ขับเคลื่อนโดย Blogger.
เนื่องจากเมื่อกี้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับบาสเกตบอลไปแล้วเลยอยากกล่าวถึง รายละเอียดเล็กที่นักบาสหรือคนที่สนใจควรจะรู้ ส่วนภาพข้างนี้ผมก็ไม่รู้ว่าทีมอะไรเหมือนกันครับแต่เป็นคนไทยครับ

บันทึกของโอลิมปิกสากลระบุไว้ว่า กีฬาบาสเกตบอลเริ่มนำเข้ามาในเมืองไทย ครั้งแรกเมื่อปี 2477 โดยครูชาวจีนชื่อ นายนพคุณ พงษ์สุวรรณ อาจารย์สอนภาษาจีนโรงเรียนมัธยมบพิตรพิมุข ได้แปลกติกากีฬาบาสเกตบอลให้กับกรมพลศึกษา เพื่อนำไปอบรมครูฝึกสอนต่อไป มี พ.ต.อ.หลวงชาติตระการโกศล นักเรียนนอกจากสหรัฐอเมริกาและผู้เล่นระดับมหาวิทยาลัยของสหรัฐ เป็นผู้นำไปเผยแพร่การเล่นในระดับวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆ
กระทั่งได้รับความนิยมมากขึ้นจนตั้งเป็นสมาคมบาสเกตบอลสมัครเล่นแห่งประเทศ ไทย และได้รับการรับรองจากสมาคมบาสเกตบอลนานาชาติได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2496 ในกรุงเทพมหานคร เริ่มจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลประจำปีระหว่างนักเรียนชายขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2477 สมัยที่ น.อ.หลวงศุภชลาศัย ร.น. ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา
ย้อนไปได้ไกลกว่านี้ นายมนัส โอภากุล บันทึกไว้ว่า ในขณะที่เรียนอยู่ระดับประถมที่โรงเรียนป้วยเอ็ง (เผยอิง) เมื่อปี 2470 ก็ได้เล่นบาสเกตบอลแล้ว และเมื่อปี 2475 มีการจัดการแข่งขันกีฬาสากลของโรงเรียนจีนทั่วประเทศ ทีมบาสเกตบอลของโรงเรียนที่เขาเป็นหัวหน้าทีมได้รางวัลชนะเลิศ และดังถึงขนาดทีมมหาวิทยาลัยกั๊กเจี๊ยะ จากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่และมหาวิทยาลัยหนานหยาง จากประเทศสิงคโปร์ เดินทางมาร่วมแข่งขันด้วย
ผู้ที่มีบทบาทเผยแพร่บาสเกตบอลในประเทศไทยมากอีกกลุ่มหนึ่งคือสมาคม ชาวอเมริกัน "วายเอ็มซีเอ (Y.M.C.A.)" เริ่มเล่นที่สนามของสมาคมแถววรจักร จากนั้นก็ขยายกันออกไปในกลุ่มคนจีนตามโรงเจทั้งหลาย จะมีสนามบาสทั่วไป ถึงต่างจังหวัดอย่าง จ.พิษณุโลก จ.นครราชสีมา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา อ.จันดี อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช แล้วที่ภาคใต้ก็แพร่หลายถึงขนาดจัดการแข่งขันชิง "ถ้วยทองคำ" ทองคำแท้ๆ และผู้เล่นทีมชาติส่วนใหญ่ก็เป็นเด็กที่มาจากจังหวัดเหล่านี้ทั้งนั้น ที่กรุงเทพฯ ก็มีการแข่งขันชิงถ้วย "เจียงหวย" หรือถ้วยสมาคมจีน ที่จริงเรียกกันโรงเรียนสาทร จัดเป็นประจำทุกปี คนแน่นเต็มไปหมด แล้วก็ยังแข่งที่หน้าศาลาว่าการ กทม. ที่เรียกกันว่า "สนามเสาชิงช้า" ผู้เล่นจะเป็นระดับเริ่มต้นที่เฟื่องฟูมาก

-------------------ทีมบาสไทยเคยแข่ง "โอลิมปิก" มาแล้ว 3 ครั้ง------------------------

