ขับเคลื่อนโดย Blogger.

คำว่า "โลหะปราสาท" Lohaprasada เป็นชื่อดั้งเดิมของอินเดีย เรียกมาแต่ครั้ง
พุทธกาล สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงประทานความหมายว่า "ตึกที่มียอดเป็นโลหะ "ตามตำนานกล่าวว่า โลหะปราสาทแห่งแรกนั้น นางวิสาขาฯได้สร้างถวาย
พระพุทธเจ้าที่บุพพารามประเทศอินเดีย ต่อมาในปี พ.ศ.382 พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยทรงโปรดให้สร้างขึ้นในลังกาเป็นองค์ที่ 2 ปัจจุบันทั้ง 2 แห่งคงเหลือแต่ซากเสาปักอยู่
พอพูดถึงโลหะปราสาทก็ขอบอกประวัตินิดละกันครับ
โลหะปราสาท เป็นโบราณสถานล้ำค่าของชาติไทย ได้รับการยกย่องว่าเป็นโลหะปราสาทแห่งที่ ๓ ของโลก ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประเทศไทยเพียงแห่งเดียว แห่งแรกอยู่ที่ประเทศอินเดีย แห่งที่ ๒ อยู่ที่ประเทศศรีลังกา ทั้งสองแห่งได้ถูกทำลายพังสูญสิ้นไปแล้ว เหลือสมบูรณ์อยู่ ณ วัดราชนัดดารามวรวิหารเท่านั้น โลหะปราสาท ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ช่างออกแบบก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๙ ตาม
ลักษณะของโลหะปราสาทที่พรรณาไว้ในหนังสือมหาวงศ์ พงศาวดารลังกา โดยมอบหมายให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) ขณะนั้น ยังเป็นพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ดำรงตำแหน่งอธิบดีก่อสร้าง เป็นแม่กองดำเนินการก่อสร้าง และยังโปรดให้ช่าง
เดินทางไปดูแบบโลหะปราสาทในประเทศลังกาด้วย โดยนำเค้าเดิมมาเป็นแบบแล้วปรับปรุงให้เป็นสถาปัตยกรรมตามลักษณะศิลปกรรมของไทย แต่ที่แตกต่างจากโลหะปราสาทองค์
อื่นๆ คือ ไม่ได้สร้างสำหรับพระสงฆ์อยู่ แต่สร้างขึ้นแทนพระเจดีย์เท่านั้น

โลหะปราสาท มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตามโลหะปราสาทที่เมืองลังกา ส่วนสถาปัตยกรรมนั้นสร้างตามแบบศิลปกรรมไทย ฐานกว้างด้านละ ๒๓ วา เป็นอาคาร ๗ ชั้น ลดหลั่นกันขึ้น อาคารชั้นล่าง ชั้นที่ ๓ และชั้นที่ ๕ จะเป็นคูหาและระเบียงรอบ ในชั้นที่ ๒ และชั้นที่ ๔ ชั้นที่ ๖ ทำเป็นคูหาจตุรมุขมียอดเป็นบุษบกชั้นละ ๑๒ ยอด และชั้นที่ ๗ เป็น
ยอดปราสาทจัตรมุขสำหรับประดิษฐานพระบรมธาตุ รวมเป็น ๓๗ ยอด หมายถึง หลักธรรมในพระพุทธศาสนา ๓๗ ประการ ที่เป็นปัจจัยให้ดำเนินไปสู่ความหลุดพ้น เข้าสู่ดินแดนพระนิพพาน
ที่เรียกว่า "โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ"การขึ้นสู่โลหะปราสาทแต่ละชั้น จะมีบันไดวนตั้งอยู่ตรงใจกลางของอาคาร โดยตั้งซุงขนาดใหญ่ยึดเป็นแบบแม่บันได นับตั้งแต่เริ่มก่อสร้างโลหะปราสาทในรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา ยังไม่เคยก่อสร้างได้แล้วเสร็จบริบูรณ์ จนถึงรัชกาลปัจจุบันได้เริ่มมีการบูรณะครั้งแรก เมื่อปี 2506

0 ความคิดเห็น: