Blog Archive

ขับเคลื่อนโดย Blogger.
ยังคงวังวนอยู่ในแดนใต้กันต่อครับหลังจากไม่ได้อัปบทความแนวนี้มานานพอสมควรแล้วเนื่องจากช่วงนี้ผมเริ่มกลับมามีเวลาเป็นของตัวเองอีกครั้งครับ(เนื้องจากซื้อนาฬิกาใหม่มันเกี่ยวกันใหมนี้)
เมืองปัตตานี เดิมมี ชื่อเรียก ว่า โกตามหลิฆัย คำ โกตา หมายถึง ป้อม กำแพง และเมือง คำมหลิฆัย นั้น ให้ความหมาย ไว้สองนัย คือหมายถึง ปราสาท ราชมนเทียร อันเป็นที่ ประทับของราชวงศ์ ฝ่ายใน ที่เป็นสตรี และอีกนัยหนึ่ง หมายถึง รูปแบบ พระสถูป เจดีย์ ที่เรียกกันในเชิงช่าง ศิลปกรรม ว่า "สถูป ทรงฉัตรวาลี" เป็นสถูป แบบหนึ่ง ในศิลปะ สถาปัตยกรรมทางพุทธ ศาสนา สมัย ศรีวิชัย
เมือง โกตามหลิฆัยนี้ ถูกทอดทิ้ง ให้ร้างไป ในสมัย ของพญาอินทิรา เนื่องจาก แม่น้ำ ลำคลองหลายสาย ที่เคยใช้ เป็นเส้นทาง คมนาคม ระหว่าง เมืองโกตามหลิฆัย กับทะเล ได้ตื้นเขิน ทำให้ไม่สะดวก ในการ ลำเลียง สินค้า เข้าออก ติดต่อ ค้าขาย กับพ่อค้า ต่างประเทศ ปี พ.ศ.๒๐๑๒
ถึง พ.ศ.๒๐๕๗พญาอินทิรา จึงย้ายเมือง โกตามหลิฆัย ไปสร้างเมืองขึ้นใหม่ บนบริเวณสันทรายปากอ่าว เมืองปัตตานี อยู่บริเวณ หมู่บ้านบานา อำเภอเมือง ปัตตานี ในปัจจุบัน ประจวบกับพญาอินทิรา ได้เปลี่ยน ศาสนา จากการ นับถือ ศาสนาพุทธ มารับ ศาสนา อิสลาม จึงให้นามเมือง
ที่สร้างใหม่ เป็นภาษาอาหรับว่า ฟาฎอนีย์ ดารุซซาลามหรือ "ปัตตานี ดารัสสลาม" แปลว่า " ปัตตานี นครแห่งสันติ" คล้ายคลึงกับชื่อประเทศ บรูไน ดารุสสลาม ซึ่งแปลว่า บรูไน นครแห่งสันติ คำ "ปัตตานี" นี้ อาจจะมาจากคำ "ปฺตตน" ในภาษา สันสกฤต แปลว่า เมือง นคร กรุง ธานี ดังจะเห็นได้จาก ชื่อเมืองหนึ่ง ของ อินเดียใต้ สมัย โบราณ คือเมือง "นาคปตฺตน" เมืองภัทรปตฺตน ในศิลา จารึกสดอกก๊อกธม ของเขมร และ ชื่อของผู้ว่าราชการ เมืองปัตตานี สมัยหนึ่ง ก็มีนามว่า " อำมาตย์ศรีพระปัตตนบุรี ศรีสมุทรเขต (เป๋า สุมนดิษฐ) อีกทั้ง ชื่อของ โรงเรียน สตรี ประจำจังหวัด ปัตตานี ที่ตั้งขึ้น ในสมัยนั้น ก็ได้รับ การขนาน นามว่า "โรงเรียน สตรี เดชะ ปัตตนยานุเราล"
คำว่า ปะฏานีในภาษาอาหรับ แปลว่า นักปราชญ์ ในภาษาบาลี สันสกฤต ปตานี แปลว่าหญิงที่เป็นใหญ่ ส่วนในภาษามลายูนั้น ปะตานีหมายถึงชาวนา.
ความหมายใหนไม่สำคัญเท่า ปัตตานีคือพี่น้องเราชาวไทย ที่พวกเราชาวไทยอยากให้เมืองปัตตานีสงบและสันติ

0 ความคิดเห็น: