ขับเคลื่อนโดย Blogger.

เครื่องลงทัณฑ์เกี่ยวกับการประหารชีวิตด้วยดาบ

1. ดาบ

ดาบที่ใช้ในการประหารชีวิตนั้น มีรูปร่างต่างๆกัน ดาบ
เก่าครูเพชฌฆาตจะจัดทำขึ้น เช่น ดาบปลายแหลม ดาบปลายตัด
ดาบหัวปลาไหล ดาบมีฝักและสายสะพายพร้อม เท่าที่ปรากฎ
อยู่ในพิพิธภัณฑ์ของกรมราชทัณฑ์ขณะนี้มีอยู่ 3
แบบคือ ดาบ
หัวปลาไหล ดาบปลายแหลม ดาบหัวตัด ปรากฎหลักฐานแน่
ชัดว่าเริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยกฎหมาย พระอัยการขบถ
ศึก จุลศักราช 796 (พ.ศ. 1978
) เลิกใช้สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ตรงกับแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 7
โดยพระราชบัญญัติแก้ไขพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
ลักษณะอาญา ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2477

2. มีดตัดสายมงคล

มีดตัดสายมงคล ชาวบ้านเรียกว่า "มีดหมอ" มีไว้สำหรับ
ตัดสายมงคลที่ล้อมลานพิธีประหารชีวิตเท่านั้น การตัดสาย
มงคลจะใช้มีดชนิดอื่นไม่ได้ ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับพิธีทางไสย-
ศาสตร์ ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยา โดย
กฎหมาย "พระอัยการขบถศึก" จุลศักราช 796 (พ.ศ. 1978
) เลิก
ใช้สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตรงกับแผ่นดินของพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7
โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม
เติมประมวลกฎหมาย ลักษณะอาญา ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2477

3. มีดตัดส้นเท้า

มีดตัดส้นเท้า ผู้ร้ายอุกฉกรรจ์มหันตโทษ ที่ถูกประหาร
ชีวิต ที่ข้อเท้าจะถูกตีตรวนขนาดใหญ่ให้ห่วงของตรวนรัดติด
แน่นกับข้อเท้าจนไม่สามารถรูดออกทางส้นเท้าได้ เมื่อถูก
ประหารชีวิตแล้วจึงใช้มีดสับส้นเท้า เพื่อถอดตรวนข้อเท้าออก
ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยกฎ-
หมาย "พระอัยการขบถศึก" จุลศักราช 796 (พ.ศ. 1978
) เลิกใช้
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 5) ร.ศ.131 (พ.ศ. 2455
)
เนื่องจากมีตรวนข้อเท้าที่สามารถไขได้ด้วยกุญแจมาใช้แทน

4. คบเพลิงสำหรับส่องทาง

คบเพลิงสำหรับส่องทาง การนำนักโทษประหารออกจากคุก
ไปตัดหัวที่วัด มักนำนักโทษลงเรือพายไปตามลำคลองให้ทันเวลา
ย่ำรุ่งประมาณ 03.00
นาฬิกา ซึ่งยังมืดมากต้องใช้คบเพลิงส่องให้
แสงสว่างขณะเดินทาง

5. หลักไม้กางเขน

หลักไม้กางเขน ใช้เป็นหลักประหารนักโทษที่ถูกประหาร
ด้วยดาบเพชฌฆาต จะนำนักโทษประหารเข้าไปนั่งผูกติดกับ
หลักไม้กางเขนเรียกว่า "มัดแบบกาจับหลัก" วิธีปักหลักไม้
กางเขน มัดนักโทษ ครูเพชฌฆาต ต้องขุดหลุมเสกคาถาเรียก
แม่ธรณี แล้วเอาไม้กางเขนปักลงกลบให้แน่น เขียนยันต์ลงที่
ดินหน้าไม้กางเขนตรงก้น นักโทษที่จะนั่ง แล้วเอาใบตอง 3

ยอด ปูให้นักโทษนั่งบนใบตองเอาด้ายดิบที่เสกแล้ว มัดแขน
ด้านหลัง ติดกับกลักกางเขน ทำพิธีเสกดินอุดหูสะกดให้นัก-
โทษสงบจิต ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มใช้ตั้งแต่สมัยกรุงศรี-
อยุธยา โดยกฎหมาย "พระอัยการขบถศึก" เลิกใช้สมัยรัชกาลที่
7
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ.2477
เปลี่ยนแปลงการ
ลงโทษอาญาประหารชีวิตด้วยดาบเป็นยิงด้วยปืน

6. ขันทำน้ำมนต์

ขันทำน้ำมนต์ ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ เป็นภาชนะสำหรับ
เพชฌฆาตทำน้ำมนต์ก่อนและหลังพิธีตัดคอนักโทษ เพื่อใช้น้ำ
มนต์ในขันปัดรังควานและอาบหรือพรมตามร่างกาย เป็นการ
ป้องกันวิญญาณร้ายเข้าสิงร่างกาย ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่า
เริ่มใช้ สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยกฎหมาย "พระอัยการขบถศึก"
จุลศักราช 796 (พ.ศ.1978) เลิกใช้สมัยรัชกาลที่ 7
แห่งกรุง
รัตนโกสินทร์ เมื่อมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ. 2477
เปลี่ยนการลงโทษอาญา
ประหารชีวิตด้วยดาบเป็นยิงด้วยปืน

7. ธงแดง

ธงแดง ธงทำด้วยผ้าสีแดง ด้ามทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ 23 นิ้ว สำหรับ
ปักในบริเวณลานประหารเพื่อให้รู้ว่าบริเวณนี้มีพิธีประหารชีวิต ห้ามฝูงชน
มากีดขวางบริเวณที่มีธงแดง

8. ศาลเพียงตา

ศาลเพียงตา มีลักษณะสองชั้นทำด้วยไม้เนื้อแข็งติดกันยกหรือเคลื่อนย้ายได้
สะดวกแก่การนำไปใช้ในการประหารชีวิต ชั้นล่างสำหรับวางดาบประหาร ชั้น
บนสำหรับวางถาดใส่อาหาร เครื่องเซ่นสังเวยเมื่อนำนักโทษไปถึงแดน ประหาร
แล้ว เพชฌฆาตที่เป็นหัวหน้าเรียกว่า ครูเพชฌฆาตเป็นผู้ประกอบ พิธีบวงสรวง
สังเวยเทพยดาและภูตผีต่างๆ ตลอดจนผีตายโหงที่เคยฆ่า เมื่อบริกรรมเสร็จแล้ว
จะเรียกเพชฌฆาตดาบหนึ่งดาบสองเข้าในวงพิธี โดยนั่งหน้าศาลเพียงตาแล้วร่วม
พิธีบวงสรวงครูเพชฌฆาตจะนำเอาแป้งกระแจะเจิมหน้าเพชฌฆาตทั้งสองเมื่อ
บวงสรวงเสร็จแล้ว มอบดาบจากศาลเพียงตาส่งให้เพชฌฆาตทั้งสองทำหน้าที่
ประหารชีวิตต่อไป

9. ไม้เสาหลักกลม

ไม้เสาหลักกลม การประหารชีวิตในสมัยโบราณทำพิธีกันกลางทุ่งแจ้ง และใช้เวลานาน
ไม้เสาหลักกลมมีไว้สำหรับขึงผ้ากันแดดและกันฝูงชนมิให้รุกล้ำเข้ามาในระหว่างทำพิธีสังเวย
หรือบวงสรวง

10. ถาดทองเหลือง

ถาดทองเหลือง ก่อนการประหารชีวิตเพชฌฆาตต้องทำพิธีไหว้ครู
และสักการะสิ่งเคารพบูชาตามที่ตนเลื่อมใสเพื่อให้มีจิตใจมั่นคง เพราะ
การฆ่าคนก็เกรงกลัวแรงผีเข้าสิง ภาชนะที่ใช้ในพิธี บวงสรวง ประกอบ
ด้วย ถาดทองเหลืองมีเชิงและลวดลาย ถ้วยชามกระเบื้องลักษณะมีลาย
สีน้ำเงิน เหมือนชามสังคโลก สำหรับใส่ของหวานและน้ำจิ้ม เพื่อเซ่น
สังเวยเทพยดาฟ้าดิน เครื่องสังเวยประกอบด้วยหัวหมูซ้ายขวา เป็ดหนึ่ง
ไก่หนึ่ง ปลาแปะซะหนึ่ง พร้อมน้ำจิ้ม บายศรีกล้วยน้ำไทย 1
หวี มะพร้าว
อ่อน 1 ลูก ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว สิ่งละถ้วย ขนมธรรมดาอีก 4
ถ้วย
เหล้าโรง 2 ขวด ดอกไม้พร้อมด้วยธูป 1 ซอง เทียน 9 เล่ม

11. ถ้วยเคลือบดินเผา

ถ้วยเคลือบดินเผา สำรับอีกหนึ่งชุด ลักษณะเป็นถ้วย
เคลือบ ดินเผามี 5
ใบ สำหรับใส่อาหารคาวหวานให้นักโทษ
ประหารกินเป็นมื้อสุดท้ายก่อนถูกตัดหัว ทั้งเครื่องเซ่นสังเวย
บวงสรวงและอาหารผู้ต้องโทษ มีฝาชีครอบไว้เรียบร้อย

12. ฝาชีครอบถาด

ฝาชีครอบถาด ใช้สำหรับครอบถาดทองเหลืองที่มีเครื่อง
เซ่นสังเวยบวงสรวง และสำหรับอาคารคาว หวานให้นักโทษ
ประหารกินเป็นมื้อสุดท้ายก่อนตัดหัว เพื่อกันไม่ให้ตัวแมลง
หรือสิ่งสกปรก ตอมอาหาร


ในแต่ละปี ประเทศไทยเราจะมีวันสำคัญของชาติหลายวันด้วยกัน ทั้งที่เป็นวันสำคัญเกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และวันสำคัญทางประเพณี ซึ่งในจำนวนวันเหล่านี้ รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นหยุดราชการ 16 วันด้วยกัน เช่น วันขึ้นปีใหม่, วันมาฆบูชา, วันจักรี, วันสงกรานต์ และวันฉัตรมงคล เป็นต้น

วันสำคัญ หมายถึง วันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ในอดีต และเพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของวันนั้นๆ รัฐ /ชุมชน หรือหน่วยงาน จึงได้จัดให้มีพิธีการหรือกิจกรรมต่างๆ ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชน หรือคนในสังคมได้ตระหนัก และระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันนั้น ด้วยความภาคภูมิใจ หรือเพื่อเป็นแบบอย่าง ในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามสืบทอดต่อกันมา ซึ่งวันสำคัญนี้ จะมีหลายระดับ เช่น ระดับบุคคล ได้แก่ วันเกิด วันแต่งงาน ระดับหน่วยงาน ได้แก่ วันสถาปนาของหน่วยงานนั้นๆ ระดับชาติ ได้แก่ วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันวิสาขบูชา และวันภาษาไทยแห่งชาติ เป็นต้น

และ เพื่อให้เยาวชนของเราได้รู้จักวันสำคัญของไทย กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอสรุปวันสำคัญๆ ที่ควรรู้จักในรอบปีให้ทราบดังนี้

วันสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ไทย
1. วันยุทธหัตถี ตรงกับวันที่ 18 มกราคม เป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี มีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 ยุทหัตถี หมายถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์สมัยโบราณ ถือป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้อย่างตัวต่อตัว กษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีชนะจะได้รับการยกย่องว่า มีพระเกียรติยศสูงสุด และแม้แต่ผู้แพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบแท้เช่นกัน
2. วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เป็นวันประกาศยกย่อง และเชิดชูเกียรติศิลปินชั้นครูของไทย ที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็น “ศิลปินแห่งชาติ” โดยยึดถือเอาวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 “พระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” ผู้ทรงรอบรู้และเชี่ยวชาญในศิลปะทุกแขนงอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง เป็น “วันศิลปินแห่งชาติ” ปัจจุบันมีศิลปินแห่งชาติ (ถึงปี พ.ศ. 2548) จำนวน 172 คน
3. วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม เป็นระลึกถึงวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 3 ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในการทำนุบำรุงบ้านเมือง ทั้งในด้านการศาสนา การศึกษาและอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างยิ่ง ในสมัยของพระองค์ ได้ทรงเก็บเงินบางส่วนใส่ “ถุงแดง” เอาไว้ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงนำมาใช้เป็นค่าปรับในกรณีพิพาท กับประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ร.ศ.112 ช่วยให้ประเทศไทยรอดพ้นวิกฤตการณ์ทางการเมือง และสงครามระหว่างประเทศไปได้
4. วันจักรี ตรงกับวันที่ 6 เมษายน หมายถึง วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ พระปฐมบรมราชวงศ์จักรี เสด็จกรีฑาทัพถึงพระนคร และทรงรับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดำรงราชอาณาจักรสยามประเทศเป็นวันแรก ตลอดพระชนมชีพของรัชกาลที่ 1 ต้องทรงออกศึกใหญ่ เพื่อกอบกู้อิสรภาพถึง 11 ครั้งโดยทรงเป็นแม่ทัพถึง 10 ครั้ง และทรงร่วมกับพระเจ้ากรุงธนบุรี 1 ครั้ง และเมื่อทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ยังต้องออกศึกเพื่อปกป้องอิสรภาพของชาติไทยอีกถึง 7 ครั้ง นับว่าพระองค์ทรงเป็นพระกษัตริย์ยอดนักรบที่ยิ่งใหญ่ และเก่งกล้าสามารถยิ่ง
5. วันฉัตรมงคล ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม คือวันรำลึกถึงวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีอย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 และทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” (ซึ่งในวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ สืบต่อจากพระบรมเชษฐาธิราชรัชกาลที่ 8 นั้น ยังไม่ได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษก เนื่องจากต้องเสด็จกลับไปศึกษาต่อ
6. วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง อันเป็นปรากฏการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงคำนวณทำนายไว้ก่อนล่วงหน้าถึง 2 ปีอย่างแม่นยำ และได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรที่ ตำบลหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ในวันดังกล่าว เมื่อปี พ.ศ. 2411
7. วันเยาวชนแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 20 กันยายน ด้วยถือว่าวันนี้เป็นวันที่เป็นสิริมงคลยิ่ง เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีถึงสองพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ซึ่งทั้งสองพระองค์ นอกจากจะทรงครองราชย์สมบัติตั้งแต่ทรงพระเยาว์แล้ว ยังทรงพระปรีชาสามารถยิ่ง สมควรที่เยาวชนไทยจะเจริญรอยตามเบื้องยุคลบาท
8. วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่ง ของปวงชนชาวไทย พระราชกรณียกิจของพระองค์ไม่ว่าจะเป็นการเลิกทาส การพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดิน การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสาธารณูปการ การเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ฯลฯ ล้วนเป็นพื้นฐานแห่งความเจริญสืบต่อมาจนปัจจุบัน
9. วันวชิราวุธ ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” เพราะทรงเป็นปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียว ที่ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมประเภทต่างๆ เป็นจำนวนมาก เท่าที่รวบรวมได้ในปัจจุบันมีถึง 1,236 เรื่อง นอกจากนั้น ยังทรงบัญญัติศัพท์ และทรงตั้งนามสกุลพระราชทาน ซึ่งได้รวบรวมไว้ขณะนี้ เป็นจำนวนประมาณ 6,432 นามสกุล
10. วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรงกับ วันที่ 5 ธันวาคม วันนี้ถือเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” และ “วันชาติไทย” ด้วย ตลอดระยะเวลายาวนานร่วม 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอุทิศพระวรกาย พระราชหฤทัย และพระสติปัญญาของพระองค์ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจ อันยังประโยชน์สุขให้แก่ราษฎรของพระองค์มาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจที่มีอยู่มากมาย นับไม่ถ้วนนับพันโครงการ ซึ่งในปีนี้ถือเป็นปีพิเศษ ด้วยว่าจะเป็นวันที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา และได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อมาว่า “พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550”
11. วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร เป็นฉบับแรกให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อปี พ.ศ. 2475 ภายหลังจากมีการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาจนปี พ.ศ. 2549 ไทยเรามีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 16 ฉบับ (และอยู่ระหว่างการเตรียมร่างฉบับใหม่ หลังการปฏิรูปการปกครองฯ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549)
12. วันพระเจ้าตากสินมหาราช ตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นวีรกษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่งที่ได้รับการเทิดทูน และเคารพบูชาจากประชาชนชาวไทยมาโดยตลอด ไม่เพียงเพราะพระปรีชาสามารถในการรบที่กอบกู้ชาติไทยให้เป็นเอกราช และสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่บ้านเมืองของเราเท่านั้น แต่พระองค์ยังเป็นผู้นำที่เปี่ยมไปด้วยความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว มีความกตัญญูและเสียสละต่อผืนแผ่นดินไทยอย่างยากที่จะหาผู้ใดเสมือนเหมือน อีกด้วย

วันสำคัญหลักๆทางศาสนา
13. วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ซึ่งเป็นวันที่พระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้จำนวน 1,250 รูปมาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ปัจจุบันเราถือว่าวันนี้เป็น “วันแห่งความรักทางพุทธศาสนา” ทั้งนี้ เนื่องจากวันดังกล่าวได้เกิดเหตุการณ์พิเศษที่เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” ขึ้น และเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศหลักการ และอุดมการณ์แห่งพุทธศาสนา อันมีเนื้อหาหลัก ว่าด้วยการส่งเสริมให้มวลมนุษย์ตั้งมั่นในการทำความดี ละความชั่ว ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน นั่นก็คือ ทรงสอนให้ทุกคนมีความรักอันยิ่งใหญ่ เป็นรักที่ไม่เห็นแก่ตัว เพราะสอนให้รู้จักรัก และเมตตาต่อเพื่อนร่วมโลก โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำพระธรรมคำสั่งสอนดังกล่าวไปเผยแพร่
14. วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 (ปีนี้เป็นปีอธิกมาสจึงเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7) เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสิ่งที่สำคัญยิ่ง ในการบังเกิดพระพุทธเจ้าในโลกก็คือ “ธรรมะ” ที่พระองค์ทรงตรัสรู้ อันเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ทรงเปรียบเสมือนบรมครูผู้มาสอน มาชี้แนะแก่มวลมนุษย์ มิฉะนั้นคนเราก็คงไม่รู้จักหนทางแห่งการปฏิบัติธรรม เพื่อล่วงพ้นความทุกข์เป็นแน่แท้ และวันวิสาขบูชา นี้องค์การสหประชาชาติได้มีมติรับรองให้ เป็นวันสำคัญสากล เมื่อปี พ.ศ.2542
15. วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เป็นวันที่มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ครบเป็นองค์รัตนตรัยครั้งแรกในโลก ซึ่งพระสงฆ์องค์แรกคือพระอัญญาโกณฑัญญะ และปฐมเทศนาที่ทรงแสดงคือ ธรรมจักกัปวัตนสูตรหมายถึง พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป นั่นคือ ธรรมะของพระพุทธองค์เหมือนวงล้อธรรมที่ได้เริ่มเคลื่อนแล้วจากจุดเริ่มต้นใน วันนี้
16. วันเข้าพรรษา เป็นวันเริ่มต้นที่พระภิกษุสงฆ์ จะต้องอธิษฐานจำพรรษาอยู่กับที่ ไม่เที่ยวจาริกไปยังที่ต่างๆ เป็นเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี (30ก.ค.-26 ต.ค.) ซึ่งการให้จำพรรษาในสมัยพุทธกาล ก็เพื่อป้องกันมิให้พระสงฆ์ไปเหยียบย่ำข้าว และพืชผลของชาวบ้านเสียหาย ต่อมาถือเป็นโอกาสดีที่พระภิกษุ จะได้มาอยู่ร่วมกันเพื่อศึกษาธรรมะ ส่วนชาวบ้านก็ได้เข้าวัดถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรม และเจริญภาวนา เพื่อเพิ่มพูนบุญกุศลโดยมีพระภิกษุเป็นแบบอย่าง ครั้นต่อมาจึงเกิดประเพณีนิยมบวช 3 เดือน ขณะเดียวกันก็มีพุทธศาสนิกชนจำนวนหนึ่งนิยม ถือเอาวันเข้าพรรษาเป็นวันเริ่มต้นที่จะอธิฐานจิตลด ละ ความชั่วทั้งหลาย และทำความดีเพิ่มขึ้น สำหรับประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับวันนี้คือ การถวายผ้าอาบน้ำฝนและการแห่/ถวายเทียนพรรษา
17. วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 หรือวันที่ 26 ตุลาคม 2550 เป็นวันที่พระภิกษุพ้นข้อกำหนดทางวินัยที่จะอยู่จำพรรษา นับตั้งแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นมา และสามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ ซึ่งจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้อง คือ การตักบาตรเทโวโรหนะ คือวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (27 ต.ค.50) ซึ่งพุทธศาสนิกชน มักจะตักบาตรในวันนี้ ด้วยนิยมว่าเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จไปโปรดพุทธมารดาอยู่ 3 เดือน และถัดจากออกพรรษา 1 เดือนถือเป็นเทศกาลกฐิน ที่จะทำบุญถวายผ้ากฐินตามวัดต่างๆ

วันสำคัญอื่นๆ ของชาติและวันสำคัญทางประเพณี
18. วันขึ้นปีใหม่ ก่อนที่ไทยเราจะมีวันปีใหม่แบบสากลเช่นปัจจุบัน เราได้มีการเปลี่ยนแปลงปีใหม่มาแล้วถึง 3 ระยะ คือ เริ่มแรกถือวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ระยะที่สอง เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 คือราวช่วงสงกรานต์ โดยใช้ปีนักษัตร และการเปลี่ยนจุลศักราชเป็นเกณฑ์ ระยะที่สาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เมษายนอันเป็นนับวันทางสุริยคติ ซึ่งได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2432 ระยะที่สี่ คือในปี พ.ศ. 2483 รัฐบาลได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทย ให้เป็นไปตามแบบสากลนิยม คือวันที่ 1 มกราคม โดยมีเหตุผลว่าวันดังกล่าวกำหนดขึ้น โดยการคำนวณด้วยวิทยาการทางดาราศาสตร์ และเป็นที่นิยมใช้กันมากว่าสองพันปี อีกทั้งไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิศาสนา หรือการเมืองของชาติใด แต่สอดคล้องกับจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณที่ใช้ฤดูหนาวเป็นต้นปี
19. วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมทุกปี โดยจัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เด็ก ได้ตระะหนักถึงความสำคัญของตน และขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ประชาชน และสังคมเห็นความสำคัญของเด็กที่จะเติบโตเป็นอนาคตของชาติ และเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญที่ควรได้รับการดูแล เอาใจใส่
20. วันครู ตรงกับวันที่ 16 มกราคม จัดขึ้นเพื่อให้สังคมได้ระลึกถึงความสำคัญของ “ครู” ในฐานะผู้เสียสละและประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน โดยเฉพาะช่วยสร้างบุคลากรที่เป็นอนาคตของชาติ
21. วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายน อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงเป็นแบบอย่างในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรในด้าน อนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่างๆ ทรงได้รับการถวายพระสมัญญาเป็น “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” และ “วิศิษฏศิลปิน” อันหมายถึง ผู้เป็นเลิศในทางศิลปะ ทรงเป็นเมธีทางวัฒนธรรม และทรงมีคุณูปการต่องานศิลปวัฒนธรรม
22. วันสงกรานต์ เป็นปีใหม่แบบเดิมของไทย ที่นับวันที่พระอาทิตย์ย่างเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันเริ่มต้นปี โดยเรียกวันที่ 13 เมษายน เป็น “วันมหาสงกรานต์” และถือเป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” ด้วย ส่วนวันที่ 14 เมษายน เรียก “วันเนา” และถือเป็น “วันครอบครัว” ส่วนวันที่ 15 เมษายนเรียกว่า “วันเถลิงศก”หรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่ ปีนี้นางสงกรานต์ชื่อ มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาทรงจักร หัตถ์ซ้ายทรงตรีศูรย์ เสด็จนั่งมาเหนือหลังนกยูง
23. วันพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม นอกจากจะเป็นพระราชพิธีโบราณเก่าแก่ ที่จะทำเพื่อเป็นการเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลแก่การเกษตรกรรมแล้ว วันดังกล่าวยังถือเป็น “วันเกษตรกร” อีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตร ได้ระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร โดยเฉพาะประชาชนทั่วไปจะได้ระลึกถึงความสำคัญของข้าว และธัญญพืชที่มีคุณเอนกอนันต์ ในการหล่อเลี้ยงชีวิตให้เติบโตสมบูรณ์ทั้งกายใจ และเหนือสิ่งอื่นใด เพื่อพึงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชกรณียกิจ อันเป็นแบบอย่างทางด้านเกษตรกรรมแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจมั่นในการประกอบอาชีพ และเป็นเหตุของความตั้งมั่นความเจริญไพบูลย์ของประเทศมาโดยตลอด
24. วันสุนทรภู่ ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันคล้ายวันเกิดของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และมีผลงานประพันธ์มากมาย เฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี วรรณกรรมชิ้นเอกของท่าน ก็มีความยาวถึง 12,706 บท ถือได้ว่าเป็นกวีนิพนธ์ที่ยาวที่สุดในโลก ในขณะที่บทประพันธ์เรื่องอีเลียต (Iliad)) และโอเดดซี (Odyssey)ของฝรั่งที่ว่ายาวที่สุด ยังมีเพียง 12,500 บทเท่านั้น เมื่อปี พ.ศ. 2529 ท่านได้รับยกย่องจากยูเนสโก ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก
25. วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงพระกรุณาเสด็จฯ ไปทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาไทย ของชุมนุมภาษาไทยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับปัญหาการใช้คำไทย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ ความสนพระราชหฤทัย และความห่วงใยในภาษาไทย ของพระองค์ท่านเป็นอย่างมาก
26. วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ “วันแม่แห่งชาติ” ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถผู้ทรงเปรียบประดุจ “แม่แห่งแผ่นดิน” ที่ทรงดูแลทุกข์สุขของราษฎรดังลูกๆของพระองค์ และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เพื่อปวงชนชาวไทยเคียงคู่กับพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาโดยตลอด โดยเฉพาะด้านศิลปาชีพ และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของไทย
27. วันพิพิธภัณฑ์ไทย ตรงกับวันที่ 19 กันยายน เป็นวันน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 5 ผู้ทรงให้กำเนิด “พิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชน” ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือ “หอคองคอเดีย” ในพระบรมมหาราชวัง
28. วันมหิดล ตรงกับวันที่ 24 กันยายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ผู้ทรงมีคุณูปการต่อการแพทย์สมัยใหม่ จนได้รับการเฉลิมพระเกียรติว่าทรงเป็น “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน”
29. วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เช่น ลอยเคราะห์ บูชาพระพุทธเจ้า แต่ปัจจุบันนิยมทำ เพื่อขอขมาและระลึกถึงคุณแม่พระคงคา ที่ได้อำนวยประโยชน์ต่างๆ แก่มนุษย์
30. วันกีฬาแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 16 ธันวาคม เป็นวันระลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงชนะเลิศได้รับเหรียญทองในการแข่งขันเรือใบประเภทโอ.เค.ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2510 และเพื่อให้ประชาชน เยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของกีฬา ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมให้เรามีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ

ทั้งหมดคือ วันสำคัญของไทยในรอบปีหนึ่งๆ ที่แม้จะมิใช่วันหยุดราชการทั้งหมด แต่ก็เป็นวันสำคัญของชาติที่เยาวชนไทยควรได้ทราบเพื่อเป็นความรู้ต่อไป