ถ้ากล่าวถึงทีมบาสเกตบอลระดับโลกแล้ว ต้องยอมรับว่าทีมสหรัฐอเมริกา เป็นเจ้าแห่งกีฬายัดห่วงนี้ แล้วยังเป็นกีฬาประจำชาติของสหรัฐด้วย ไม่ใช่พูดกันลอยๆ แต่จากสถิติเหรียญทองกีฬาระดับโลก อย่างเหรียญทองโอลิมปิก ตั้งแต่ปี 2479-2543 ทีมที่คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทองมากที่สุดคือ ทีมสหรัฐ คว้าไปถึง 11 สมัย ทีมสหภาพโซเวียต คว้าไป 2 สมัย ที่สอดแทรกขึ้นมาได้ 1 สมัยเหนือสหรัฐ ก็คือทีมจากยุโรปตะวันออกอย่างทีมยูโกสลาเวีย
สำหรับทีมบาสเกตบอลจากประเทศไทยนั้น ทำได้ดีที่สุดคือติดอันดับ 15 ของกีฬาโอลิมปิก ในการเข้าร่วมการแข่งขันเมื่อปี 2499 ที่เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย สำหรับทีมจากประเทศในเอเชียนั้น เคยติดอันดับ 1 ใน 10 ของระดับโลกมาแล้ว จากเอกสารของคณะกรรมการโอลิมปิกรวบรวมไว้นั้น ทีมจากเอเชียที่ติดอันดับคือ ฟิลิปปินส์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี บันทึกของโอลิมปิกสากลระบุไว้ว่า กีฬาบาสเกตบอลเริ่มนำเข้ามาครั้งแรกเมื่อปี 2477 โดยครูชาวจีนชื่อนายนพคุณ พงษ์สุวรรณ อาจารย์สอนภาษาจีน โรงเรียนมัธยมบพิตรพิมุข แปลกติกากีฬาบาสเกตบอลให้กรมพลศึกษาเพื่อนำไปอบรมครูฝึกสอน ต่อมา พ.ต.อ.หลวงชาติตระการโกศล นักเรียนนอกจากสหรัฐอเมริกาและผู้เล่นระดับมหาวิทยาลัยของสหรัฐ เป็นผู้นำไปเผยแพร่การเล่นในระดับวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆ
ได้รับความนิยมมากขึ้นจนตั้งเป็นสมาคมบาสเกตบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และได้รับการรับรองจากสมาคมบาสเกตบอลนานาชาติสำเร็จเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2496 เพียง 2 ปีหลังจากนั้น ทีมบาสเกตบอลไทยก็เดินทางไปร่วมการแข่งขันระดับโอลิมปิกครั้งแรก แล้วยังมีโอกาสส่งทีมบาสเกตบอลไปร่วมแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกอีก 2 ครั้งคือ การแข่งขันที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อปี 2503 และการแข่งขันที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2507
จากเอกสารโอลิมปิกสากล ระบุว่า ในการแข่งขันโอลิมปิกปี 2499 ทีมสหรัฐทำคะแนนเฉลี่ยต่อเกมได้สูงถึง 100 แต้ม และเฉลี่ยคะแนนชนะคู่แข่งขันกว่า 53.5 แต้ม ในการแข่งขันครั้งนี้ทีมสหรัฐชนะทีมไทย 101-29 แต้ม ทีมจากเอเชียที่เข้าร่วมแข่งขัน คือ ชนะทีมญี่ปุ่น 98-40 แต้ม ชนะทีมฟิลิปปินส์ 121-53 แต้ม
ทีมจากสหรัฐคว้าเหรียญทองชนะรวด 8 ครั้ง ส่วนทีมไทยนั้น มีสถิติระบุไว้ว่าแข่งขันทั้งสิ้น 7 ครั้ง แพ้ทั้ง 7 ครั้ง ในเอกสารที่ค้นได้บันทึกไว้ว่า ทีมไทยแพ้ทีมฟิลิปปินส์ 55-94 (24-34) ในการแข่งขันเมื่อปี 2507 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ทีมไทยแพ้ทีมฟิลิปปินส์ 71-98
นี่คือบันทึกของโอลิมปิกสากล เกี่ยวกับการแข่งขันของทีมบาสเกตบอลไทยที่ไปร่วมการแข่งขันกีฬาระดับโลก อย่างกีฬาโอลิมปิก 3 ครั้ง ตั้งแต่นั้นมาทีมบาสเกตบอลไทยก็ไม่เคยไปร่วมการแข่งขันอีกเลย
นักกีฬาบาสเกตบอลทีมชาติไทยที่เคยไปร่วมทีมแข่งขันระดับโอลิมปิกมาแล้ว ปีกซ้ายชื่อดังในยุคโน้น นายวัฒน์ ธีปฏิมากร ขณะนี้อายุ 71 ปีแล้ว แต่ยังคงออกกำลังกายเป็นประจำด้วยการเล่นบาสเกตบอล เคยร่วมทีมสองครั้งเมื่อปี 2503 และ 2507 เขาย้อนรำลึกว่า "ทีมชาติไทยยุคนั้น ถือว่าเป็นทีมระดับนำของเอเชีย มีคู่แข่งที่สำคัญและผู้ชมให้ความสนใจมาก อย่างทีมฟิลิปปินส์ ทีมญี่ปุ่น และทีมเกาหลี ผลัดกันแพ้ชนะในเกมการแข่งขันทุกระดับ" คุณวัฒน์ บอกอีกว่า "ผมขนลุกเลยครับที่ได้ไปร่วมแข่งขันครั้งนั้น โดยเฉพาะในพิธีเปิดและปิดการแข่งขัน ทีมกีฬาเดินเป็นขบวนเข้าไปในพิธี มีผู้คนต้อนรับเต็มไปหมดสองข้างทางถนน มีเสียงตบมือให้เกียรติตลอดเวลา และนักกีฬาแลกเปลี่ยนลายเซ็นกันอย่างเป็นกันเอง เป็นความทรงจำตลอดชีวิตจนถึงวันนี้"
ที่ฮือฮามากในระดับโอลิมปิกอีกเรื่องเกี่ยวกับนักกีฬาบาสเกตบอล คือบันทึกของโอลิมปิก เขียนไว้ว่า นายวีระชัย ธนสุกาญจน์ พ่อของ "แทมมี่" แทมมารีน ธนสุกาญจน์ นักเทนนิสติดอันดับของไทย ที่เข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกในนามทีมชาติไทย พ่อลูกคู่นี้ได้รับความสนใจมาก เพราะผู้เป็นพ่อ นายวีระชัย เคยเป็นนักบาสเกตบอลทีมชาติไทย เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกมา 2 ครั้งเมื่อปี 2503 และปี 2507 จึงได้รับเกียรติให้เป็นผู้ถือธงชาติไทย นำทีมชาติไทยเข้าสนามแข่งขันโอลิมปิกที่โอลิมปิกสเตเดี้ยม ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา พ่อและลูกเป็นนักกีฬาโอลิมปิกทั้งคู่

0 ความคิดเห็น: