Blog Archive

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ขอบอกใว้ก่อนเลยนะครับว่าบทความนี้ค่อนข้างที่จะยาวพอสมควร แต่ก็เป็นความรู้ที่ดีครับผม
ประมาณ ๒ พันปีมาแล้ว มีชาวอินเดียนับถือศาสนาฮินดูและพุทธลงเรืออพยพจากบ้านเมืองของตนมา
ตั้งหลักแหล่งในเกาะชวา และเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย บางส่วนเลยไปตั้งหลักแหล่งถึงประเทศ
กัมพูชา และได้สร้างปราสาทหินนครวัดตามค่านิยมของอินเดียใต้ การอพยพใหญ่ครั้งแรกอาจเป็นลี้ภัย
สงครามของพวกกลิงค์ในอินเดียริมทะเลด้านใต้ ราว พ.ศ. ๒๓๐ สมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชทำสงคราม
กับพวกกลิงค์ มีการฆ่าฟันชาวกลิงคราชล้มตายไปมาก จนพระเจ้าอโศกสังเวชพระทัย หันมานับถือ
พุทธศาสนา การอพยพใหญ่ครั้งที่สองของชาวพุทธ อาจจะเกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เมื่อพวกตุรกีหรือ
เติร์ก นำศาสนาอิสลามที่พระนาบี มุฮัมมัดทรงประกาศเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย
เข้ามามีอิทธิพล ครอบครองอินเดีย ตั้งราชวงศ์โมกุล สร้างอนุสรณ์สถานทาชมาฮาล มีการ ทำลายพระพุทธรูป
ฆ่าฟันพระสงฆ์ และเผาวิทยาลัยพุทธศาสนาใหญ่ที่เมืองนาลันทาจนหมดสิ้น แม้แต่ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ที่พุทธคยาก็ยังถูกทำลาย รูปพระพุทธเจ้าที่ถ้ำตุ้นหวงประเทศจีน ถูกขูดลูกตาออกจนหมดสิ้น ทั้งนี้เพราะ
ศาสนาอิสลามสอนไม่ให้มีรูปเคารพใดๆ ชาวพุทธที่อพยพมาเกาะชวา ได้สร้างพุทธศาสนสถานขนาดใหญ่
ด้วยหินภูเขาไฟ ชื่อบุโรพุทโธ ไว้ที่เมืองจ๊อกจารกาตา ซึ่งปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้ ศาสนสถานบุโรพุทโธใน
อินโดนีเซียนี้เป็นหลักฐานชัดเจนว่าดินแดนแถบนี้เป็นดินแดนของคนที่นับถือพุทธมาก่อนที่จะเปลี่ยนไปนับ
ถือศาสนาอิสลาม ต่อมามีคนอพยพข้ามฟาก จากเกาะชวา และสุมาตรามาที่ปลายแหลมมลายู คำว่า มลายู
แปลว่า " ผู้ข้ามฟาก "
ตั้งแต่สมัยเมื่อกว่าพันปีมาแล้ว ได้มีการค้าขายทางทะเล เกิดเมืองท่าเรือและป้อมค่าย
เช่นมะริด(Mergui) ตะโกลา (Tacola) มะละกา (Mallaca) และอาณาจักรอะแจ หรือ อะเจะห์(Aceh)
ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประทศอินโดนีเซีย ปรากฏมีเส้นทางเดินบกข้ามคาบสมุทรระหว่าง
รัฐเคดาห์ ทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย กับปัตตานี และสงขลา ทางฝั่งอ่าวไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น
พ่อค้าชาวเปอร์เซีย จากแถบคาบสมุทรอาหรับได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่ ในเกาะชวา สุมาตรา
และปลายแหลมมลายู ทำให้ประชาชนบางส่วนนับถืออิสลาม ตั้งแต่ราว พ.ศ.2012 คือประมาณห้าร้อยปีนี่เอง
ลังกาสุกะและปัตตานี
"ปัตตานี หรือ ปตานี " เป็นเมืองเก่าแก่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักของพ่อค้าต่างประเทศมาตั้งแต่โบราณ
และเป็นศูนย์การค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้ สมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 20 นั้น นักประวัติศาสตร์
รู้จักปัตตานีในนามของ"ลังกาสุกะ"(Langkasuka) ซึ่ง เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนในแหลม
มลายู ลังกาสุกะ หรือ ลังกาโศภะ หรือที่จีนเรียกว่า หลังยาซูว หรือ หลังหยาสิ้ว เป็นอาณาจักรอัน
เก่าแก่แห่งหนึ่งของเอเชียอาคเนย์ มีอาณาเขตครอบคลุมคาบสมุทรมลายูตอนล่าง ด้านใต้ของ
อาณาจักรตามพรลิงค์ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน ลังกาสุกะพัฒนามาจากเมือง
ท่าเล็กๆ ของชาวพื้นเมือง จนเติบโตเป็นรัฐและมีฐานะเป็นอาณาจักรมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 ซึ่งจะเห็นได้ว่า
ในขณะที่ คนไทยทางภาคกลางยังอยู่ในอิทธิพลของพวกขอม แต่คนไทยทางภาคใต้ มีอาณาจักร
เป็นของตนเองแล้ว
ขณะที่อาณาจักรฟูนันเริ่มเสื่อมอำนาจ เนื่องจากอาณาจักรลังกาสุกะมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะ
สมเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก (East-West Center) มีทิศทางลมตรงมา
จากแหลมญวน มีอ่าวปัตตานีเป็นที่หลบภัยจากลมมรสุม ทั้งยังเป็นแหล่งผลิต ต้นการบูนและ
ไม้กฤษณาที่มีกลิ่นหอม จึงเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างจีนกับอินเดียและเป็นศูนย์กลางของการเผย
แผ่หลักธรรมของศาสนาทั้งศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธนิกายมหายาน ระหว่างพุทธศตวรรษที่
๑๑-๑๙ จดหมายเหตุจีนฉบับหนึ่งเขียนไว้เมื่อราว พ.ศ. ๑๐๕๒ ว่า หลังยาซูว เป็นเมืองที่มีกำแพง
ล้อมรอบ พระราชาประทับอยู่บนเราบช้างมีหลังคาทำด้วยผ้าสีขาว แวดล้อมด้วยองครักษ์ท่าทางดุร้าย
และทหารตีกลองถือธงสีต่างๆ ประชาชนทั้งชายหญิงไว้ผมปล่อยยาว ใส่เสื้อไม่มีแขน ศูนย์กลาง
ของลังกาสุกะอยู่บริเวณ อำเภอเมืองปัตตานีกับอำเภอยะหริ่ง และอำเภอยะรัง ทางฝั่งตะวันออก
ของแม่น้ำปัตตานี ที่เมืองโบราณยะรังในปัจจุบันปรากฏร่องรอยของศาสนสถานประเภทสถูป
เจดีย์ขนาดใหญ่ทั้งหมดกว่า ๓๐ แห่ง ในพื้นที่ประมาณ ๙ ตารางกิโลเมตร นอกจากนั้นยังพบ
ร่องรอยกำแพงเก่าอีกหลายแห่งในบริเวณใกล้เคียงกัน มีชิ้นส่วนดินเผาลายดอกบัวศิลปะทวารวดี
สำหรับตกแต่งสถานที่ ปรากฏอยู่ที่โบราณสถานเมืองยะรัง
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อาณาจักรลังกาสุกะเริ่มเสื่อมอำนาจลง เนื่องจากภาวะของชายฝั่งทะเล
ตื้นเขิน สายน้ำเปลี่ยนทางเดิน เกิดศึกสงคราม โดยมีกองทัพจากเขมร และมะละกา เข้ามาโจมตี
หลายครั้ง อาจเป็นเพราะคนอพยพไปอยู่ที่อื่น เนื่องจากถูกโคลนทับเมือง หรือเกิดโรคระบาด
หรือถูกโจมตีทำลาย จนชื่อหายไปจากประวัติศาสตร์ ส่วนดินแดนเดิมของลังกาสุกะ ได้เข้าไปรวม
กับอาณาจักรตามพรลิงค์ ดังนั้นชาวลังกาสุกะส่วนใหญ่จึงนับถือพุทธศาสนาตามชาวตามพรลิงค์ไปด้วย
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๗ ถึง ๑๙ ได้มีการก่อตั้งอาณาจักรตามพรลิงค์ หรือตัมพะลิงค์ มีศูนย์กลางอยู่ที่
บริเวณบ้านท่าเรือ บนสันทรายปากอ่าวนครศรีธรรมราช ทางเหนือของอาณาจักรลังกาสุกะ
มี อาณาเขตทางตะวันตกจรดอ่าวไทยและทางตะวันออกจรดจังหวัดกระบี่ในปัจจุบัน อาณาจักรตามพรลิงค์(นครศรีธรรมราช)ประกอบด้วยเมือง ๑๒ เมือง หรือสิบสองนักษัตร คือ
1. เมืองสายบุรี สัญลักษณ์ ตราหนู (ชวด)
2. เมืองปัตตานี สัญลักษณ์ ตราวัว (ฉลู)
3. เมืองกลันตัน (ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย )สัญลักษณ์ ตราเสือ (ขาล)
4. เมืองปะหัง (ปัจจุบัน มีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในรัฐมาเลเซีย ) สัญลักษณ์ ตรากระต่าย (เถาะ)
5. เมืองไทรบุรี(ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในมาเลเซีย ชื่อว่า "เคดาห์" ) สัญลักษณ์ ตรางูใหญ่ (มะโรง)
6. เมืองพัทลุง สัญลักษณ์ ตรางูเล็ก (มะเส็ง)
7. เมืองตรัง สัญลักษณ์ ตราม้า (มะเมีย)
8. เมืองชุมพร สัญลักษณ์ ตราแพะ (มะแม)
9. เมืองบันทายสมอ(อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี) สัญลักษณ์ ตราลิง (วอก)
10. เมืองสงขลา สัญลักษณ์ ตราไก่ (ระกา)
11. เมืองภูเก็ต (ถลาง) สัญลักษณ์ ตราหมา (จอ)
12. เมืองกระบุรี สัญลักษณ์ ตราหมู (กุน)

ประชาชนของอาณาจักรตามพรลิงค์นับถือพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น มีการสร้างพระบรมธาตุ
ขนาดใหญ่ไว้เป็นที่สักการะบูชา ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระเจ้าจันทรภาณุ ศรีธรรมราช ได้ส่งกองทัพเรือไปโจม
ตีเกาะลังกาถึงสองครั้ง ประวัติศาสตร์ลังกาบันทึกไว้ว่า กองทัพของพระเจ้าจันทรภาณุใช้ไม้ซางเป่าลูกดอก และ
ธนูเป็นอาวุธ ในพ.ศ. ๑๘๓๗ อาณาจักรตามพรลิงค์ได้เข้ารวมกับอาณาจักรสุโขทัย และ พ.ศ. ๑๘๙๓ เข้ารวมกับ
อาณาจักร กรุงศรีอยุธยา ดังนั้นดินแดนลังกาสุกะจึงเข้ารวมกับอยุธยาไปด้วยระหว่าง พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถึง ๑๘ ได้มีการก่อตั้งอาณาจักรศรีวิชัย (Sri Vijaya) โดยราชวงศ์ ไศเลนทรของชวา มีอาณาเขตครอบคลุม แหลมมลายู เกาะชวา สุมาตรา และควบคุมการเดินเรือในช่องแคบมะละกาโดยมีสายโซ่ขึง กั้นช่องแคบเพื่อเก็บเงินค่าผ่านทางจากเรือที่จะผ่านไปมา เข้าใจว่าศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน(ปัจจุบันมีนักวิชาการบางท่านแย้งว่า น่าจะอยู่บริเวณเขตรอยต่อระหว่าง (นครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี) ประชาชนชาวศรีวิชัยนับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ใช้ภาษาสันสกฤต หลวงจีนอี้จิงซึ่งได้เดินทางจากประเทศจีนทางเรือผ่านมาแถบนี้ในเดือน๑๑ พ.ศ. ๑๒๑๔ บันทึกไว้ว่า ประชาชนทางใต้ ของแหลมมลายูนับพุทธศาสนา แต่ได้ติดต่อกับพวกมุสลิมอาหรับที่เดินทางผ่านไปประเทศจีน ศาสนาอิสลามจึงได้ เผยแผ่ไปยังมะละกา กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และปัตตานีจนกลายเป็นรัฐอิสลามไป พ.ศ.๑๕๖๘ อาณาจักร์ศรีวิชัย ได้ทำสงครามกับอาณาจักรโจฬะในอินเดียใต้ และตกอยู่อำนาจของอาณาจักรมัชปาหิตในชวาใน พ.ศ. ๑๙๔๐ ดินแดนปัตตานีหลังยุคลังกาสุกะ ภายหลังจากสิ้นยุค ลังกาสุกะ อันรุ่งเรืองในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมืองท่าแห่งใหม่ได้เกิดขึ้นที่ปัตตานี