วันสำคัญของโลก
1. วันที่ 26 กันยายน เป็น วันหัวใจโลก
2. วันที่ 16 ตุลาคม เป็น วันอาหารโลก
3. วันที่ 1 ธันวาคม เป็น วันเอดส์โลก
4. วันที่ 22 มีนาคม เป็น วันน้ำโลก
5. วันที่ 31 พฤษภาคม เป็น วันงดสูบบุหรี่โลก
6. วันที่ 5 มิถุนายน เป็น วันสิ่งแวดล้อมโลก
7. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ เป็น วันชุ่มน้ำโลก
8. วันที่ 16 กันยายน เป็น วันโอโซนโลก

ที่มา :
อมรรัตน์ เทพกำปนาท. 2551 . กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. http://www.yenta4.com : สืบค้นเมื่อ 8 เม.ย.2551

เมืองไทยมีเรื่องมากมายที่คนไทยอย่างเราๆ ควรรู้ และจดจำไว้บอกต่อลูกหลาน ให้รู้ถึง
ความเป็นมาของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยเรา ซึ่งเด็กสมัยนี้บางคนอาจจะไม่เคยรู้
เรื่องราวสำคัญๆ เหล่านั้น มาก่อนเลยก็เป็นได้ ว่า ใครคือนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย
แบบเรียนเล่มแรกของไทยชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่งเพลงสรรเสริญพระบารมี ฯลฯ
ซึ่งบางคนอาจยังคงจำได้อยู่ แต่คนนั้นก็ลืมเลือนไปแล้ว เมื่อแก่ชรา
งั้นเรามาทบทวนความรู้รอบตัว เรื่องน่ารู้ของเมืองไทยกันดีกว่า..

เพื่อเป็นการทบทวนความจำ ทั้งความรู้เก่าและเกร็ดความรู้ใหม่ ที่บางคนอาจจะไม่เคย
รู้มาก่อนเกี่ยวกับประเทศไทย กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำสาระบางส่วนจากหนังสือ “ความรู้รอบตัว รอบรู้เรื่องเมืองไทย”
ของฝ่ายวิชาการชมรมเด็ก ซึ่งจัดพิมพ์โดยสุวีริยาสาส์น มาเพื่อเสนอดังต่อไปนี้

- แบบเรียนเล่มแรกของไทย

แบบเรียนเล่มแรกของไทยชื่อ “จินดามณี” แต่งโดย พระมหาราชครู
กวีในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี พ.ศ. 2199 - 2231)

- ถนนสายแรกในเมืองไทย

ถนนสายแรกในเมืองไทย คือ ถนนเจริญกรุง (New Road) สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4
เมื่อ พ.ศ. 2404 โดยต่อมาได้มีการตัดถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร รวมทั้งถนนพระราม 4
และถนนสีลมในเขตชานพระนคร

- น้ำแข็งเข้ามาเมืองไทยครั้งแรก

น้ำแข็งเข้ามาเมืองไทยครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 4 ประมาณ พ.ศ. 2410 สันนิษฐานว่า
ผลิตที่สิงคโปร์แล้วส่งมาถวาย โดยใส่หีบกลบขี้เลื่อย คนเฒ่าคนแก่ในสมัยนั้น
ไม่เชื่อว่าจะทำน้ำแข็งได้จริง ถึงกับออกปากว่า “จะปั้นน้ำเป็นตัวได้อย่างไร”

- พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่เสด็จประพาสต่างประเทศ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก
ที่เสด็จประพาสต่างประเทศ โดยเสด็จประพาสสิงคโปร์เป็นแห่งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2413
และเสด็จชวาด้วย

- ผู้ที่ประพันธ์เพลงสรรเสริญพระบารมี

ผู้ที่ประพันธ์เพลงสรรเสริญพระบารมี คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ โดยมีนายปโยตร์ ซูโรฟสกี้ (Pyotr Shchurovsky) ชาวรัสเซีย แต่งทำนองเพลงขึ้นทูลเกล้าฯ
ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2431

- ธนบัตรหรือเงินกระดาษของไทย

ธนบัตรหรือเงินกระดาษของไทย ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผลิตขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5
พิมพ์ออกใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2445 โดยก่อนหน้านั้น ในสมัยรัชกาลที่ 4
ได้มีการผลิตธนบัตร หรือเงินกระดาษออกใช้เป็นครั้งแรก ในเมืองไทยแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2396
แต่เรียกว่า “หมาย” ทำด้วยกระดาษปอนด์สีขาวรูปสี่เหลี่ยม พิมพ์ลวดลายด้วยหมึกทั้งสองด้าน
และประทับตรา พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ตราจักร และพระราชลัญจกรประจำรัชกาล
สีแดงชาด (ลัญจกร อ่านว่า ลัน-จะ-กอน แปลว่า ตราสำหรับใช้ตีหรือประทับ ราชาศัพท์ใช้คำว่า
พระราชลัญจกร)

- ผู้ที่คิดออกลอตเตอรี่เป็นคนแรกในเมืองไทย

ผู้ที่คิดออกลอตเตอรี่เป็นคนแรกในเมืองไทย คือ มิสเตอร์เฮนรี่ อาลบาสเตอร์
(ต้นตระกูล “เศวตศิลา”) ชนชาติอังกฤษ เป็นผู้นำลักษณะการออกรางวัลสลากแบบยุโรป
มาเผยแพร่เป็นคนแรก โดยเรียกว่า “ลอตเตอรี่” โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้กรมทหารมหาดเล็กออกลอตเตอรี่เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๗ เนื่องในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา

- คนไทยคนแรกที่ได้ขึ้นเครื่องบิน

คนไทยคนแรกที่ได้ขึ้นเครื่องบิน คือ พระบรมวงศ์เธอ กรมพระยากำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
โดยประทับเครื่องบินออร์วิลไรท์ คู่กับกัปตัน มร.เวนเดนเปอร์น ซึ่งขับวนเวียนเหนือ
สนามราชกรีฑาสโมสร เป็นเวลา 3 นาที 45 วินาที เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2453
เป็นเครื่องบินที่บริษัทฝรั่งเศสนำมาแสดง ณ ราชกรีฑาสโมสร(สนามม้านางเลิ้ง)
ซึ่งถือว่าเป็นสนามบินแห่งแรก ที่ใช้ในการบินของเมืองไทยด้วย

- พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่ทรงผ่านการศึกษาจากต่างประเทศ

พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่ทรงผ่านการศึกษาจากต่างประเทศคือ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ
ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงยังดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เมื่อปี พ.ศ. 2436 - 2445
รวมระยะเวลา 9 ปี

- นามสกุลหมายเลข 1 ที่รัชกาลที่ 6 ทรงคิดพระราชทาน

นามสกุลหมายเลข 1 ที่รัชกาลที่ 6 ทรงคิดพระราชทาน คือ นามสกุล “สุขุม” พระราชทาน
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2456 ต้นสกุลคือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

- ผู้ที่ให้กำเนิดรถแท็กซี่ขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก

ผู้ที่ให้กำเนิดรถแท็กซี่ขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก คือ พลโท พระยาเทพหัสดิน
(ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นรถยนต์นั่ง (รถเก๋ง) ยี่ห้อออสติน จำนวน 4 คัน
เปิดบริการรับจ้างครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2466 ในสมัยรัชกาลที่ 6
ในสมัยนั้นเรียกว่า “รถไมล์”

- ประเทศไทยเริ่มนับเวลา ตามแบบสากลครั้งแรก

ประเทศไทยเริ่มนับเวลา ตามแบบสากลครั้งแรกในสมัย รัชกาลที่ 6 โดยแต่เดิม
เรานับเวลาตอนกลางวันเป็น “โมง” และตอนกลางคืนเป็น “ทุ่ม” พระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงให้เปลี่ยนมาเรียกว่า “นาฬิกา” (เขียนย่อว่า “น.”)
และให้นับเวลาทางราชการใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมสากลนิยม
โดยให้ถือว่าเวลาหลังเที่ยงคืนเป็นเวลาเปลี่ยนวันใหม่ และให้ถือเวลาที่ตำบลกรีนิช
ประเทศอังกฤษเป็นมาตรฐาน ซึ่งเวลาในประเทศไทย เป็นเวลาก่อน หรือเร็วกว่าเวลา
ที่กรีนิช 7 ชม. เช่น ไทยเป็นเวลา 19.00 น. ทางกรีนิชเท่ากับ 12.00 น. เป็นต้น

- ผู้ที่ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรก

ผู้ที่ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรก คือ มิสเตอร์เอ็ดวิน แมกพาแลนด์ ยี่ห้อเรมิงตัน

- นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย

นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย คือ พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 - 20 มิถุนายน พ.ศ.2476
ส่วนนายกรัฐมนตรีคนแรก ที่ถูกบังคับให้ออกจากตำแหน่งคือ นายควง อภัยวงศ์
หลังจากที่เข้าดำรงตำแหน่งได้ประมาณ 1 เดือนเศษ ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491
ได้ถูกคณะนายทหารเข้าพบ เพื่อขอร้องแกมบังคับ ให้ลาออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้
เพื่อเปิดทางให้กับจอมพลป. พิบูลสงคราม กลับเข้าเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 3

- ผู้ประพันธ์เพลงชาติไทยในปัจจุบัน

ผู้ประพันธ์เพลงชาติไทยในปัจจุบัน คือ พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยากร) เป็นผู้แต่งทำนอง
และหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) เป็นผู้แต่งเนื้อร้อง เมื่อ พ.ศ. 2483

- ผู้ที่คิดฝนเทียม หรือ ฝนหลวง ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย

ผู้ที่คิดฝนเทียม หรือ ฝนหลวง ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช โดยได้ทรงค้นคิดและวิจัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 และทรงถ่ายทอด
แนวพระราชดำริ และผลการวิจัยแก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล วิศวกรผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตร
จนมีการทำฝนหลวงพระราชทานครั้งแรก ในปีพ.ศ. 2512

- มกุฎราชกุมารพระองค์แรก ที่ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

มกุฎราชกุมารพระองค์แรก ที่ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก คือ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร

- สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรก ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของประเทศไทย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คือ สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรก
ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของประเทศไทย โดยทรงจบ
อักษรศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อปี พ.ศ. 2519

- คนไทยคนแรก ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานสมัชชาใหญ่ แห่งสหประชาชาติ

คนไทยคนแรก ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานสมัชชาใหญ่ แห่งสหประชาชาติ คือ
พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2499

- ผู้นำไทยคนแรก ที่ได้รับรางวัลแมกไซไซ

ผู้นำไทยคนแรก ที่ได้รับรางวัลแมกไซไซ คือนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี
คนที่ 18 ของไทย ได้รับในสาขางานบริการภาครัฐบาล ประจำปี พ.ศ. 2540

ทั้งหมดนี้ คือส่วนหนึ่งในหนังสือดังกล่าว ซึ่งหวังว่าจะทำให้ผู้อ่าน และผู้สนใจได้รับความรู้เพิ่มขึ้น
เรียบเรียงจากหนังสือ ความรู้รอบตัว รอบรู้เรื่องเมืองไทย โดย ฝ่ายวิชาการชมรมเด็ก โทร.02-871-7542

แหล่งที่มา:
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2


มติชน

"อริยกะ" เป็นรูปแบบตัวอักษรซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชเป็น "พระวชิรญาณเถระ" ทรงประดิษฐ์ขึ้นสำหรับใช้เขียนหรือพิมพ์ภาษาบาลีแทนตัวอักษรขอมที่ใช้กันมา แต่เดิม นับเป็นหนึ่งในกระบวนการปฏิรูปพระพุทธศาสนาของพระองค์ พร้อมๆ กับที่ทรงตั้งธรรมยุติกนิกาย

ช่วงเวลาที่ทรงประดิษฐ์อักษรอริยกะนั้น ไม่ปรากฏพุทธศักราชชัดเจน สันนิษฐานว่าน่าจะทรงประดิษฐ์ขึ้นหลังจากได้เสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว เวลานั้นมีผู้มาถวายตัวเป็นศิษย์จำนวนมาก เพื่อให้การศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยเป็นไปโดยสะดวกจึงน่าจะทรงประดิษฐ์ ขึ้นสำหรับใช้แทนอักษรขอม ที่เดิมถือเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์สำหรับเขียนเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ทั้งที่เป็นภาษาบาลี (เรียกว่า อักษรขอมบาลี) และภาษาไทย (เรียกว่า อักษรขอมไทย)


ทั้งพระองค์ยังทรงมีความรู้ด้านการพิมพ์ ทรงรู้ปัญหาในการหล่อและการเรียงพิมพ์ และด้วยทรงรู้ภาษาอังกฤษและภาษาละติน จึงน่าจะทรงดัดแปลงอักษรไทยและวิธีการเขียนโดยอาศัยอักษรโรมันเป็นแม่แบบ ทั้งนี้ พิจารณารูปแบบอักษรอริยกะแล้วพบว่าได้รับอิทธิพลจากอักษรโรมันเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการแบ่งอักษรเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. อักษรอริยกะตัวพิมพ์ 2. อักษรอริยกะตัวเขียน เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน ลักษณะเช่นนี้พบได้ในรูปแบบตัวอักษรโรมัน


ด้านระบบการเขียนหรือ อักขรวิธีก็ปรากฏอิทธิพลจากอักษรโรมันประสมอยู่มากเช่นกัน โดยเฉพาะการจัดวางรูปสระ ขณะที่อักษรขอมหรืออักษรไทยวางสระไว้ทั้งด้านหน้า ด้านบน ด้านล่าง และด้านหลังพยัญชนะ ซึ่งจะเกิดปัญหามากสำหรับการเขียนหรือการพิมพ์ เมื่อทรงประดิษฐ์อักษรอริยกะขึ้น จึงน่าจะทรงพยายามที่จะตัดความยุ่งยากดังกล่าวออกไปทั้งหมด และใช้ตามระบบการเขียนอักษรโรมันซึ่งง่ายกว่าโดยเขียนสระเรียงไว้หลัง พยัญชนะทั้งหมด


สำหรับนามพระราชทานว่า "อักษรอริยะ" อาจเนื่องมาจากทรงต้องการแสดงให้เห็นว่าเป็นอักษรของ "ผู้เป็นอารยชน" ซึ่งอาจมีความหมายเป็นนัยยะที่แสดงถึงการปรับตัวเข้าหาความเป็นอริยะหรือ อารยะ อักษรอริยกะจึงนอกจากเพื่อความสะดวกในการศึกษาเล่าเรียนแทนอักษรขอมแล้ว ยังอาจมีนัยยะถึงการปรับเปลี่ยนเข้าหาความเป็นอารยะตามตะวันตกด้วย

หลัก ฐานเกี่ยวกับความแพร่หลายของอักษรอริยกะมีไม่มากนัก มีบันทึกเพียงว่านำไปใช้พิมพ์บทสวดมนต์บ้าง พิมพ์หนังสือปาฏิโมกข์บ้าง และพิมพ์หนังสืออื่นๆ บ้าง และใช้แทนหนังสือใบลานที่แพร่หลายมาแต่เดิม แต่ความแพร่หลายนี้ก็จำกัดวงอยู่เฉพาะในวัดบวรนิเวศวิหารเท่านั้น ส่วนจารึกอักษรอริยกะที่มีให้เห็นชัดเจนในปัจจุบันคือจารึกวัดราชประดิษฐ์

การ ใช้อักษรอริยกะเสื่อมไปเมื่อทรงลาผนวชขึ้นเสวยราชสมบัติ ประกอบกับรูปร่างและระบบอักขรวิธีแตกต่างจากอักษรไทยมากจึงไม่ได้รับความ นิยม ทั้งในรัชกาลต่อมาได้ทรงนำรูปอักษรไทยมาปรับใช้เขียนภาษาบาลีได้ ความจำเป็นที่จะใช้อักษรอริยกะเขียนแทนอักษรขอมก็หมดลงกระทั่งเลิกใช้ไปใน ที่สุด

กางกรอุ้มโอบแก้ว กากี
ปีกกระพือพาศรี สู่งิ้ว
ฉวยฉาบคาบนาคี เป็นเหยื่อ
หางกระหวัดรัดหิ้ว สู้ไม้รังเรียงฯ



คง ไม่มีใครที่ไม่เคยเห็นรูป “ครุฑ” เพราะจะมีให้เจอกันอย่างชินตา โดยเฉพาะสถานที่ หรือทรัพย์สินทางราชการ หน้าธนาคาร หรือแม้กระทั่งในธนบัตร รวมถึงวรรณกรรมหลายเรื่องก็มีการกล่าวถึงครุฑ เรื่องที่คนไทยรู้จักกันดีก็คือ กากี ซึ่งได้หยิบยกโคลงเห่ขึ้นมาเกริ่นข้างต้น แต่ก็คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบถึงประวัติความเป็นมาของพญานกเจ้าเวหานาม ว่า ครุฑ

ครุฑ เป็นพญานก มีรูปครึ่งมนุษย์ ครึ่งนกอินทรี เป็นโอรสของพระกัศยปมุนี กับนางวินตา พระกัศยปมุนีนั้นเป็นฤษีที่มีอำนาจมาก ส่วนนางวินตาเป็นธิดาของพระทักษประชาบดี ซึ่งมีธิดาถึง 50 องค์ และได้ยกให้พระกัศยปมุนี ถึง 13 องค์ อีกองค์ที่โด่งดังคือนางกัทรู ซึ่งเป็นพี่ของนางวินตา



นาง กัทรูได้ขอพรจากสามีให้มีลูกจำนวนมาก จึงให้กำเนิด นาค ถึง 1,000 ตัว อาศัยอยู่ในแดนบาดาล ส่วนนางวินตาขอลูกเพียง 2 องค์ แต่ขอให้ลูกมีอำนาจวาสนา จึงได้คลอดลูกออกมาคือ อรุณ และ ครุฑ ซึ่งต่อมาอรุณได้ไปเป็นสารถีของพระสุริยเทพ ส่วนครุฑเมื่อแรกเกิดออกจากไข่ว่ากันว่ามีร่างกายขยายตัวออกใหญ่โตจนจดฟ้า ดวงตาเมื่อกะพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกทีใด ขุนเขาจะตกใจหนีหายไป รัศมีที่พวยพุ่งออกจากกายมีลักษณะดั่งไฟไหม้ทั่วสี่ ทิศ

