Blog Archive

ขับเคลื่อนโดย Blogger.
แล้วก็ได้เวลาของศิลาจารึกหลักที่ 1ของไทยแล้วนะครับจริงๆอยากเอาเรื่องนี้มาลงให้นานแล้วครับแต่ยังไม่ได้ทำวักกะที(จริงๆลืมครับ)เอาเป็นว่ามาเข้าเนื้อหากันเลยดีกว่าครับ หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้รับการยกย่องให้เป็นหลักฐานที่ทรงคุณค่าต่าง ๆ คือ ประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ ภาษาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และนิติศาสตร์
เนื้อความที่ปรากฏบนหลักศิลาจารึกบ่งบอกถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ สภาพเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงหลักการเมืองการปกครอง ความเชื่อต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยนั้น ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุดเริ่มแรกของ ประเทศไทย ที่พวกเราคนรุ่นหลังสมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับรู้เอาไว้ และนำความรู้เหล่านั้นมาประยุคใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต
หลักสิลาจารึกหลักที่หนึ่งได้ถูกค้นพบโดย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ครั้งที่ทรงยังไม่ได้ครองราชย์และทรงผนวชอยู่ ทรงได้เสด็จไปสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 2376 ทรงพบ “เสาศิลา” พร้อมกับ “พระแท่นมนังศิลา” และจารึกวัดป่ามะม่วง พระองค์ทรงได้นำมาเก็บไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 ได้ย้ายมาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ภายในพระที่นั่งศิวโมกพิมาน
ด้วยความโดดเด่นและทรงคุณค่าทางวัฒนะธรรม องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนะธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก้ ได้จดทะเบียนให้เป็น เอกสารทางความทรงจำแห่งโลก (Memory of the world) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2546
หลักฐานหรือเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่บ่งบอกถึงความเป็นมาของประเทศ ไทย มีหลายชิ้นที่มีความเป็นมาอย่างพิษดารมากมาย บางชิ้นเกือบจะสูญเสียไปอย่างไม่ได้ตั่งใจ บางชิ้นค้นพบด้วยความบังเอิญ ถ้าพวกเราคนไทยลองศึกษาการได้มาของเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ เหล่านั้นจะรู้ว่า ประเทศของของเรามีบุญหนักหนา เหมือนกับว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อะไรบางอย่างช่วยไม่ให้สิ่งเหล่านั้นสูญหาย ไป และได้ช่วยดลให้มีคนไปค้นเจอ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อเราได้มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไว้เป็นที่ศึกษาและเป็นมรดกของประเทศ แล้ว พวกเราก็ควรที่จะศึกษาอย่างจริงจัง ที่สำคัญควรที่จะช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้ให้อยู่คู่กับประเทศไทยไปอย่างยาวนาน



ที่มา : ป้ายหน้าหลักศิลาจารึกหลังที่หนึ่ง ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
โดย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
เรียบเรียง : วาทิน ศานติ์ สันติ

0 ความคิดเห็น: