ตัวเดียวถึงเจ็ดตัว
ถ้าปีใดนาคให้น้ำตัวเดียวปีนั้นฝนจะอุดมสมบูรณ์ แต่ถ้าปีใดมีนาคให้น้ำมากกว่าหนึ่งตัว ฝนจะตกน้อยลงเพราะนาคมักจะเกี่ยงกันนั่นเอง
ป้ายกำกับ:
ตำนานโบราณ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น