ต่อมา นางกัทรูและนางวินตามีเรื่องถกเถียงกันว่าม้าที่เกิดคราวทวยเทพและอสูรกวน น้ำอมฤตจะสีอะไร จึงพนันกันว่าใครแพ้จะต้องยกเป็นทาสของอีกฝ่าย 500 ปี นางวินตาทายว่าสีขาว นางกัทรูทายว่าสีดำ ซึ่งความจริงม้าเป็นสีขาว แต่นางกัทรูใช้อุบายให้นาคลูกของตนแปลงเป็นขนสีดำไปแซม อยู่เต็มตัวม้า นางวินตาไม่ทราบจึงต้องเป็นทาสถึง 500 ปี จึงทำให้ครุฑและนาคต่างไม่ถูกกันนับแต่นั้นมา



แต่ เพื่อช่วยแม่ให้เป็นอิสระ ครุฑได้เจรจาทำความตกลงกับพวกพญานาคที่ต้องการเป็นอมตะว่าจะไปนำน้ำอมฤตที่ อยู่กับพระจันทร์มาให้ ครั้นแล้วก็บินไปสวรรค์ คว้าพระจันทร์มาซ่อนไว้ใต้ปีก แต่ถูกพระอินทร์และทวยเทพติดตามมาจึงเกิดต่อสู้กัน ทวยเทพทั้งหมดแพ้ครุฑ ยกเว้นพระวิษณุที่ต่อสู้กันไม่มีใครแพ้หรือชนะเลยต้องทำความตกลงหย่าศึก โดยพระวิษณุหรือพระนารายณ์สัญญาว่าจะให้ครุฑเป็นอมตะ และให้อยู่ตำแหน่งสูงกว่าพระองค์ ส่วนครุฑก็ถวายสัญญาว่าขอเป็นพาหนะของพระวิษณุ และเป็นธงครุฑพ่าห์สำหรับปักอยู่บนรถศึกของพระวิษณุอันเป็นที่สูงกว่า

ส่วน หม้อน้ำอมฤตนั้น พระอินทร์ตามมาขอคืน แต่ครุฑขอร้องว่าต้องรักษาสัตย์ ที่จะนำไปให้นาคเพื่อไถ่มารดาให้พ้นจากการเป็นทาส ขอให้พระอินทร์ไปเอาคืน จากนาคเอง เมื่อครุฑเอาน้ำอมฤตไปให้นาคก็วางไว้บนหญ้าคา แต่ ทำหกบนหญ้าคา 2-3 หยด ด้วยเหตุนี้ หญ้าคาจึงถือเป็นสิ่งมงคล ใช้ประพรมน้ำมนต์ ส่วนงูเมื่อเห็นน้ำอมฤตบนหญ้าคาก็ไปเลียกิน ด้วยความไม่ระวังจึงถูกคมหญ้าบาดเป็นทางยาว งูจึงมีลิ้นแตกเป็น 2 แฉก ฝ่ายนาคเมื่อเห็นน้ำอมฤตก็ยินดีปล่อยนางวินตามารดาของครุฑเป็นอิสระ แต่ขณะ พากันไปสรงน้ำชำระกายก่อนจะกินน้ำอมฤต พระอินทร์ก็นำหม้อน้ำอมฤตกลับไป ทำให้นาคยิ่งเพิ่มความเป็นศัตรูกับครุฑยิ่งขึ้น



ตาม วรรณคดีพุทธศาสนา เช่นเรื่อง สุสันธีชาดก และกากาติชาดก ระบุว่าครุฑมีขนาดใหญ่มาก วัดจากปีกข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้ 150 โยชน์ เวลากระพือปีกสามารถทำให้เกิดพายุใหญ่มืดมนทำลายบ้านเมืองให้พังทลายได้ ครุฑมีชายานามว่า อุนนติ หรือวินายกา โอรสชื่อ สัมปาติหรือสัม พาที และ ชฎายุ ที่อยู่ของครุฑคือสุบรรณพิภพ เป็นวิมานอยู่บนต้นสิมพลีหรือต้นงิ้ว เชิงเขาพระสุเมรุ

นอกจากตำนานข้างต้น ครุฑยังมีความเกี่ยวข้องกับคนไทยอีกหลายอย่าง โดย เฉพาะการถือว่าครุฑเป็นสัญลักษณ์สำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยว่าไทยเราได้รับลัทธิเทวราชของอินเดีย ที่ถือว่าพระมหากษัตริย์คืออวตารของพระนารายณ์ ดังนั้น ครุฑซึ่งทรงอิทธิฤทธิ์ และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ จึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์



พระ ราชลัญจกร ตั้งแต่สมัยอยุธยา มีองค์หนึ่งเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่าไม่ควรมีองค์พระนารายณ์ ควรมี แต่ครุฑ จึงโปรดให้ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยา นริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียนถวายใหม่ และ โปรดให้ทำขึ้นใช้ประทับพระปรมาภิไธย ปัจจุบันตราดวงนี้อยู่ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำหรับประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในหนังสือสำคัญ เช่น ประกาศนียบัตรเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต่อมาจึงได้มีการใช้ตราครุฑ เป็นหัวกระดาษของหนังสือของราชการทั่ว ๆ ไปด้วย เพื่อให้ทราบว่างานนั้นเป็นราชการ

สำหรับรูปครุฑที่เป็นธงแทนองค์ พระมหากษัตริย์เรียกว่า ธงมหาราช เป็นรูปครุฑสีแดงอยู่บนพื้นธงสีเหลือง เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4 ธงมหาราชนี้เมื่อเชิญขึ้นเหนือเสา ณ พระราชวังใดแสดงว่าพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น ส่วนครุฑที่ปรากฏอยู่ในขบวนเรือหลวงมีอยู่ 3 ลำ คือ เรือครุฑเหินเห็จ เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑ สีแดงยุดนาค เรือครุฑเตร็จไตรจักร เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีชมพูยุดนาค และ เรือนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ



นอก จาก “ตราครุฑ” จะปรากฏในส่วนราชการต่าง ๆ แล้ว ภาคเอกชนก็สามารถรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราครุฑหรือตราแผ่นดินใน กิจการได้ด้วย โดยเริ่มมีมาแต่รัชกาลที่ 5 ซึ่งเดิมเป็นตราอาร์ม โดยมีข้อความประกอบว่า “โดยได้รับพระบรมราชานุญาต” ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนตราแผ่นดินเป็นตราพระครุฑพ่าห์ การพระราชทานตรานี้แต่เดิมถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่จะพระราชทานตามพระราช อัธยาศัย ผู้ได้รับนอกจากจะเป็นช่างหลวง เช่น ช่างทอง ช่างถ่ายรูป เป็นต้นแล้วก็มักจะเป็นผู้ประกอบกิจการค้ากับราชสำนัก และเป็นประโยชน์ต่อราชการงานแผ่นดิน

ปัจจุบันการขอพระราชทานตรา ตั้งนี้ต้องยื่นคำขอต่อสำนักพระราชวัง เพื่อพิจารณานำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ซึ่งตราตั้งนี้ถือเป็นของพระราชทานเฉพาะบุคคล สิทธิรับพระราชทานและการใช้เครื่องหมายนี้จะสิ้นสุดเมื่อสำนักพระราชวัง เรียกคืนเนื่องจากบุคคล ห้างร้าน บริษัทที่ได้รับพระราชทานฯ เสียชีวิต หรือเลิกประกอบกิจการ หรือโอนกิจการให้ผู้อื่น หรือสำนักพระราชวังเห็นสมควรเพิกถอนสิทธิ.

‘สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ : ข้อมูล’


ฝังทั้งเป็นใต้เสาหลักเมือง

โบราณถือว่าพิธีสร้างพระนครหรือสร้างบ้าน สร้างเมืองต้องฝังอาถรรพ์ 4 ประตูเมือง ต้องฝังเสาหลักมือง

การ ฝังเสาหลักเมืองและเสามหาปราสาทต้องเอาคนที่มีชีวิตทั้งเป็น ลงฝังในหลุม เพื่อให้เป็นผู้เฝ้าทวารมหาปราสาทบ้านเมือง ป้องกันอริราชศัตรูมิให้มีโรคภัย ไข้เจ็บเกิดแก่เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ผู้ครองนครบ้านเมือง ในการทำพิธีกรรมดังกล่าว ต้องเอาคนที่ชื่อ อิน จัน มั่น คง มา ฝังลงหลุม จึงจะศักดิ์สิทธิ์และขณะที่นายนครวัฒเที่ยว เรียกชื่อ อิน จัน มั่ง คง ไปนั้น


ใครโชคร้ายขานรับขึ้นมาก็จะถูกนำตัวไปฝังในหลุม หลุมเสาหลักเมืองนั้น จะผูกเสาคานใหญ่ชักขึ้นเหนือหลุมนั้นในระดับสูงพอสมควร
โยงไว้ด้วยเส้นเชือกสองเส้นหัวท้ายให้เสาหรือซุงนั้นแขวนอยู่ตามทางนอนเหมือนอย่างลูกหีบ


ครั้น ถึงวันกำหนดที่จะกระทำการอันทารุณนี้ ก็เลี้ยงดุผู้เคราะห์ร้ายให้อิ่มหนำสำราญแล้ว แห่แหนนำไปที่หลุมนั้น พระเจ้าแผ่นดินมีรับสั่งให้บุคคลทั้งสามนั้นเฝ้าประตูเมืองไว้ด้วย และให้เร่งแจ้งข่าวให้รู้กันทั่ว เมื่อคนมาชุมนุนกันเขาก็ตัดเชือกปล่อยให้เสาหรือซุงหล่น ลงมาบนศีรษะผู้เคราะห์ร้ายผู้ตกเป็นเหยื่อของการถือโชคถือลางนั้น บี้แบนอยู่ในหลุม

คนไทยเชื่อว่าผู้เคราะห์ ร้ายเหล่านี้จะกลายสภาพเป็นอารักษ์จำพวกที่เรียกว่า ผีราษฏร คนสามัญบางคนก็กระทำการฆาตกรรมแก่ทาสของตนในทำนองเดียวกันนี้เพื่อใช้ให้ เป็นผีเฝ้าขุมทรัพย์ที่ตนฝังซ่อนไว้ ตัวอย่าง การสร้างราชธานีใหม่ของพม่า
เมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจึงมีกำแพงกันสี่ด้าน แต่ละด้านมีประตูเมือง 3ประตู รวมเป็น12 ประตูด้วยกัน


การ ฝังอาถรรพ์ก็เป็นคนเป็นล้วนๆถึง 52 คน ฝังตามประตูเมืองประตูละ 3คน 12 ประตูก็เป็นทั้งหมด 36 คน และเฉพาะใต้พระที่นั่งในท้องพระโรงต้องฝังถึง 4 คน และคนที่ถูกฝังทั้งเป็นเพื่อเป็นผีคอยรักษาเมืองและพระราชวังนั้นต้องเลือก ให้ได้ลักษณะตามที่โหรพราหมณ์กำหนด ไม่ใช้นักโทษที่ต้องโทษประหาร

แต่ จะเป็นคนที่อยู่ในวัยต่างๆกันมีตั้งแต่คนมีอายุจนถึงเด็กทั้งผู้หญิงและ ผู้ชาย ทุกคนต้องมีฐานะดีเป็นที่ยกย่องในกลุ่มชน และต้องเกิดตามที่โหรกำหนด
ถ้าเป็นชายต้องไม่มีรอยสัก ผู้หญิงต้องไม่เจาะหู เมื่อสั่งเสียร่ำลาญาติพี่น้องแล้วก็จะถูกนำตัวไปลงหลุมญาติพี่น้องก็จะได้ รับพระราชทานรางวัล

ตอนนี้ผมได้ดึง RSSข่าวมาใว้ให้เพื่อนๆได้อ่านกันด้วยนะครับจาได้ไม่ตกเทรนอิอิ
อยู่ด้ายขวามือนะครับ ถ้ายังไงช่วยติชมด้วยก็ดีนะครับ อีกไม่นานเราจะอัพเดทครั้งใหญ่ครับผม



ช่วงนี้ฝนตกถนนลื่นมากครับ เมื่อวานที่พระราม3ยังชนกันได้21คัน (มาจากเรื่องเล่าเช้านี้เขาบอกมา) แต่วันนี้เราจะมาเสนอคำคมหลังรถ10ล้อกัน อาจจะทะเล้นนิดนึงนะครับ
ยามกินพี่จะป้อน ยามนอนพี่จะปล้ำ
เมาเหล้าเสียหลัก เมารักเสียใจ
รักแท้คือแม่ข้า รองลงมาคือแม่โขง
รักแท้คือการเสียสละ รักอมตะคือรักเขาข้างเดียว
ความดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง
คนสวยๆอย่างน้อง พี่เห็นท้องมาเยอะ..เหอๆๆ
หญิงหนึ่งในดวงใจ หญิงทั่วไปคือกำไรชีวิต
คารมเป็ยต่อ รูปหล่อเป็น..ตุ๊ด..กร๊ากๆๆ
ลืมตาได้ แต่อย่าลืมตัว
เวลาทับไม่ร้อง เวลาท้องจะให้รับ
รักลวงคือหญิง รักจริงคือเหล้าขาว
แรกรักเรียกคุณน้อง พอท้องเรียก..ยายแก่!
ท้องฟ้ามีดาว ท้องสาวมีเด็ก
กลิ่นใช้ได้ แต่เสียงต้องปรับปรุง
ขออภัยในบางลีลา
ถึงจะชั่วก็...สามีเทอ
ท้ายรถ Mira "" กรุณาอย่ายกเล่น ""
รถกับผัวของส่วนตัวห้ามยืม
เศษแก้วมันบาดคน คำพูดของเศษคนมันบาดใจ
อยู่ที่ท้าย10ล้อ....ห้าม!เสยตูด..ก่อนได้รับอนุญาต
ขาดน้องพี่ไม่ว่า ขาดแปดห้าพี่ลงแดง
ี่กระจกหลังรถแต่ง >สมพรปาก<
ตัวมัธยม นมมหาลัย
เมียอยู่ในรถ แม่มดอยู่ที่บ้าน
ชายแรกเป็นความรู้ ชายชู้เป็นประสบการณ
มีลูกกวนตัว มีผัวกวนT-E-E-N
รถนะน้อง ไม่ใช่กะเจี้ยวจะได้ชนแล้วเสียวได้
ทำงานลูกเดียว..เที่ยวสองลูก
เรียนๆลุยๆไป คุยโรงพัก... เรียนๆรักๆไปพักโรงแรม
รักจริง ทิ้งจริง
รับแก้ทอมทั่วราชอาณาจักร
ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง กระเทยงามก็ต้องแปลง
ตอนนี้หลงทาง จะขับตามทำไม
จำกัดความเมาไม่เกิน 80 ก.ม/1 แบน
โซ่เถอะน้อง ทองมันแพง
มือเก่า แต่เมาค้าง
แซงขวาชาติควาย แซงซ้ายชาติหมา
รถยังมีอะไหล่ แต่หัวใจไม่มีสำรอง
พลาดจากน้อง พี่ก็จ้องกระเทย
ไฟแดงหน้าข้าขอสู้ตาย
สุขใจ เมื่อไกลเมีย
เมียหลวงให้ 500 เมียน้อยให้ 5,000
มีเงินนับเป็นน้อง มีท้องนับเป็นเมีย"
เมียเงินสด รถเงิน ผ่อน
แซงซ้ายไม่ว่า ปาดหน้าโดนเหยียบ
สตางค์ยังรู้หมด ตดยังรู้เหม็น
พอเหล้าเข้าปาก ก็อยากเสียตัว
รักน้องจริงยิ่งกว่าลิงรักกล้วย
ขับเร็วเพราะเ มาม้า ขับช้าเพราะมองเธอ
น้องขึ้นพี่ดีใจ น้องลงไปพี่คิดถึง
ตากแดดตาก-ลม เพราะนมสองเต้า
เมาเหล้าเ สียหลัก เมารักเสียท่า

นึกแล้วว่าต้องอ่าน..เหอๆ

วันนี้ขอนอกเรื่องซักนิดวะจะอัพแบบความเป็นไทยสลับบทความดีๆบ้างเพื่อจะได่ไม่เบื่อกัน



คนเราอายุเฉลี่ย 60 ปี

1 ปี เท่ากับ 365 วัน
แสดงว่าแต่ละคนมีเวลาบนพื้นโลก 21,900 วัน
คิดปลีกย่อยไปกว่านั้นก็ 525,600 นาที
ลองนับเป็นสัปดาห์ อืม...ไม่เลว 3,120 สัปดาห์

แสดงว่า เรามีโอกาสเที่ยวในคืนวันเสาร์สามพันกว่าครั้งเท่านั้นเอง คิดแบบนี้แล้วไม่กล้าดูนาฬิกา
แทบเบือนหน้าจากปฏิทิน เพราะมันไม่ต่างอะไรกับการนับแถวหลังเพื่อรอวันลาโลก

เปล่าเลย ผมไม่ได้กลัวตาย ตรงกันข้าม ผมคิดว่าตลอดเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้มันน้อยมาก
หากคำนวณในเชิงตัวเลข ยังมีหนังสืออีกหลายเล่มที่ยังไม่ได้อ่าน เพลงอีกหลายเพลงที่ยังไม่ได้ฟัง
หนังอีกหลายเรื่องที่ยังไม่เคยดู ความรู้สึกในใจมากมายที่ยังไม่เคยบอก
พื้นที่อีกหลายล้านตารางกิโลเมตรที่ยังไม่เคยไป

โอ๊ย...กลุ้ม สองหมื่นกว่าวันที่เราได้รับมามันน้อยเกินไปจริงๆ
และที่น่ากลุ้มไปกว่านั้น คือ ใช่ว่าทุกคนจะอยู่ถึง 60 ปี

แน่นอน 1 ปี ยังเท่ากับ 365 วัน
นั่นแสดงว่า บางคนไม่ได้มีเวลาอยู่บนพื้นโลกถึง 21,900 วันหรอกนะ
อาจไม่ถึง 3,120 สัปดาห์ซะด้วยซ้ำ
อุแม่เจ้า... 2 คืนวันเสาร์ที่จะได้ไปเที่ยวเหลือไม่ถึงสามพันแล้วเหรอเนี่ย

คิดแบบนี้แล้วต้องรีบยกนาฬิกาขึ้นมาดู กางปฏิทินออกกว้างๆ
เพราะนี่คือวันเสาร์ที่เราเหลือ...บนพื้นโลก

นี่เรากำลังอ่านอะไรบ้าบอ อยู่เนี่ยคิดมากไร้สาระ ฟุ้งซ่าน(รู้นะว่าพวกเธอคิดอยู่) ....
ไม่เลย นี่ไม่ใช่ปรัชญางี่เง่าอะไรทั้งนั้น หากเป็นความจริงที่เราไม่ค่อยได้มองมัน เอาล่ะ นี่คือ เรื่องจริงเรื่องหนึ่ง
ที่คนส่วนใหญ่มองข้ามมันไป งั้นสมมติว่าทุกคนอายุ 18 ปี แปลว่าใช้ชีวิตมาแล้ว 6,235 วัน และผ่านคืน
วันเสาร์มา ร้อยกว่าครั้ง ส่วนหน่วยนาทีนั้น...คำนวณเองบ้างซิว้อย!!!

เอาเวลาที่ใช้ไปนั้น หักลบกับเวลาที่(คาดว่าน่าจะ)เหลืออยู่ผลลัพธ์ที่ได้ เราจะยังไงกับมันดี

แต่น่าแปลก หลายคนยังยอมทำงานน่าเบื่อ นั่งเอาหัวตากแอร์ไปวันๆ ยอมให้คนที่ไม่ใช่พ่อใช่แม่จิกหัวใช้
เพื่ออะไรบางอย่างที่เราเรียกว่า เงินเดือน

บางคนทนเรียนอะไรก็ไม่รู้อยู่ 4 ปี ทั้งๆ ที่ก็ไม่รู้ว่าชอบหรือเปล่า รู้แต่ว่าแม่ชอบ ไม่ก็เห็นเพียงว่า
เพื่อนเรียน เพียงแค่ตอบตัวเองไม่ได้ว่าผมจะเป็นอะไรดี

บางคนแอบรักเขา ซุ่มเลิฟอยู่อย่างนั้น ปล่อยให้ความรู้สึกที่ดีลอยไปหาคนอื่น แต่กลับปล่อยให้หัวใจตัวเอง
เหลือแต่ความรู้สึกต่ำต้อยได้ทุกวัน ทุกวัน ทุกวัน

บางคนกินทิฐิเป็นอาหาร เก๊กใส่กันไปวันๆ ต่างฝ่ายต่างรอให้อีกฝ่ายง้อ คุณแน่ ผมแน่ งอนการกุศล
ประชดทำลายสถิติ เชิดหยิ่งชิงชนะเลิศ...ไอ้บ้า!!!

และอีกหลายคนนิยมกิจกรรม 'ฆ่าเวลา' ... ชีวิตมันว่างจัด ขนาดต้องนั่งฆ่าเวลากันเลย
บอกตรงๆ เห็นแล้วอยากตบกบาล เอ็งกำลังทำลายทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดที่มนุษย์ทุกคนพึงจะมี

อีกหน่อยเราก็ตายจากกัน...แล้วนะ

ลองคิดแบบนี้บ้าง...ใช่แล้ว...เราจะเกิดความเสียดายเพราะเหลืออีกหมื่นแสนล้านอย่างที่เราไม่ได้ทำ

ตายได้ยังไงหากฝันไม่สำเร็จ...ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ยอมตาย
แต่ให้รีบทำทุกอย่างก่อน ที่จะตาย...ซึ่งจะเป็นวันไหนก็ไม่รู้

เคยสงสัยมั้ย... ทำไมเราถูกกำหนดไม่ให้รู้วันตายของตัวเองเพราะมันจะทำให้เราไม่แยแสทุกสิ่งทุกอย่าง
และตอบสนองความต้องการของตัวเอง ทั้งในทางดีและทางชั่ว

และในเมื่อเราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่...มาเตรียมการรอรับวาระสุดท้ายของเราดีกว่า เอาแบบว่าถ้าตาย
วันพรุ่งนี้ก็จะได้นอนตาหลับ เกิดโชคดีไม่ตายขึ้นมาเราก็จะได้กำไรในการอยู่ต่อเพื่อทำสิ่งดีที่ยังค้างคา

ใช้ชีวิตโดยคิดซะว่า...พรุ่งนี้ชั้นจะตายแล้ว
ทำในสิ่งที่เรารัก เสมือนว่าเราจะไม่ได้ทำมันอีก
ตามฝันของเราไปสุดโต่ง...ต้องรีบแล้ว...เดี๋ยวตายยนะ...เตือนแล้วไง

รักให้หมดใจ บอกเขาไปทั้งหมดที่ความรู้สึกมี ส่วนจะรักหรือไม่รักผม ไม่สนว้อย...
เพราะพรุ่งนี้ชั้น(อาจจะ)ตายแล้ว

ใช้เวลา(ที่อาจจะ)สุดท้ายที่มีต่อกันไว้ กอดกันเหมือนว่านี่เป็นกอดสุดท้ายของเรา
นุ่มนวลที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะอย่างน้อยๆ เราจะได้มีสีหน้าที่ยิ้มแย้มตอยให้สัมภาษณ์ยมบาล

คนข้างบ้านเดินหน้าแป้นแล้นมาบอกกข่าวดี ลูกสาววัย 23 กำลังจะแต่งงาน ในมือมีซองสีชมพูพร้อม
การ์ด ลูกสาวอยู่ต่างจังหวัดกับคู่หมั้น แม่เลยต้องมาแจกการ์ดเอง แต่เมื่อกี๊นี้ว่าที่เจ้าสาวเพิ่งโทร.มา
ปรึกษาแม่เรื่องชุดแต่งงาน หลังจากนั้น 3 ชั่วโมง เธอตาย... แต่กว่าที่คนเป็นแม่จะได้รู้ข่าวร้าย ก็
ปาไป 5 วัน ซองในมือผมกลายเป็นเงินช่วยงานศพ ช่อดอกไม้กลายเป็นพวงหรีดและทั้งหมดกลายเป็น
แรงบันดาลใจที่อยากจะบอกว่าอีกหน่อยเราก็ตายจากกัน...แล้วนะ

อ้าว!!! รู้งี้ยังจะมาอ้อยสร้อยอะไรกันอีก รีบแยกย้ายไปใช้เวลาที่เราเหลืออยู่ทำทุกอย่างที่เรายังไม่ได้ทำ

เดี๋ยวตายซะก่อน...เสียดายแย่!!!

แม้ว่าทีมชาติไทยจะยังหวัง (ลมๆแล้ง) อยู่เรื่อยๆว่าจะได้ไปเตะฟุตบอลโลกกะเขาซักที่แต่เชื่อหรือไม่ว่าคนไทยเคยไปฟุตบอลโลกมาแล้ว
ในฟุตบอลโลกปี 1998 ที่ฝรั่งเศษ ภิรมย์ อั๋นประเสริฐ หรือ เปาอั๋น (คนบ้านผมอิอิ)ผู้ตัดสินชาวไทยถูกคัดเลือกจากฟีฟ่าให้เป็นหนึ่งในผู้ตัดสินที่ได้ลงตัดสินในฟุตบอลโลกครั้งนั้นเขาได้ลงทำหน้านี่2นัด ในเกมรอบแรกที่โมร็อกโกและนอร์เวย์เสมอกันไปด้วยสกอร์2-2ซึ่งในเกมนี้ ซาอิด จีบาผู้เล่นโมร็อกโกได้รับใบเหลืองอาบยิ้มสยามอันลือลั่นจากเปาอั๋นเป็นที่ระลึกด้วย ส่วนอีกเกมเป็นเกมที่ปารากวัยชนะไนจีเรีย 3-2 ซึ่งผู้เล่นไนจีเรียได้รับใบเหลืองไปสองคนคือ อกุสติน อีกัวโวเอ็น และ เบเนดิกต์ อิโรฮา นี้ละคนไทยคนแรกที่เคย ลงสนาม ในฟุตบอลโลกมาแล้ว
เครดิต a day เล่ม77

วันนี้อารมดีเป็นพิเศษเนื่องจาก Liverpool ชนะ Manchester United 4-1 อิอิ ยังไงก็ขอโทษแฟนผีด้วยนะครับมาเข้าเรื่องดีกว่า
พักหลังๆนี้มีทีมฟุตบอลดังๆจากต่างชาติเข้ามาเตะในประเทศไทยถี่มาก แน่นอนเป็นเพราะกระแสความนิยมฟุตบอลต่างประเทศที่บูมมากในระยะหลายปีหลัง แต่หากย้อนไปหลายปีก่อนในวันที่กระแสความนิยมฟุตบอลนอกยังไม่แรงเท่านี้ ได้มีทีมฟุตบอลจากอังกฤษทีมแรกที่เดินทางเข้ามาเปิดตลาดในเมืองไทย นั้นคือสโมารนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ซึ่งในตอนนั้นมีซูเปอร์สตาร์ทีมชาติอังกฤษที่ชื่อ เควิน คีแกน ในวัยเอ๊าะๆร่วมทีมมาด้วย นิวคาสเซิลเดินทางมาเตะ2นัดกับทีมชาติไทยนัดแรกทำการแข่งขันที่สนามเทพหัสดินในวันที่26 พ.ค. 2526 ผลคือไทยผ่ายไปอย่างหวุดหวิด 1-0 ส่วนอีกนัดเดินทางไปแข่งที่สนามกีฬากลางจังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ 25 พ.ค. 2526 ซึ่งนิวคาสเซิลก็ยังเอาชนะไปได้อีก 3-0
เครดิต a day เล่ม77