มี พ่อค้าชาว เปอร์เซีย อาหรับ ญี่ปุ่น จีน และชาวยุโรป เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ สเปน ฯลฯ เข้ามาทำการค้าขายเป็นจำนวนมาก มีท่าเรือน้ำลึกสำหรับขนถ่ายสินค้าไปยังต่างประเทศ พ่อค้าชาว อาหรับเรียกชื่อเมืองปัตตานีเป็นภาษาอาหรับว่า ฟาฎอนี (Fatani) ร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองสมัยนั้น ยังเหลือปรากฏ อยู่ในพื้นที่กว่า 4 ตารางกิโลเมตร ในเขตตำบลบานา บาราโหม และตันหยงลุโละ
ตามตำนานเมือง ไทรบุรี ที่พันโท เจมส์ โลว์ แปล เป็นภาษาอังกฤษ ระบุว่า มะโรงมหาวงศ์ (มะโรงมหาวังษา) กษัตริย์แห่งเมืองลังกาสุกะ ที่เมืองไทรบุรี ทรงคิดจะให้โอรสและ ธิดาทุกองค์ไปสร้างเมืองใหม่ สำหรับธิดาของพระองค์นั้น ได้ประทานกริชศักดิ์สิทธิ์เล่มหนึ่ง ชื่อ เลลา มิซานี (Lala Misani) ธิดาของพระองค์พร้อม กับมนตรีทั้งสี่เป็นผู้ใหญ่คุ้มครอง ได้ยกไพร่พลไปทางทิศตะวันออกข้ามเขาลงห้วย จนถึงแม่น้ำแห่งหนึ่ง ไม่ไกลทะเลมากนัก
ก็ตั้งเมือง เมืองนั้นเรียกว่า"ปตานี"ตามนามกริชมิซานี ที่บิดาประทานให้ ตามพงศาวดารปัตตานี ระบุว่า กษัตริย์แห่งเมืองมะลีไก (มหาลีกัย หรือ โกตามะฮลิฆัย Kota Mahligai) มีพระนามว่าพญา ตู กรุบ มหายาน(หรือมหาชนะ) มีราชโอรสสืบบัลลังก์ต่อมา มีพระนามว่า พญา ตู
นักปา (Tu Nakpa หรือพญาตูอันทิรา,พญาอันทิรา ,พญาตู อันตารา ,ศรีอินทรา ) วันหนึ่ง พญาตูนักปาไปล่าสัตว์ จนถึงชายทะเล พบกระท่อมหลังหนึ่งมีตายายสองคนอาศัยอยู่ ตาคนนั้นชื่อ ปะตานี ต่อมาพระองค์ทรงเห็นว่า สถานที่นั่นทำเลเหมาะที่จะสร้างเมือง จึงให้ย้ายจากเมืองมะลีกัย
มาตั้งที่ตรงนั้น โดยใช้ชื่อเมืองนั้นว่า "ปตานี" ตามชื่อเจ้าของกระท่อมที่พระองค์ทรงพบ ศาสนาอิสลามเข้ามาสู่ดินแดนปัตตานี แต่เดิมชาวปัตตานีนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ต่อมาศาสนาอิสลามเข้ามายังบริเวณ
ปัตตานีในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ประวัติศาสตร์ ของรัฐกลันตันระบุว่าในราว พ.ศ. ๑๘๙๓ (ค.ศ. ๑๑๕๐) มีคนมุสลิม จากปัตตานีคนหนึ่งไปเผยแพร่อิสลามในเมืองนั้น ซึ่งแสดงว่าศาสนาอิสลามได้เข้ามาทางปัตตานีก่อนจะสร้างเมืองมะละกาถึง
๒๐๐ ปี นักประวัติศาสตร์ชื่อ d'Eredia เขียนไว้ว่า ศาสนาอิสลามเข้ามายังปัตตานีและปะหังก่อน แล้วจึงเข้าไปสู่มะละกา
หลังจากที่ พ่อค้าชาวอาหรับเป็นผู้นำอิสลามเข้ามาเผยแพร่ในปัตตานีประมาณ ๓๐๐ ปีแล้ว เจ้าเมืองปัตตานี
จึง เข้ารับนับถือศาสนา อิสลาม P.W.F Wertheim ใน Book van Bonang ได้เขียนไว้ว่า "เจ้าเมืองปัตตานีไม่เชื่อในศาสนาอิสลาม แต่พ่อค้าปัตตานีเป็นมุสลิม" เมื่อชาวเมืองในแถบนั้นได้เข้ามายอมรับในศาสนาอิสลาม สถูปเจดีย์และสิ่งสักการะ ในศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามก็ถูกปล่อยปละละเลย ถูกยุคสมัยและกาลเวลากัดกร่อนไป
เจ้าเมืองปัตตานีเปลี่ยนจากนับถือพุทธไปนับถืออิสลาม
ราว พ.ศ. ๒๐๔๓ เจ้าเมืองปัตตานีที่ชื่อ พญาตู นักปา หรือตู อันตารา หรือ ราชาอินทิรา (Raja Intira)
ซึ่ง นับถือพุทธศาสนาได้ล้มป่วยลง โดยมีรอยแตกระแหงตามร่างกาย บางตำราว่าเป็นโรคเรื้อน ซึ่งหมอหลวงชาวปัตตานีรักษาไม่หาย แต่ มีหมอมุสลิมชาวปาซายจากสุมาตรา คนหนึ่ง ชื่อ เชค ซาอิด หรือ เชค ซาฟียุคดิน (Sheikh Safiuddin) อาสารับจะรักษาโรค
โดยมีข้อแม้ว่าเมื่อหายแล้วเจ้าเมืองจะต้องเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม เจ้าเมืองก็ยอมตกลงตาม
ที่หมอมุสลิมผู้นั้นขอ แต่เมื่อรักษาหายแล้วกลับไม่ทำตามสัญญา จนหลายปีต่อมาโรคเก่ากำเริบอีก
หมอมุสลิมคนนั้นก็เข้าไปรักษาโดยขอคำมั่นเช่นเดียวกับครั้งแรก เมื่อรักษาหายแล้ว เจ้าเมืองก็บิด
พลิ้วอีกตามเคย เมื่อโรคกำเริบเป็นครั้งที่สาม เจ้าเมืองได้ให้คำสาบานว่า "ในคราวนี้ ข้าขอสาบาน
ต่อหน้าพระพุทธรูปที่กราบไหว้อยู่ทุกวันว่า หากข้าบิดพลิ้วอีก ขอให้กลับเป็นโรคเก่าอย่ารู้จักหาย
อีกเลย" ดังนั้นเมื่อหายจากโรคแล้ว เจ้าเมืองปัตตานีก็เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามพร้อมกับครอบครัว
รวมทั้งขุนนางทั้งปวง นับแต่นั้นมา ศาสนาอิสลามได้แพร่หลายในปัตตานีอย่างรวดเร็ว เจ้าเมืองปัตตานี
ได้ เปลี่ยนชื่อเป็น สุลต่าน อิสมาอีล ชาห์ (Sultan Ismail Syah) ตามแบบของอาหรับ โอรสของ พระองค์มีนามว่า กรุบ พิชัย ปัยนา เปลี่ยนนามเป็น มุฏ็อฟฟัร ชาห์ ธิดาของพระองค์ที่มีนามว่า ตนเรามหาชัย เปลี่ยน นามเป็น ซีตี อาอีชะฮฺ และโอรสของพระองค์ องค์สุดท้ายมีนามว่า มหาชัยปัยลัง เปลี่ยนนามเป็น มันศูร ชาห์ การเปลี่ยนศาสนาจากพุทธอิสลามของสุลต่านปัตตานีองค์แรกนั้น ในพงศาวดารปัตตานี ระบุว่า เพียงแต่ละทิ้งการกินหมูและไม่กราบไหว้พระพุทธรูปเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วยังทำตามประเพณีเดิมทุกประการ บางตำราว่ามีการสั่งให้ทำลายเทวรูป พระพุทธรูป และสร้างมัสยิดขึ้นแทน
พงศาวดาร ไทยระบุไว้ว่า ในพ.ศ. ๑๙๙๘ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงแต่ทัพให้ไปเอาเมืองมลากา แต่ตีเมืองไม่สำเร็จ กองทัพมะละกากลับตีหัวเมืองสยามกลับคืน ได้แก่ ปาหัง ตรังกานู กลันตัน และไทรบุรี เมื่อสุลต่านอิสมาอีล ชาห์ สิ้นพระชนม์แล้ว โอรสซึ่งมีนามว่า มุฏ็อฟฟัร ชาห์ ได้ครองเมืองต่อ ส่วนเจ้าหญิง อาอิชะฮฺ ได้อภิเศก กับสุลต่านญะลาลเจ้าเมืองสาย(สายบุรี) ในสมัยนั้นปัตตานี
เจริญขึ้น อย่างรวด เร็ว มีพ่อค้าชาวต่างประเทศเข้ามาทำการค้าขายมากมาย ในปี ค.ศ. 1516 (พ.ศ. 2059) เฟร์เนาน์ เมนเดส ปินโต(Fernao Mendes Pinto) นักผจญภัยชาวโปรตุเกส ได้เขียนไว้ว่า "ขณะที่ข้าพเจ้ามาถึงปัตตานีนั้น ได้พบกับชาวโปรตุเกสเกือบ 300 คน นอกจากจากนั้น มีชาวตะวันออกอื่นๆ คือสยาม จีน ญี่ปุ่น สำหรับชาวญี่ปุ่นนั้น มีกิจการค้าใหญ่โต" สินค้าที่โปรตุเกสมา
ค้าขายที่ปัตตานีสมัยนั้นคือ ข้าว ดีบุก งาช้าง กำยาน คราม ครั่ง และไม้ฝาง มีรายงานว่า ในฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เรือสำเภาจากจีนจะมาจอดที่สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช ปัตตานี และเมื่อถึงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มาถึง เรือสำเภาก็จะแล่นใบกลับไปเมืองจีน
จักรพรรดิจีนสมัยพญาเลอไทย คือ จักรพรรดิหงวนเสงจงฮ่องเต้ (โอรสกุบไลข่าน) สินค้าไทยที่ ส่งออกไปจีนในสมัยนั้น คือ ของป่า ไม้สัก ไม้ฝาง และข้าว ส่วนสินค้าเข้าจากจีน คือ ผ้าแพร ผ้าไหม และภาชนะเคลือบดินเผา
ภาษา พื้นเมืองถิ่นปัตตานี ในสมัยก่อนนั้น นอกจากปัตตานีจะเป็นศูนย์กลางทางการค้าแล้วยังเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา และการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม ปัตตานีมีภาษาท้องถิ่นของตนเอง ซึ่งคล้ายคลึงแต่ไม่เหมือนกับภาษามลายูกลางที่ใช้กันแถบเมืองกัวลาลัมเปอร์ ภาษาพื้นเมืองถิ่นปัตตานีนี้ใช้กันแพร่หลายในบริเวณชายแดนภาคใต้ของประเทศ ไทย ชายแดนภาคเหนือของมาเลเซีย และ
ในรัฐอาเจะห์ของอินโดนีเซีย มีการดัดแปลงเพิ่มตัวอักษรอาหรับเพื่อให้สามารถออกเสียงตามเสียงพื้นเมือง ท้องถิ่นปัตตานีนี้ได้ เรียกว่า อักษรยาวี ดังนั้นคำว่ายาวีที่แท้จริงนั้นเป็นชื่อของตัวอักษรที่เขียนขึ้นตามสำเนียง เสียงท้องถิ่นปัตตานี มิใช่ชื่อการออกเสียงตามที่คนไทยภาคอื่นเข้าใจกันการที่ประชาชนชาวพื้นเมือง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส นิยมพูดภาษาพื้นเมืองถิ่นปัตตานี ซึ่งมีโครงสร้าง
แตก ต่างจากภาษาไทยภาคใต้ หรือภาคอื่นๆ ทำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกันกับคนไทยภาคอื่นๆ ซึ่งไม่เข้าใจสิ่งที่ประชาชนพูดกันบริเวณชายแดนภาคใต้ ทำให้เกิดความพยายามตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่จะสอนหรือรณรงค์ให้ประชาชนชายแดนใต้ พูดและอ่านภาษาไทยให้ได้ โดยพยายามจะเข้าไปทางโรงเรียนปอเนาะและมัสยิด แต่ด้วยความไม่เข้าใจลึกซึ้งทางด้านวัฒนธรรม ทำให้เกิดข้อขัดแย้งเมื่อกระทรวงศึกษาธิการพยายามจดทะเบียน และให้สอนวิชาสามัญในปอเนาะ เพราะโต๊ะฆูรู
หรือเจ้าของปอเนาะบางคนต้องการสอนเพียงด้านศาสนาอิสลามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น อย่างไรก็แล้วแต่ผมคงไม่สามารถบอกอะไรเพื่อนๆได้มากกว่าที่ผมรู้นี้หละครับ
ขอโทษที่ไม่สามารถให้creditได้เนื่องจากผมจำไม่ได้ว่าเอามาจากเว็บใหนครับใครรู้ก็บอกด้วยนะครับจะข้นcreditให้ครับผม

0 ความคิดเห็น: