Blog Archive
-
►
2011
(1)
- ► 06/19 - 06/26 (1)
-
►
2010
(7)
- ► 10/24 - 10/31 (1)
- ► 09/19 - 09/26 (1)
- ► 09/12 - 09/19 (2)
- ► 08/22 - 08/29 (1)
- ► 08/15 - 08/22 (2)
-
▼
2009
(195)
- ► 12/06 - 12/13 (2)
- ► 11/22 - 11/29 (1)
- ► 11/15 - 11/22 (1)
- ► 08/23 - 08/30 (1)
- ► 08/16 - 08/23 (2)
- ► 08/09 - 08/16 (5)
- ► 08/02 - 08/09 (9)
- ► 07/26 - 08/02 (15)
- ► 07/19 - 07/26 (21)
- ► 07/12 - 07/19 (22)
- ► 07/05 - 07/12 (13)
-
▼
06/28 - 07/05
(9)
- ตำนาน สยามเริ่มบิน
- ผู้สร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงแห่งแรกของไทย
- วันเข้าพรรษาที่วัยรุ่นไทย(พุทธ)หลงลืม
- แนะนำบทความ ผู้ชายไม่สนโรแมนติกจริงรึ?
- เอาคำขวัญวันเด็มาให้ดู
- ยุวชนทหาร อดีตที่ควรรู้
- ตำนานปัตตานี นครแห่งสันติ
- ตำนานอิสลามชายแดนใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
- รวม 10 สุดยอด กับดัก แห่งปี อย่าบอกนะว่าคุณไม่เคยโดน
- ► 06/21 - 06/28 (6)
- ► 06/14 - 06/21 (14)
- ► 06/07 - 06/14 (9)
- ► 05/31 - 06/07 (4)
- ► 05/24 - 05/31 (4)
- ► 05/17 - 05/24 (9)
- ► 05/03 - 05/10 (3)
- ► 04/05 - 04/12 (3)
- ► 03/29 - 04/05 (7)
- ► 03/22 - 03/29 (5)
- ► 03/15 - 03/22 (11)
- ► 03/08 - 03/15 (5)
- ► 03/01 - 03/08 (14)
Labels
- 100เรื่องความเป็นไทย (37)
- ข่าว (13)
- คลายเครียด (1)
- แค่อยากเล่า (41)
- โฆษณาดีๆ (4)
- จุดกำเนิด (3)
- ชุดไทยควรรู้ (8)
- ต้นกล้าอาชีพ (13)
- ตำนานโบราณ (18)
- ทริปริมทาง (7)
- นิยายดีๆ (5)
- บทความดีๆ (30)
- ภาพหาดูอยาก (6)
- รายการ วิกสยาม (7)
- หนังเก่าหน้าดู (1)
- หาเงินทางเน็ท (3)
- otopไทย (7)
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
ตำนาน สยามเริ่มบิน
07:17 | เขียนโดย
mikaalls |
แก้ไขบทความ
ช่วงนี้เห็นสายการบินต้นทุนต่ำแข่งกันลดราคา แล้วก้อยากไปเครื่องบินกะเขามั้ง เลยสงสับว่าเครื่องบินเข้ามาในประเทศไทยสมัยใหน เคยดูผ่านๆตามาในหนังเรื่องรักสยามเท่าฟ้าแต่จำไม่ได้เลยไปลองค้นมาก้เจอ
การบินเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่สมัยที่เรายังใช้ช้างเป็นพาหนะ สำคัญในการขนส่งทางบก และมีเรือพายเรือแจวแล่นลอยเต็มลำน้ำลำคลอง ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โดยมีนักบินชาวเบลเยี่ยมคือ นายวัลเดน เบอร์น (Vanden Born) ได้นำเครื่องบินแบบออร์วิลล์ ไรท์ (Orwille Wright) มาสาธิตการบินถวายให้ทอดพระเนตร และให้ประชาชนในกรุงเทพฯ ชม เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2454 ณ สนามราชกรีฑาสโมสร ปทุมวัน นับเป็นเครื่องบินลำแรกที่บินเข้ามาในราชอาณาจักร โดย นายพลตรีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน (พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน) ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และจเรทหารช่างแห่งกองทัพบก ได้ทรงเป็นผู้โดยสารที่ขึ้นบินทดลองชุดแรก เมื่อเสร็จการแสดงแล้วได้ทรงซื้อเครืองบินนั้นไว้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และในปี พ.ศ. 2454 นั้นเอง กระทรวงกลาโหม ได้ส่งนายทหารไทย 3 นาย ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส เมืองวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 ได้แก่
นายพันตรีหลวงศักดิ์ ศัลยาวุธ (นายสุณี สุวรรณประทีป)
นายร้อยเอกหลวงอาวุธ สิขิกร (นายหลง สิน-ศุข) และ
นายร้อยโททิพย์ เกตุทัต
เมื่อนายทหารทั้ง 3 นาย จบการศึกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงให้จัดซื้อเครื่องบินบรรทุกเรือกลับมาประเทศไทย จำนวน 8 ลำ เป็นเครื่องบินที่ทางราชการซื้อ 7 ลำ และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ซื้อให้ทางราชการ 1 ลำ หลังจากนั้นได้มีการก่อตั้งแผนกการบินทหารโดยใช้สนามราชกรีฑาสโมสรเป็นสนาม บิน และสร้างโรงเก็บเครื่องบินขึ้นในบริเวณนั้น และในปี พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการก่อสร้างสนามบินดอนเมืองแล้วเสร็จ เพื่อเป็นสนามบินที่ใช้ในกิจการทหาร และได้เลื่อนฐานะแผนกการบินทหารยกขึ้นเป็นกรม และได้เคลื่อนย้ายจากสนามราชกรีฑาสโมสรไปสู่ที่ตั้งใหม่ที่ดอนเมืองจนถึงปี พ.ศ. 2491 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้เข้ามาอยู่ในการควบคุมดูแลของกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ (และในปี พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานกรุงเทพ แต่ยังคงสังกัดกองทัพอากาศอยู่) ท่าอากาศยานดอนเมืองให้เป็นสนามบินหลักของประเทศ และได้รับการพัฒนาสร้างเสริมต่อเติมมาจนกระทั่งปัจจุบัน
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น และใน พ.ศ. 2461 ไทยได้ส่งทหารอาสาเข้าร่วมการรบด้วย 300 คน ทหารอาสาของไทยได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่อการขับเครื่องบินและเลยไปถึงการสร้าง เครื่องบินจากทหารฝรั่งเศส เมื่อสิ้นสงครามโลกปรากฏว่าไทยมีนักบินที่มีคุณสมบิตครบถ้วนมากกว่า 100 คน ประชาชนชาวไทยต่างพร้อมในกันบริจาคเงินซื้อเครื่องบินให้กับทางราชการ (กระทรวงกลาโหม) ได้รับเงินบริจาคเป็นจำนวนมากจากจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยใช้ชื่อของจังหวัดที่บริจาคเงินเป็นชื่อของเครื่องบินได้เป็นจำนวนมากถึง 31 ลำ
เมื่อ พ.ศ. 2462 ได้มีการทดลองทำการบินรับส่งไปรษณีย์ระหว่างกรุงเทพฯ กับจันทบุรีด้วยเครื่องบินเบรเกต์ (Breguet XIV) ซึ่งเป็นเครื่องบินทหารที่ได้ดัดแปลงมาใช้งานขนส่งทางอากาศ นับว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้ามาสู่การบินก่อนหน้าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ การทดลองทำการบินได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ต่อมาจึงได้มีการขนส่งผู้โดยสารในเส้นทางนี้ด้วย
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2463 กรมอากาศยานทหารบกได้เปิดการบินรับส่งไปรษณีย์ระหว่างจังหวัดนครราชสีมากับ จังหวัดอุบลราชธานีขึ้น เพราะในเวลานั้นจังหวัดทั้ง 2 ยังมิได้มีการติดต่อกันโดยทางรถไฟ เส้นทางบินได้ขยายออกไปยังจังหวัดอุดรธานี และหนองคาย มีเส้นทางบินอีกสายหนึ่งไปยังจังหวัดพิษณุโลก และเพชรบูรณ์ แม้จะมีการขนส่งผู้โดยสารบ้าง แต่บริการหลักก็ยังคงเป็นไปรษณีย์และเป็นการขนส่งไปยังจังหวัดที่ยังไม่มี รถไฟเชื่อมถึง
ในปี พ.ศ. 2468 ประเทศไทยได้จัดตั้งกองบินพลเรือน กรมบัญชาการกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และจากนั้นการบินพลเรือนของประเทศได้มีหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบมาโดยตลอด
เมื่อ พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้พระราชทานทุนให้ น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการจักรกลอยู่แล้ว ไปศึกษาวิชาการบินและวิศวกรรมช่างกลต่อที่สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาในปี 2475 ก่อนเดินทางกลับเมืองไทย น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ได้ไปรับจ้างแสดงการบินผาดโผน เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม จึงได้เดินทางไปแสดงในรัฐต่าง ๆ หลายแห่ง จนกระทั่งมีเงินเหลือเก็บจึงขอซื้อเครื่องบินจากบริษัท TRAVEL AIR ในแบบเครื่องยนต์ CURTISS OX-5 90 แรงม้า ในราคา 6,000 บาท และใช้เครื่องบินนั้นบินกลับมายังประเทศไทย โดยให้ชื่อเป็นภาษาไทยว่า “นางสาวสยาม” และเป็นภาษาอังกฤษว่า “MISS SIAM” นับเป็นเครื่องบินพลเรือนลำแรกของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ 2475 น.อ. เลื่อน พงษ์โสภณ ได้ทำการบินเดี่ยวจากประเทศไทยไปยังประเทศจีนและกลับในความอุปถัมป์จาก สมาชิกสโมสรสามัคคีจีนสยาม (ชาวจีนในไทย) ได้ช่วยกันเรี่ยไรเงิน นับว่าประเทศไทยได้มีการคมนาคมทางอากาศกับประเทศจีนเป็นครั้งแรก
ที่มา: กรมการขนส่งทางอากาศ (http://www.aviation.go.th/template/history.htm)
การบินเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่สมัยที่เรายังใช้ช้างเป็นพาหนะ สำคัญในการขนส่งทางบก และมีเรือพายเรือแจวแล่นลอยเต็มลำน้ำลำคลอง ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โดยมีนักบินชาวเบลเยี่ยมคือ นายวัลเดน เบอร์น (Vanden Born) ได้นำเครื่องบินแบบออร์วิลล์ ไรท์ (Orwille Wright) มาสาธิตการบินถวายให้ทอดพระเนตร และให้ประชาชนในกรุงเทพฯ ชม เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2454 ณ สนามราชกรีฑาสโมสร ปทุมวัน นับเป็นเครื่องบินลำแรกที่บินเข้ามาในราชอาณาจักร โดย นายพลตรีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน (พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน) ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และจเรทหารช่างแห่งกองทัพบก ได้ทรงเป็นผู้โดยสารที่ขึ้นบินทดลองชุดแรก เมื่อเสร็จการแสดงแล้วได้ทรงซื้อเครืองบินนั้นไว้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และในปี พ.ศ. 2454 นั้นเอง กระทรวงกลาโหม ได้ส่งนายทหารไทย 3 นาย ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส เมืองวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 ได้แก่
นายพันตรีหลวงศักดิ์ ศัลยาวุธ (นายสุณี สุวรรณประทีป)
นายร้อยเอกหลวงอาวุธ สิขิกร (นายหลง สิน-ศุข) และ
นายร้อยโททิพย์ เกตุทัต
เมื่อนายทหารทั้ง 3 นาย จบการศึกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงให้จัดซื้อเครื่องบินบรรทุกเรือกลับมาประเทศไทย จำนวน 8 ลำ เป็นเครื่องบินที่ทางราชการซื้อ 7 ลำ และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ซื้อให้ทางราชการ 1 ลำ หลังจากนั้นได้มีการก่อตั้งแผนกการบินทหารโดยใช้สนามราชกรีฑาสโมสรเป็นสนาม บิน และสร้างโรงเก็บเครื่องบินขึ้นในบริเวณนั้น และในปี พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการก่อสร้างสนามบินดอนเมืองแล้วเสร็จ เพื่อเป็นสนามบินที่ใช้ในกิจการทหาร และได้เลื่อนฐานะแผนกการบินทหารยกขึ้นเป็นกรม และได้เคลื่อนย้ายจากสนามราชกรีฑาสโมสรไปสู่ที่ตั้งใหม่ที่ดอนเมืองจนถึงปี พ.ศ. 2491 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้เข้ามาอยู่ในการควบคุมดูแลของกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ (และในปี พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานกรุงเทพ แต่ยังคงสังกัดกองทัพอากาศอยู่) ท่าอากาศยานดอนเมืองให้เป็นสนามบินหลักของประเทศ และได้รับการพัฒนาสร้างเสริมต่อเติมมาจนกระทั่งปัจจุบัน
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น และใน พ.ศ. 2461 ไทยได้ส่งทหารอาสาเข้าร่วมการรบด้วย 300 คน ทหารอาสาของไทยได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่อการขับเครื่องบินและเลยไปถึงการสร้าง เครื่องบินจากทหารฝรั่งเศส เมื่อสิ้นสงครามโลกปรากฏว่าไทยมีนักบินที่มีคุณสมบิตครบถ้วนมากกว่า 100 คน ประชาชนชาวไทยต่างพร้อมในกันบริจาคเงินซื้อเครื่องบินให้กับทางราชการ (กระทรวงกลาโหม) ได้รับเงินบริจาคเป็นจำนวนมากจากจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยใช้ชื่อของจังหวัดที่บริจาคเงินเป็นชื่อของเครื่องบินได้เป็นจำนวนมากถึง 31 ลำ
เมื่อ พ.ศ. 2462 ได้มีการทดลองทำการบินรับส่งไปรษณีย์ระหว่างกรุงเทพฯ กับจันทบุรีด้วยเครื่องบินเบรเกต์ (Breguet XIV) ซึ่งเป็นเครื่องบินทหารที่ได้ดัดแปลงมาใช้งานขนส่งทางอากาศ นับว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้ามาสู่การบินก่อนหน้าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ การทดลองทำการบินได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ต่อมาจึงได้มีการขนส่งผู้โดยสารในเส้นทางนี้ด้วย
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2463 กรมอากาศยานทหารบกได้เปิดการบินรับส่งไปรษณีย์ระหว่างจังหวัดนครราชสีมากับ จังหวัดอุบลราชธานีขึ้น เพราะในเวลานั้นจังหวัดทั้ง 2 ยังมิได้มีการติดต่อกันโดยทางรถไฟ เส้นทางบินได้ขยายออกไปยังจังหวัดอุดรธานี และหนองคาย มีเส้นทางบินอีกสายหนึ่งไปยังจังหวัดพิษณุโลก และเพชรบูรณ์ แม้จะมีการขนส่งผู้โดยสารบ้าง แต่บริการหลักก็ยังคงเป็นไปรษณีย์และเป็นการขนส่งไปยังจังหวัดที่ยังไม่มี รถไฟเชื่อมถึง
ในปี พ.ศ. 2468 ประเทศไทยได้จัดตั้งกองบินพลเรือน กรมบัญชาการกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และจากนั้นการบินพลเรือนของประเทศได้มีหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบมาโดยตลอด
เมื่อ พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้พระราชทานทุนให้ น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการจักรกลอยู่แล้ว ไปศึกษาวิชาการบินและวิศวกรรมช่างกลต่อที่สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาในปี 2475 ก่อนเดินทางกลับเมืองไทย น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ได้ไปรับจ้างแสดงการบินผาดโผน เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม จึงได้เดินทางไปแสดงในรัฐต่าง ๆ หลายแห่ง จนกระทั่งมีเงินเหลือเก็บจึงขอซื้อเครื่องบินจากบริษัท TRAVEL AIR ในแบบเครื่องยนต์ CURTISS OX-5 90 แรงม้า ในราคา 6,000 บาท และใช้เครื่องบินนั้นบินกลับมายังประเทศไทย โดยให้ชื่อเป็นภาษาไทยว่า “นางสาวสยาม” และเป็นภาษาอังกฤษว่า “MISS SIAM” นับเป็นเครื่องบินพลเรือนลำแรกของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ 2475 น.อ. เลื่อน พงษ์โสภณ ได้ทำการบินเดี่ยวจากประเทศไทยไปยังประเทศจีนและกลับในความอุปถัมป์จาก สมาชิกสโมสรสามัคคีจีนสยาม (ชาวจีนในไทย) ได้ช่วยกันเรี่ยไรเงิน นับว่าประเทศไทยได้มีการคมนาคมทางอากาศกับประเทศจีนเป็นครั้งแรก
ที่มา: กรมการขนส่งทางอากาศ (http://www.aviation.go.th/template/history.htm)
ป้ายกำกับ:
ตำนานโบราณ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น